xs
xsm
sm
md
lg

เสาร์ห้า เรื่องจริงหรืออิงนิยายของ "ดาเรศร์ " !

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เสาร์ห้า เรื่องจริงหรืออิงนิยายของ "ดาเรศร์ " !

คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อเรื่องเสาร์ห้าตามคติโบราณ ! ดังนั้น ในวันดังกล่าว วัดวาอารามมักจะมีงานปลุกเสกของขลังจนกลายเป็นประเพณีนิยมคนในหมู่คนที่มีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ว่าคงกระพันชาตรี แต่ในภาคนิยาย ทั้ง 45 บท ของ "ดาเรศร์ " หรือ "ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร" นั้น เกี่ยวพันกับพระที่เล่าเรื่องพระปลุกเสกวัตถุมงคล และมอบพระให้กับเด็กที่เกิดในฤกษ์ยามเดียวกับเสาร์ห้า ทั้ง 5 คน ....

เสาร์ห้า หมายถึง วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ตามคติความเชื่อของโบราณ ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด มากกว่าวันปกติ ถือว่าเป็นวันธงไชย ถือเป็นมายาศาสตร์เจือพุทธคุณที่เชื่อกันมา

นวนิยาย “เสาร์ห้า”
แต่เสาร์ห้าภาคนวนิยาย เป็นบทประพันธ์ของ "ดาเรศร์ " หรือ "ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร" นักเขียน-นักกลอนอาวุโส และอดีตนายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ผู้ล่วงลับเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2555 เมื่อประสิทธิ์อายุประมาณ 20 ปี เริ่มเขียนนวนิยายกับสำนักพิมพ์บางกอก ผลงานนวนิยายสร้างชื่อ ได้แก่ เรื่อง เสาร์ห้า, ขุนกระทิง , นักฆ่าขนตางอน ทุกเรื่องถูกนำไปสร้างเป็นหนัง

เสาร์ห้า ฉบับนวนิยาย ตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปี 2519 โดย สำนักพิมพ์วรรณพร แบ่งเป็น 2 เล่มจบ ขายเล่มละ 15 บาท เล่มแรก บทที่ 1-25 บท และเล่มสอง บทที่ 26-45

ดังนั้น การแปรรูปเป็นภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์ เป็นการนำเรื่องราวเหล่านั้น.....

ต้นเค้าของเสาร์ห้า เริ่มต้นด้วย.....

"วันเสาร์ห้า หมายถึง วันเสาร์ที่ตรงกับขึ้นหรือแรมห้าค่ำ เดือนห้า"

หลวงพ่อเริ่มเล่า "เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนั้น มีวันเสาร์ห้า แรมห้าค่ำ เดือนห้า ที่มีฤกษ์ประกอบงามที่สุด พระห้าองค์ที่เป็นเพื่อนรักใคร่กันสนิทสนมมาก และต่างมีวิชาความรู้ติดตัวกันพอสมควร ประชุมคิดกันว่า วันเสาร์ห้าที่จะถึงนั้น จะนั่งปรกปลุกเสกของตลอดคืน ภิกษุทั้งห้าองค์นั้นมีพระเครื่องที่เก่าแก่ที่งามที่สุด และรักที่สุดองค์ละองค์ มีพระกริ่ง คลองตะเคียน / พระยอดธง / พระท่ากระดาน / พระสมเด็จ และพระนางพญา"

