xs
xsm
sm
md
lg

กว่าจะเป็น "ตี๋เหรินเจี๋ย ปริศนาพลิกฟ้า 4 จตุรเทพ"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กว่าจะเป็น "ตี๋เหรินเจี๋ย ปริศนาพลิกฟ้า 4 จตุรเทพ"

ชื่อเรื่อง : ตี๋เหรินเจี๋ย ปริศนาพลิกฟ้า 4 จตุรเทพ
ประเภท : แอ็คชั่นแฟนตาซี
กำหนดฉาย: 23 สิงหาคม 2561
บริษัทจัดจำหน่าย : โมโนฟิล์ม
อำนวยการสร้าง: เฉินกั๋วฟู่ (Chen Kuo-FU)
กำกับ : ฉีเคอะ
ผู้ออกแบบฉาก: หลินเฟิง (Lam Fung)
แสดงนำ : เจ้าโย่วถิง (Mark Chao)เฝิงเส้าเฟิง (Feng Shaofeng)หลินเกิงซิน (Lin Gengxin)หลิวเจียหลิง (Carina Lau) หม่าซือฉุน (Ma Sichun)หร่วนจิงเทียน (Ethan Ruan)

เรื่องย่อ

หลังจากที่ ตี๋เหรินเจี๋ย คลี่คลายปริศนาของมังกรทะเล (Sea Dragon) ในตอบจบของภาคก่อน อวี้จื้อเจินจิน (Yuchi Zhenjin) ได้ถูกย้าย และรับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าเดอะโกลเด้นการ์ด ส่วน ตี๋เหรินเจี๋ยได้รับความไว้วางใจจากจักรพรรดิเกาจง ให้เป็นหัวหน้าหน่วยสอบสวนและพระราชทานพลองมังกร เพื่อสามารถลงโทษทุกคนที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศไม่เว้นแม้แต่ราชวงศ์ ทำให้จักรพรรดินีบูเช็กเทียน (Empress Wu) รู้สึกโดนคุกคาม จึงวางอุบายเพื่อหลอกล่อตี๋เหรินเจี๋ยเพื่อขโมยพลองและโยนความผิดให้เขา งานนี้ ตี๋เหรินเจี๋ยต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายจากจักรพรรดินี บูเช็กเทียน

มารู้จักกับตำนาน “นักสืบตี๋เหรินเจี๋ย”

นักสืบตี๋เหรินเจี๋ยไม่ใช่แค่ชื่อที่คนจีนทุกคนรู้จักกันดีแต่เขายังกลายมาเป็นแรงบันดาลใจของนักเขียนชาวตะวันตกหลายท่านตี๋เหรินเจี๋ยมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์เขาเกิดในปี 630 ก่อนคริสตกาลซึ่งเป็นลูกชายของปราชญ์ตี๋เหรินเจี๋ยเสียชีวิตในปีพ.ศ. 700 ก่อนคริสตกาลตำแหน่งสูงสุดก่อนเสียชีวิตของตี๋เหรินเจี๋ยได้เป็นถึง“ผู้ว่าการรัฐ”

ประวัติชีวิตของตี๋เหรินเจี๋ยได้ถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดในหนังสือ“ประวัติศาสตร์เก่าสมัยราชวงศ์ถัง" เขียนโดยจิ้วถังซู (JiuTangshu) ตีพิมพ์ในปี 945 และใน "ประวัติใหม่ของราชวงศ์ถัง" เขียนโดยซินถังชู (XinTangshu) ตีพิมพ์ในปี 1060 อย่างไรก็ตามยังไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องราวที่แท้จริงของเขาในช่วงเวลาที่เขารับตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาประจำอำเภอซึ่งเป็นช่วงผู้คนชื่นชอบและมีการเล่าเรื่องในหลายรูปแบบทำให้เขาได้รับความนิยมมากที่สุด

