xs
xsm
sm
md
lg

เปิดมุมมองละครน้ำดี “วงศาคณาญาติ” จากนักจิตวิทยา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิดมุมมองละครน้ำดี “วงศาคณาญาติ” จากนักจิตวิทยา
เมื่อบ้านไม่ใช่พื้นที่Safe Zone สะท้อนสถาบันครอบครัวยุคใหม่

ขึ้นชื่อว่าละครคุณภาพจากช่อง อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง34 ไม่เคยทำให้แฟนๆผิดหวัง คัดสรรบทประพันธ์ชั้นดี สอดแทรกปรัชญาชีวิต และ สะท้อนสังคมผ่านละครทุกเรื่อง ล่าสุดกับละครน้ำดี “วงศาคณาญาติ” การตีความใหม่จากภาพยนตร์ดังในตำนาน ปรับฝุ่นใหม่อีกครั้งในยุค5G สร้างภาพจำบทใหม่ ชาวเน็ตแห่ชื่นชมต่างหยิกยกประเด็น ครอบครัวไม่ใช่ Safe Zone มาคิดวิเคราะห์ ซึ่งละครเรื่องนี้ สามารถทำให้ผู้ชมทางบ้านได้ย้อนนึกคิดถึงครอบครัวตนเอง ว่าที่ปลอดภัยที่สุด อาจไม่ใช่ที่ที่เราคาดคิดก็เป็นได้

จากประเด็นนี้ เห็นได้จากปัจจุบัน เมื่อเหล่าวัยรุ่นต่างออกมาทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบและรัก โดยไม่มีผู้ใดมาชักจูงหรือสั่ง จากที่เมื่อก่อนบางครอบครัวอาจจะต้องเชื่อฟังบุพการีเป็นหลัก นั่นอาจเป็นสาเหตุที่เหล่าเด็กไทยต่างตั้งคำถาม “ทำดีแค่ไหนก็ไม่ถูกใจพ่อแม่ ลดความคาดหวังของพ่อแม่ลงได้ไหม” โดย ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ได้ให้คำแนะนำว่า ต้องจัดการกับความรู้สึกตนเองให้ดี วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องปรับตัวกับหลายอย่าง ทั้งทางกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงร่างกาย เข้าสู่วัยหนุ่มสาว หรือการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคม โดยเป็นวัยที่ต้องการเป็นอิสระ ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือสังคมนอกบ้านมากขึ้น มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น ทั้งด้านการเรียน การทำงานอื่น ๆ มีความคิดการตัดสินใจที่ใช้หลักเหตุผลมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หลายครั้งการตัดสินใจก็อาจใช้อารมณ์หรืออาจไม่สามารถมองเห็นบริบทของสังคมอย่างรอบด้านได้ รวมถึงความสามารถในการจัดการปัญหา อาจมีที่ยังไม่เหมาะสมและต้องการพึ่งพิงคนรอบข้าง เช่น เพื่อนหรือพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงพ่อแม่เองก็ต้องปรับตัวเข้ากับวัยรุ่น ซึ่งบางครั้งพ่อแม่จำนวนมากก็ยังอาจไม่ทราบวิธีการปรับตัวกับวัยรุ่น จึงอาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่บ่อย ๆ

อย่างตัวละคร พริม ตัวต้นเรื่องในเรื่อง “วงศาคณาญาติ” ผ่านการแสดงมาแล้วทั้ง "นก-จริยา,แหม่ม จินตรา" สู่นักแสดงคนปัจจุบัน "โม มนชนก" ความคิดความอ่านของคนรุ่นใหม่ในเรื่องแสดงให้เห็นถึง ทุกหลักการณ์ต้องมีเหตุและผล มีมุมความจริง เราสามารถแสดงจุดยืนและเรียกร้องความถูกต้องได้ แม้ว่าบ้านจะไม่ใช่ที่ปลอดภัย ปัจจุบันหลายบ้านกำลังเผชิญ โรคเกลียดคนในบ้าน หรือที่เคยมีแฮชแท็กดัง #ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน เราสามารถหาทางออกได้โดย เลือกที่จะหาคนปรึกษารับฟัง นักจิตวิทยาได้ให้คำแนะนำว่า ให้หาคนกลางที่คนในบ้านสบายใจ อาจจะเป็นเพื่อนของลูก พ่อ แม่ สามี ญาติสนิท ปู่ ย่า ตา ยายมาช่วยพูดคุยปรับความเข้าใจให้ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่คนในบ้านจะเป็น “โรคเกลียดคนในบ้าน” ได้ วิธีแก้ Toxic people ที่ดีที่สุด ก็คือ การรับฟังเสียงสะท้อนจากคนในบ้าน เพื่อให้เรารู้ว่าคนในบ้านรู้สึกกับเราอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนในบ้านไม่ชอบเรา และยังเป็นโอกาสดีที่เราและคนในบ้านจะช่วยกันหาแนวทางการแก้ไขไปพร้อมกัน อย่างในละครความกดดันจากพ่อแม่ ที่บังคับให้ พริม ต้องเป็นพี่คนโต ดูแลน้องไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง แบกความกดดัน
จนรู้สึกว่าชีวิตการเรียนของเธอต้องขาดหาย เราสามารถเลือกที่จะหาคนปรึกษา หรือเปิดใจระบายความรู้สึกที่มีอยู่ออกมา เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถานะคำว่าครอบครัว

สามารถติดตามความสนุกครบทุกอารมณ์ ดูละครสะท้อนดูตัว และปรับจูนแก้ไขสถานการณ์ความเป็นอยู่ของครอบครัวใน "วงศาคณาญาติ" ทุกคืนวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.30 น. (หลังจบรายการทุบโต๊ะข่าว) ทางอมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง34






















กำลังโหลดความคิดเห็น