"เสาร์ห้าคืนนั้น ที่นี่แหละ พระห้าองค์นั่นก็นั่งปรกตลอดคืน เพ่งจิตเฉพาะพระเครื่องของใครก็ของใคร ประมาณสักตีห้า พระเครื่องแต่ละองค์ที่วางราบไว้แต่หัวค่ำ ก็ผงกองค์ขึ้นตั้งอยู่สักอึดใจ แล้วก็เอนราบลงไปใหม่ ฟ้าสางพอดี เช้าขึ้นเราก็แยกย้ายกันไป ก่อนจากกันเราคิดกันว่า จะมอบพระเครื่องที่ขลังได้ที่ให้กับทายาทหรือลูกศิษย์ที่พอที่จะเป็นหัวแก้วหัวแหวนก้นกุฎีได้ หลวงพ่อเมี้ยนก็เสนอว่า เราจะออกหาเด็กที่เกิดในคืนวันนั้นคือวันเสาร์ห้า ต้องเป็นผู้ชายแล้วขอรับไว้เป็นลูก ก็ได้เด็กเกิดตามที่ต้องการทุกองค์ พ่อได้ไอ้ดอนที่กาญจนบุรีนี่เอง เลี้ยงมันมาจนโตพอ มันจะไปเป็นทหาร พ่อก็มอบพระท่ากระดานให้ มติที่ประชุมอีกเหมือนกันที่ตกลงว่า ไม่ว่าเด็กนั้นสกุลเดิมจะอย่างไร เราจะเปลี่ยนเป็นสกุลพระเครื่องให้ทั้งหมด จึงได้ มีเทิด ยอดธง / มีกริ่ง คลองตะเคียน / มีดอน ท่ากระดาน / ยอด นางพญา และ เดี่ยว สมเด็จ"

ภายในหนังสือเสาร์ห้า ปรากฏภาพพระภิกษุรูปหนึ่ง ข้อความว่า พระกรุณาธิคุณ คุ้มเกล้า "ดาเรศร์"

นวนิยายเล่มแรก บทที่ 1-25 แบ่งชื่อตามบทต่างๆเช่น
1. เทิด ยอดธง
2. กริ่ง คลองตะเคียน
3. ดอน ท่ากระดาน
4. กำเนิดเสาร์ห้า
5. ยอด นางพญา
6. ยอด นางพญา (ต่อ)
7. เดี่ยว สมเด็จ
8. เดี่ยว สมเด็จ
9. ขบวนการเสาร์ห้า
10. สาบานธง
11. จาร์ก้า องค์การโจรมหาประลัย
12. สู่เมืองปืน
13. จตุรัสโจร
14. สวดแล้วฆ่า
15. รับน้องใหม่
16. ทึ้งหนวดเสือ
17. เจ้าพ่อต่างแดน
18. เกมส์มัจจุราช
19. ไต๋ฌาปนกรแต้ม
20. หนี้ที่ต้องชำระ
21. ต้นไม้ประหลาด
22. สนามบินลับ
23. กากมารการเมือง
24. กวางในปากเสือ
25. เหลี่ยมหัก

เล่ม 2 บทที่ 26-45 แบ่งชื่อตามบทต่างๆเช่น
26. เลือดหยดแรก
27. คมตัดคม
28. ไก่ตาแตก
29. แผนเชื่อมโยง
30. พิษพยัคฆ์สาว
31. ช้างเท้าหลัง
32. บทบาทชลดา
33. รถเมล์สายห้วยเสือหมอบ
34. หกสาวที่ห้วยเสือ
35. มอญแปลง
36. มอญตีแปลง
37. ยาแก้ปากเสีย
38. แผนชิงเพชร
39. แข่งคม
40. ในความรัก
41. ภาษาตา-ภาษาใจ
42. รหัส อาร์
43. ถล่มถ้ำเสือ
44. เหยื่อขบวนการ
45. อวสานของจาร์ก้า

คุณสมบัติลูกผู้ชายทั้งห้า ( ภายใต้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง) ดังนี้

เทิด ยอดธง : ความสามารถพิเศษในการหายตัวเพียงกลั้นหายใจ ระยะเวลาในการใช้วิชานี้เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น

เดี่ยว สมเด็จ : สามารถพิเศษในการได้ยินระยะไกล

ดอน ท่ากระดาน : สามารถพิเศษมองเห็นในระยะไกล ยามใช้สมาธิและห้ามผู้อื่นรบกวน

ยอด นางพญา : สามารถพิเศษในการเดินผ่านสิ่งกีดขวาง

กริ่ง คลองตะเคียน : ความสามารถพิเศษในการปลอมตัว และเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว

เสาร์ห้า I 2519
เสาร์ห้า แปรรูปเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อปี 2519 โดย บางกอกการภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดยวินิจ ภักดีวิจิตร เป็นภาพยนตร์ 35 มม. ยิ่งใหญ่ตระการตาด้วย พระเอก 5 นางเอก 6 พร้อมดาวร้ายอีก 20 คน สำหรับ คนเกิด วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรงทั้ง 5 คนได้แก่ กรุง ศรีวิไล (เทิด ยอดธง) , ไพโรจน์ ใจสิงห์ (เดี่ยว สมเด็จ), สิงหา สุริยง (ยอด นางพญา), นิรุตต์ ศิริจรรยา (ดอน ท่ากระดาน), สรพงษ์ ชาตรี (กริ่ง คลองตะเคียน) ผู้หญิงในเวอร์ชั่นนี้เประกอบด้วย ทัศนวรรรณ เสนีวงศ์, ปิยะมาศ โมนยะกุล, ศศิมา สิงห์ศิริ, ดวงใจ หทัยกาญจน์ , มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช

เสาร์ห้า I 2552
ปี 2552 แปรรูปเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรก โดย ฉลอง ภักดีวิจิตร ทั้งนี้ได้นำเอางานของวินิจ น้องชายมาเป็นละครให้กับช่อง 7 สี พระเอก 5 คนคือ วัชรบูล ลี้สุวรรณ (เทิด ยอดธง) คู่กับ กวินตรา โพธิจักร, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง (เดี่ยว สมเด็จ) คู่กับฟ้ารุ่ง ยุติธรรม,รพีภัทร เอกพันธ์กุล (ยอด นางพญา) คู่กับ กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า ,อานัส ฬาพานิช (ดอน ท่ากระดาน) คู่กับ มาริสา แอนนิต้า, พาทิศ พิสิฐกุล (กริ่ง คลองตะเคียน)คู่กับ ปรียานุช อาสนจินดา โดยตอนจบของละครได้เรตติ้ง 25 เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 19.1 ซึ่งเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงที่สุดอันดับ 1 ประจำปี พ.ศ. 2552 การประสบความสำเร็จในเวอร์ชั่นนี้ส่งผลให้เกิดภาคต่อในเวลาต่อมา

เสาร์ห้า I 2554 (ทับทิมสยาม)
ภาคต่อของเสาร์ห้า ในเวอร์ชั่นนี้ มีชื่อตอนว่า "ทับทิมสยาม" ตามเครดิต บทประพันธ์คือ ดรรชนี และภูเขา เขียนบทโทรทัศน์โดย ภูเขา เรื่องราวของเด็กกำพร้า 5 คนที่เกิดในวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ทำให้เขามีพลังวิเศษที่แตกต่างไปคนละอย่าง จนนำความสามารถนั้นมารวมตัวกันเพื่อใช้ในการปราบปรามเหล่าผู้ร้ายที่พยายามเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ โดยในภาคใหม่นี้ พวกเขาต้องหาทางขัดขวางการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะใช้พลังงานจากทับทิมสยามทั้ง 3 เม็ดในการสร้างพลังงานแปลกประหลาดที่อาจจะมีผลกระทบต่อชีวิตคนทั้งโลก
พระเอกทั้ง 5 คน ยังคงเดิมจากภาคที่แล้วนักแสดงฝ่ายหญิง "รฐกร สถิรบุตร, วรรษพร วัฒนากุล" เข้ามาแทน "กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า, มาริสา แอนนิต้า" ในภาคที่แล้ว