ผู้พิพากษาตี๋เหรินเจี๋ยกลายมาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ชมยุคใหม่โดยต้องให้เครดิตจากความคิดที่เริ่มมีที่มาจากนักการฑูตชาวดัชท์โรเบิร์ตฟานกูลิค (Dutch Diplomat Robert Van Gulik[1910-1967]) ในขณะที่เขามาประจำการในประเทศจีนและญี่ปุ่นฟานกูลิคได้ยินเรื่องนิยายอาชญากรรมซึ่งผูกพันกับประวัติศาสตร์ในภูมิภาคแถบนี้ทั้งในญี่ปุ่นและจีนอย่างน่าสนใจและฟานมีความตั้งใจอยากสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการฟื้นคืนความนิยมของคนอ่านต่อนิยายแนวนี้มากขึ้นฟานเริ่มทำความคิดของเขาให้เป็นจริงโดยการหยิบนิยายภาษาจีนมาแปลและเขาเริ่มแปลนิยายเรื่อง "Dee Goong An" หรือ "คดีที่มีชื่อเสียงของผู้พิพากษาตี๋เหรินเจี๋ย” ที่ถูกแต่งขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ฟานกูลิคได้สานต่อความหลงใหลในโลกของนักสืบตี๋เหรินเจี๋ยแห่งราชวงศ์ถังที่เขาได้ลงมือแปลและสุดท้ายเขาได้เริ่มลงมือเขียนนิยายชุดเรื่องผู้พิพากษาตี๋เหรินเจี๋ยของเขาเอง(Judge Dee) โดยนิยายจากจินตนาการของฟานกูลิคได้รับการตีพิมพ์รวมเป็นจำนวน 25 เล่มโดยนิยายชุดนี้ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในฉบับแปลทั้งในรูปแบบของภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนและต่อมาได้จัดพิมพ์ในภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาเดิมจากต้นฉบับที่ฟานกูลิคได้แต่งขึ้น

เรื่องราวของตี๋เหรินเจี๋ยในจินตนาการของนักการฑูตชาวดัชท์ฟานกูลิคครอบคลุมเวลาตั้งแต่ช่วงปี 663 ถึง 681 ก่อนคริสตกาลโดยเรื่องราวในนิยายเริ่มต้นในช่วงที่ตี๋เหรินเจี๋ยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในเขตมณฑลซานตุง (Shantung) และการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ในสายงานไปยังอีก 4 ตำบลจนถึงช่วงที่ตี๋เหรินเจี๋ยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้พิพากษาแห่งวังหลวงภาพยนตร์เรื่องแรก Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame (ตี๋เหรินเจี๋ยดาบทะลุคนไฟ) เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประมาณแปดหรือเก้าปีหลังจากตอนจบในนิยายของฟานกูลิคส่วนภาพยนตร์เรื่องที่ 2 “Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon” เล่าเรื่องก่อนนิยายชุดนี้และในภาพยนตร์เรื่องใหม่ "Detective Dee: The Four Heavenly Kings" จะเป็นการเล่าเรื่องราวต่อจากภาพยนตร์เรื่องที่สองนั่นเอง

หลังจากผลงานของฟานกูลิคเรื่องราวการผจญภัยของตี๋เหรินเจี๋ยยังถูกหยิบมาตีความโดยนักเขียนหลายเชื้อชาติตั้งแต่นักเขียนชาวฝรั่งเศสเฟรเดริคเลนอร์มอง (FrédéricLenormand) ผู้แต่งนิยาย 13 เล่มและรวมถึงนักเขียนชาวจีน-อเมริกันจู้เซียวตี (Zhu Xiaodi) ในเรื่องสั้นเรื่อง “Tales of Judge Dee”(2006) และผลงานจากเอเลนอคูนีและแดเนียลอัลเทียรี (Eleanor Cooney and Daniel Altieri’s) กับนิยายเรื่อง “Deception: A Novel of Mystery and Madness in Ancient China”(1994) และนิยายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของตี๋เหรินเจี๋ยอย่าง “Stonecutter’s Story”(1988) ของนักเขียนเฟรดซาเบอฮาเกนและยังพบได้ในนิยายวิทยาศาสตร์คลาสสิกเรื่อง “The Diamond Age”(1995) ของนีลสตีเฟนสัน (Neal Stephenson)