เสาร์ห้า I 2565
ปีนี้ เสาร์ห้ากลับมาอีกครั้ง ภายใต้การผลิตและดัดแปลงบทของ 9 บีเวอร์ ฟิล์มส์ โดย โอริเวอร์ บีเวอร์ นักแสดงชาย ประกอบด้วย จิณณ์ จิณณะ (เทิด ยอดธง)ซึ่งนั่งสมาธิจนได้คาถากำบังกาย ทำให้หายตัวกำบังกายได้นานเท่ากับการกลั้นลมหายใจ, ภัทรพลฒ์ เดชพงษ์วรานนท์ (เดี่ยว สมเด็จ) ซึ่งได้ทิพยโสตหรือหูทิพย์ ได้ยินในสิ่งที่อยากได้ยิน ในรัศมี 500 เมตร, ชนกันต์ พูนศิริวงศ์ (ยอด นางพญา)ซึ่งได้ทิพยจักขุญาณ หรือตาทิพย์ มองเห็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตได้ เพียงใช้มือสัมผัส, รัฐธีร์ วรโรจน์โยธิน (ดอน ท่ากระดาน) ซึ่งได้คาถาหมัดเหล็ก ซึ่งเมื่อเป่าคาถาไปที่มือแล้วหมัดที่ต่อยออกไปจะหนักมาก และหากใช้ปาสิ่งของก็จะเข้าเป้าหมายได้อย่างอัศจรรย์, สพล อัศวมั่นคง (กริ่ง คลองตะเคียน)ซึ่งได้วิชาลิงลม ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้รวดเร็วจนสายตาคนธรรมดามองไม่ทัน นักแสดงฝ่ายหญิงคือ อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ชลดา), ปภาดา กลิ่นสุมาลย์ (หมอบัว), ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ (แตน), เมณิษา ชุมสายสกุล (ม่านฟ้า), ณัฐชา ชยางคานนท์ (กุ้ง เนตรนภา) พร้อมนักแสดงอื่นๆ มากมาย

นี่คือเรื่องราวของเสาร์ห้าในภาคละคร...

ภาพประกอบ บางส่วนจากอินเทอร์เนต



 ปกนิยายเสาร์ห้า ครั้งแรกปี 2519 สนพ. วรรณพร

ภายในหนังสือเสาร์ห้า ปรากฏภาพพระภิกษุรูปหนึ่ง ข้อความว่า พระกรุณาธิคุณ คุ้มเกล้า ดาเรศร์

พระคลองตะเคียน

พระยอดธง

พระท่ากระดาน

พระสมเด็จ

พระนางพญา

โปสเตอร์หนัง ปี 2519

สรพงษ์ ชาตรี “กริ่ง คลองตะเคียน”

กรุง ศรีวิไล “เทิด ยอดธง”

นิรุตต์ ศิริจรรยา “ดอน ท่ากระดาน”

ไพโรจน์ ใจสิงห์ “เดี่ยว สมเด็จ”

สิงหา สุริยง “ยอด นางพญา”

เสาร์ห้า เมื่อเป็นละครครั้งแรก 2552

เสาร์ห้า ภาคต่อ ตอน “ทับทิมสยาม” ของฉลอง ภักดีวิจิตร

อานัส ฬาพานิช (ดอน ท่ากระดาน) – รฐกร สถิรบุตร (เจนนี่)

วัชรบูล ลี้สุวรรณ (เทอด ยอดธง) – กวินตรา โพธิจักร (ชลดา)

พาทิศ พิสิฎกุล (กริ่ง คลองตะเคียน) – ปริยานุช อาสนจินดา (ยูกิ)

รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง (เดี่ยว สมเด็จ), ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม (บุษกร)

รพีภัทร เอกพันธ์กุล(ยอด นางพญา) – วรรณพร วัฒนากุล (กระแต)



บอส ชนกันต์ (ยอด)-กานต์ เมณิษา (ม่านฟ้า)

โอ๊ต รัฐธีร์ (ดอน)  เจด้า ศรัณย่า (แตน)

เกรท สพล (กริ่ง) –กานต์ ณัฐชา (กุ้ง เนตรนภา)

จิณณ์ จิณณะ(เทิด)-ทับทิม อัญรินทร์ (ชลดา)

โดนัท ภัทรพลฒ์ (เดี่ยว)-เนย ปภาดา (หมอบัว)


กำลังโหลดความคิดเห็น