ราชวงศ์อันสูงศักดิ์

เรื่องราวของราชวงศ์ถัง ( 618-907 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นยุคที่น่าสนใจที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนราชวงศ์ถังก่อตั้งทันทีหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ซุย (581-618 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นยุคที่สามารถรวมประเทศจีนทางเหนือและทางใต้เข้าด้วยกันสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติจีนแต่การล่มสลายของราชวงศ์ซุยนั้นเป็นผลมาจากการปกครองอย่างกดขี่ข่มเหงของรัฐที่มีต่อประชาชนของตัวเองในขณะที่โดนรัฐข่มเหงหลังจากประชาชนต้องเผชิญภาวะยากลำบากหลังจากการทำสงครามกับเกาหลีรวมถึงการสร้างคลองยักษ์ (the Great Canal) และการบูรณะกำแพงเมืองจีนทำให้รางวงศ์ซุยเสื่อมความศรัทธาและล่มสลายในที่สุด

ช่วงเวลาของราชวงศ์ถังถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาสามร้อยปีของประเทศจีนที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าในหลายด้านทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเราพบว่าในช่วงนี้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมีความมั่นคงต่อเนื่องและมีหลักฐานว่ามีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างหลายรัฐกันอย่างกว้างขวางและในช่วงเวลานั้นเมืองหลวงฉางอัน (Chang’an) ได้ก้าวขึ้นเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกโดยพบว่ามีประชากรประมาณสองล้านคนเมืองฉางอันได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความสากลมากที่สุดในโลกตามหลักฐานได้พบว่ามีชาวต่างชาติประมาณ 25,000 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงซึ่งรวบรวมคนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวญี่ปุ่น, ชาวเกาหลี, ชาวเวียดนาม, ชาวอินเดีย, ชาวทิเบต, ชาวเปอร์เซียและชาวเอเชียกลางตามกฎหมายแล้วชาวต่างชาติเหล่านี้สามารถแต่งงานกับชาวจีนได้อย่างถูกกฎหมายแต่มีข้อบังคับว่าหากแต่งงานแล้วต้องพำนักอยู่ในประเทศหลังจากการแต่งงานเท่านั้น

นอกจากความหลากหลายทางเชื้อชาติแล้วความหลากหลายทางศาสนาเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถังในเมืองหลวงเราพบทั้งผู้นับถือพุทธ, อิสลาม, ยูดาห์, คริสต์เนสโตเรียนและศาสนาที่มากับชาวเปอร์เซียอย่างศาสนามานิเคอิซึ่มและโซโรแอสเตอส่วนศาสนาพุทธซึ่งเริ่มต้นมาจากประเทศอินเดียได้ถูกรับให้กลายมาเป็นศาสนาทางการของราชวงศ์ถังจักรพรรดินีบูเช็กเทียนได้เผยแพร่คัมภีร์แห่งเมฆา (Great Cloud Sutra) เพื่ออ้างสิทธิ์อันชอบธรรมในการขึ้นครองราชของพระองค์เรื่องราวสุดอื้อฉาวนี้ได้กลายเป็นเรื่องราวหลักในภาพยนตร์เรื่อง “Detective Dee and the mystery of the Phantom Flame” โดยพระองค์ได้ก่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โดยใช้ใบหน้าของพระจักรพรรดินีเป็นต้นแบบในการแกะสลักพระพุทธรูปที่ตอนนี้เป็นหนึ่งในมรดกโลกทางวัฒนธรรม

นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่าการยอมรับในความหลากหลายนี้ทำให้ช่วงเวลาของราชวงศ์ถังเป็นหนึ่งในยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวัฒนธรรมจีนบทกวีจีนได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุดของความสร้างสรรค์ศิลปะหลายแขนงทั้งการแสดงศิลปะและวรรณคดีก็เฟื่องฟูมากในยุคนี้การคิดค้นการพิมพ์ด้วยไม้ได้มีบทบาทสำคัญในการกระจายตัวของวัฒนธรรมร่วมสมัยและยกระดับการอ่านหนังสือในหมู่ชนชั้นล่างความก้าวหน้าทางโหราศาสตร์และการเขียนแผนที่ยังกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยขยายมุมมองต่อโลกในหมู่นักวิชาการราชวงศ์ถังด้วย

การเคลื่อนที่ของวัฒนธรรมรวมทั้งข้าวสาลีและสินค้าอื่นๆในประเทศจีนล้วนต้องเดินทางไปตามคลองแกรนด์ (Grand Canel) ซึ่งปัจจุบันนี้ยังคงถือสถิติว่าเป็นคลองที่มีระยะทางยาวไกลที่สุดในโลกนอกจากนั้นรัฐของราชวงศ์ถังเองยังได้มีบริการไปรษณีย์ในประเทศจีนซึ่งกินระยะทางรวม 32,000 กิโลเมตรโดยไปรษณีย์ในยุคนั้นขนส่งด้วยการใช้ม้าและเรือซึ่งการดูแลให้มีเป็นเรื่องที่สำคัญในการดูแลระบบราชการของรัฐในขณะเดียวกันเส้นทางสายไหมได้นำเทคโนโลยีแฟชั่นและสินค้าหรูหรามาสู่ประเทศจีนแลกเปลี่ยนกับสินค้าขึ้นชื่อของจีนอย่างผ้าไหมเครื่องเคลือบและเครื่องเคลือบดินเผา

ภาพยนตร์เรื่องดังที่เล่าเรื่องราวช่วงเวลาของราชวงศ์ถังได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง “Temptation of a Monk”(1993) ของผู้กำกับคลาร่าลอว์,ภาพยนตร์เรื่อง “Warriors of Heaven and Earth”(2003) ของผู้กำกับเฮอเผิง, ภาพยนตร์เรื่อง “House of Flying Daggers” (2004) ของผู้กำกับจางอี้โหมวและภาพยนตร์เรื่อง “Legend of the Demon Cat”(2017) ของผู้กำกับเฉินข่ายเกอแต่ภาพยนตร์เหล่านี้ล้วนเล่าเรื่องของชนชั้นสูงในขณะที่เรื่องราวของนักสืบตี๋เหรินเจี๋ยเล่าเรื่องของคนเดินถนนและนำภาพของชีวิตในช่วงราชวงศ์ถังที่แท้จริงมาขึ้นจอเป็นครั้งแรก

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของแฟรนไชส์ภาพยนตร์แอ็คชั่น

ตลอดประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์จีนเราจะเห็นว่ามีวีรบุรุษเพียงไม่กี่คนในประวัติศาสตร์ที่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับชื่อดังหลายคนต้องกลับไปเล่าเรื่องของพวกเขาหลายต่อหลายครั้งตัวอย่างเช่นหวงเฟยหง, ฟงไสหยกและยิปมันวีรบุรุษอย่างหวงเฟยหงได้ปรากฎตัวในภาพยนตร์มากกว่า 100 เรื่องรวมถึงภาพยนตร์คลาสสิกเรื่อง Once Upon a Time in China ของผู้กำกับฉีเคอะ (Tsui Hark) ที่สร้างภาพยนตร์อัตชีวประวัติของเขาในปี 1990

นักสืบตี๋เหรินเจี๋ยได้ถูกนำไปเล่าในแบบนิยายและในซีรีส์โทรทัศน์ในหลายประเทศทั่วโลกเคยแม้แต่ได้รับบทโดยนักแสดงชาวอังกฤษและชาวอเมริกันในจอทีวีตั้งแต่ปี 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องของตี๋เหรินเจี๋ยที่เพิ่งมีโอกาสได้สร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอใหญ่ในภาพยนตร์เรื่อง "Blood Stains on the Screen" ของผู้กำกับจ้างชีชาง (Zhang Qicang) ในปี 1986 โดยบทบาทของตี๋เหรินเจี๋ยรับบทโดยนักแสดงชาวจีนซุนจงเลี้ยง (Sun Zhongliang)

ผู้กำกับฉีเคอะ (Tsui Hark) ได้ตั้งใจที่จะพัฒนาแฟรนไชส์ภาพยนตร์แอ็คชั่นฮีโร่นักบู๊บทใหม่ด้วยการสร้างตัวละครนักสืบตี๋เหรินเจี๋ยขึ้นใหม่ซึ่งกลายเป็นตัวละครที่ผู้ชมยุคใหม่ให้ความสนใจในระดับเดียวกับตัวละครฮีโร่แอ็คชั่นคลาสสิกอย่างหวงเฟยหง, ฟงไสหยกและยิปมันตัวละครตี๋เหรินเจี๋ยเองนั้นมีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์จีนศตวรรษที่ 7 แต่ไม่เคยมีใครมองเขาเป็นนักบู๊แบบนี้มาก่อน

เรื่องราวของนักสืบตี๋เหรินเจี๋ยในแบบของผู้กำกับฉีเคอะ (Tsui Hark) วางโครงมาจากสุภาพบุรุษที่มีความรู้และอาศัยอยู่ในยุคเฟื่องฟูของวัฒนธรรมจีนในยุคของราชวงศ์ถังบทบาทของเขาในภาพยนตร์ไม่ได้วางให้ตี๋เหรินเจี๋ยเป็นมนุษย์ที่เก่งไปหมดอาทิเกร็ดเล็กๆที่ว่าตี๋เหรินเจี๋ยว่ายน้ำไม่ได้แต่ตี๋เหรินเจี๋ยในเรื่องนี้ทั้งหล่อมีความมั่นใจสูงแหลมคมทางความคิดเจ้าเสน่ห์โลกทัศน์กว้างจินตนาการเป็นเลิศและควบคุมอารมณ์ได้ดีแต่เต็มไปด้วยความตลกแบบร้ายกาจ

เกี่ยวกับภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่อง Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame (ตี๋เหรินเจี๋ยดาบทะลุคนไฟ) เปิดตัวในปี 2010 และเริ่มต้นเรื่องราวเป็นเรื่องแรกของซีรีส์นี้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำภาพยนตร์แอคชั่นแบบเน้นศิลปะการป้องกันตัวแบบจีนกลับเข้าสู่หัวใจคนดูอีกครั้งซึ่งภาพยนตร์ไม่เพียงแค่เป็นขวัญใจคนดูภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับคัดเลือกให้เข้าฉายในสายประกวดในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิสครั้งที่ 67 และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอันทรงเกียรติระดับโลกอีกกว่า 20 รางวัลทั่วโลกภาพยนตร์ชนะรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director) และนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม(Best Actress) จากรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกงครั้งที่ 30 มาได้อีกด้วย

ภาพยนตร์ Detective Dee ทั้งสองเรื่องแรกต่างเข้าฉายและทำเงินสูงสุดเป็นหนึ่งในห้าอันดับภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในปีที่ออกฉายเมื่อจบการฉายในโรงภาพยนตร์ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องทำเงินรวมไปกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากการเข้าฉายในหลายประเทศทั่วโลกและได้กลายมาเป็นหนึ่งในภาพยนตร์แอคชั่นแฟรนไชส์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์จีน

หลังจากการเตรียมงานมา 5 ปีภาพยนตร์เรื่อง Detective Dee ภาคใหม่พร้อมแล้วที่จะกลับมาและจะทำให้คุณต้องทึ่งกับภาพในจอแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนในโรงภาพยนตร์

ทีมงาน

1.ผู้กำกับฉีเคอะ (Tsui Hark)

ฉีเคอะ (Tsui Hark) เกิดที่ประเทศเวียดนามเมื่อปี 1950 โดยทั้งบิดาและมารดาของเขาต่างเป็นชาวจีนอพยพเขาเริ่มสนใจโลกภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเด็กฉีเคอะเริ่มถ่ายภาพยนตร์ด้วยกล้องฟิล์ม 8 มม. สุดคลาสสิกตั้งแต่ตอนที่อายุเพียง 10 ขวบเขากับครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศฮ่องกงตอนเขาอายุได้ 13 ปีเขาได้เดินทางไปศึกษาต่อที่รัฐเท็กซัสประเทศสหรัฐอเมริกาและได้เริ่มทำงานที่เมืองนิวยอร์คก่อนที่จะเดินทางกลับฮ่องกงในปี 1977 เพื่อทำงานกับสถานีโทรทัศน์ชื่อดังอย่าง TVB

ฉีเคอะเปิดตัวด้วยผลงานในฐานะผู้กำกับอย่างน่าจดจำในปี 1979 กับภาพยนตร์เรื่อง The Butterfly Murders กับบริษัท Seasonal Film Corp ของอึ้งซี-ยวน (Ng See-yuen) ฉีเคอะเป็นผู้กำกับที่เต็มไปด้วยแรงผลักดันในการพัฒนาขอบเขตของภาพยนตร์ซึ่งเห็นได้จากเทคนิคพิเศษที่น่าตื่นตาในผลงานของเขาในปี 1983 ภาพยนตร์ของเขาเรื่อง "Zu: Warriors from the Magic Mountain" แสดงให้เห็นถึงความพยายามถึงขนาดต้องดึงตัวผู้เชียวชาญด้านเทคนิคพิเศษและสตั๊นแมนจากฮอลลีวูดเข้ามาร่วมในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

ต่อมาเมื่อเดือนเมษายนปี 1984 ฉีเคอะและนานซุนชี (Nansun Shi) ได้เปิดตัวสตูดิโอภาพยนตร์ของพวกเขาเองในชื่อว่า Film Workshop ซึ่งได้สร้างผลงานภาพยนตร์คลาสสิกที่ทุกคนต่างรู้จักกันดีในยุคปัจจุบันอย่างโหดเลวดี (“A Better Tomorrow” 1986), โปเยโปโลเยเย้ยฟ้าแล้วก็ท้า (“Chinese Ghost Story” 1987), โหดตัดโหด (“The Killer” 1989) , หวงเฟยหง (“Once Upon a Time in China” 1991) และเดชคัมภีร์เทวดา 3 หมื่นปีมีข้าคนเดียว (“The East is Red” 1993) พวกเขาสร้างดาราดังอย่างโจวเหวินฟะ (Chow Yun Fat), เลสลีจาง (Leslie Cheung) และเจ็ทลี (Jet Li) และสร้างชื่อให้กับนักแสดงชาวไต้หวันหลินชิงเสีย (Brigitte Lin)

ฉีเคอะมักจะหยิบยกเรื่องราวในการสร้างภาพยนตร์ของเขามาจากส่วนที่ดีที่สุดในอารยธรรมของประเทศจีนตัวอย่างเช่นเรื่อง “Story of a Discharged Prisoner” ของหลุนกง (Lun Kong) ก็ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่องโหดเลวดี (“A Better Tomorrow”) หรือเรื่อง "One-Armed Swordsman" ของฉางเช (Chang Cheh) ก็ถูกยกมาเล่าในภาพยนตร์เรื่อง "The Blade", หรือการดัดแปลงนิยายศิลปะการต่อสู้ที่มีสีสันที่สุดของจินยอง (Jin Yong) มาเล่าในภาพยนตร์ชุดเรื่อง "Swordsman" ของเขาและการนำตัวละครที่ทุกคนรู้จักอย่างหวงเฟยหงมาตีความใหม่ผ่านภาพยนตร์เรื่อง "Once Upon a Time in China"

ในปี 2009 ฉีเคอะได้สร้างตัวละครใหม่ขึ้นมาใน “Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame” และสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในหน้าภาพยนตร์จีนด้วยการถ่ายทำแบบสามมิติใต้น้ำครั้งแรกในภาพยนตร์ “Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon”

เมื่อปี 2014 เขายังได้นำละครโอเปรามาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง “The Taking of Tiger Mountain” ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมมากมายและทำให้เกิดความสนใจเพิ่มขึ้นในภาพยนตร์ย้อนยุคที่เขาโปรดปราน

ส่วนในภาพยนตร์เรื่อง “Detective Dee: The Four Heavenly Kings” ฉีเคอะยังคงพาเราไปค้นหาแง่มุมที่สนุกๆ ของยุคราชวงศ์ถังในแบบที่เขาสร้างขึ้นพร้อมกับคดีใหม่ๆที่น่าติดตาม

2. ผู้อำนวยการสร้าง-เฉินกั๋วฟู่ (Chen Kuo-FU)

เฉินกั๋วฟู่ (Chen Kuo-FU) ได้พิสูจน์ตัวเองผ่านผลงานมากมายว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกภาพยนตร์จีนนอกเหนือจากงานอำนวยการสร้างเขายังมีผลงานในฐานะนักวิจารณ์ภาพยนตร์, ผู้กำกับ, ผู้เขียนบทภาพยนตร์และผู้อำนวยการสร้างอีกด้วย

ในช่วงที่วงการภาพยนตร์ไต้หวันมีความสำคัญน้อยลงเฉินเป็นผู้กำกับคนแรกกล้าทำลายข้อจำกัดในวงภาพยนตร์เชิงศิลปะและบุกเบิกการสร้างภาพยนตร์เชิงพาณิชย์เขาได้สร้างผลงานภาพยนตร์โดดเด่นในประเทศไต้หวันหลายเรื่องจนตัวเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำของกลุ่มภาพยนตร์กระแสหลัก (New Mainstream Cinema Movement) ผลงานของเขาในช่วงนี้ได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง "School Girls", "Treasure Island", "The Peony Pavilion" และ "The Personals" ซึ่งทุกเรื่องต่างกลายเป็นภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ในไต้หวันแล้วและยังกลายมาเป็นหนังที่คนดูต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทุกคน "ต้องดู" ทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันเองผู้กำกับชื่อดังชาวไต้หวันโหวเซี่ยวเฉียน (Hou Hsiao-Hsien) กล่าวว่าเฉินได้ "ใส่ความเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อจับต้องได้เข้าไปในภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ที่เขาสร้าง" และยังมีสื่อมวลชนกล่าวว่า “เขาได้สร้างพื้นที่ใหม่ของการสร้างสรรค์ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไต้หวัน"

เฉินเข้าร่วมทำงานกับ Columbia Pictures ในปี 1999 และได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรเจ็คใหญ่ๆเช่นภาพยนตร์เรื่อง "Kung Fu Hustle" "Big Shot's Funeral" และ "Crouching Tiger, Hidden Dragon" ในปี 2002 เฉินได้เขียนบทกำกับและรับบทเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง "Double Vision" ซึ่งไม่เพียงแต่ทำเงินได้อย่างน่าทึ่งในไต้หวันภาพยนตร์เรื่องนี้ยังนำชื่อเสียงของภาพยนตร์ไต้หวันในระดับนานาชาติกลับมาด้วย

ในช่วงเจ็ดปีที่เฉินได้เข้าทำงานร่วมกับบริษัทสร้างภาพยนตร์สัญชาติจีนอย่างHuayi Brothers เขาได้เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์รวมทั้งหมด 14 เรื่องได้แก่ "Assembly", "The Message", “Aftershock", ภาพยนตร์ชุดตี๋เหรินเจี๋ย, Taichi series "Panted Skin: The Resurrection" และ "Back to 1942” เป็นต้นซึ่งรวมแล้วทำเงินไปรวมกว่า 15,180,000 เหรียญสหรัฐจากการเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในหลายประเทศทั่วโลก

เฉินได้ก่อตั้งบริษัท CKF PICTURES ในปี 2010 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเอกลักษณ์และขยายตลาดของภาพยนตร์ที่พูดภาษาจีนให้มากที่สุด

3. ผู้ออกแบบฉากแอคชั่น -หลินเฟิง (Lam Fung)

ผู้กำกับฉากบู๊รุ่นใหม่หลินเฟิง (Lam Fung) เริ่มต้นอาชีพของเขาในฐานะนักแสดงแทนในเรื่อง "Swordsman" และหวงเฟยหง (Once Upon a Time in China) ของผู้กำกับฉีเคอะเขาเคยทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ออกแบบฉากแอ็คชั่นในภาพยนตร์จีนเรื่องดังของผู้กำกับอั้งลี่ เรื่อง "Crouching Tiger, Hidden Dragon" และ "Running on Time" ของผู้กำกับจอนนี่โท (Johnnie To) และได้ร่วมงานกับนักแสดงระดับตำนานอย่างหยวนหวูปิง (Yuen Woo-ping), หงจินเป่า (Sammo Hung) และชินคา-โลค (Chin Ka-lok) หลินได้พัฒนารูปแบบฉากแอคชั่นที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งไม่แค่ดุดันแต่สามารถแสดงอารมณ์ของตัวละครได้ด้วย

ตัวละคร

1.นักสืบตี๋เหรินเจี๋ย

หลังจากเกิดเรื่องมังกรทะเลจักรพรรดิเกาจงประทับใจในตัวตี๋เหรินเจี๋ยมากและพระราชทานพลองมังกรให้ด้วยแต่ภายใต้เรื่องราวอันดูสงบสุขนี้กลับคุกรุ่นไปด้วยอันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามาเพราะจักรพรรดินีบูเช็กเทียนมองว่าตี๋เหรินเจี๋ยคือศัตรูหลักของพระองค์ตี๋เหรินเจี๋ยต้องแก้ปริศนาครั้งนี้ให้ได้และกอบกู้ราชวงศ์ถังไว้ในขณะที่ต้องต่อสู้กับอุปสรรคมากมายจากจักรพรรดินีบูเช็กเทียน

รับบทโดยเจ้าโย่วถิง (Mark Chao)

เจ้าโย่วถิงสร้างชื่อจากภาพยนตร์เรื่อง "Monga", "So Young", "Love", "Black & White" หลังจากสำเร็จการศึกษาจาก University of Victoria ประเทศแคนาดาเขาก็ได้รับบทที่สร้างชื่อให้เขาทันทีในละครตำรวจเรื่อง “Black & White” และส่งให้เขาได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากงาน Golden Bell Award เขาได้เริ่มเข้ารับบทในจอใหญ่กับภาพยนตร์เรื่อง "Monga" ซึ่งจากบทในเรื่องนี้เขาชนะรางวัลนักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมในงาน Asian Film Award ครั้งที่ 5 เจ้าโย่วถิงเริ่มรับบทนักสืบตี๋เหรินเจี๋ยในปี 2012 และครั้งนี้เขาก็ได้กลับมารับบทนี้อีกครั้ง

2. อวี้จื้อเจินจิน(YuchiZhenjin)

อวี้จื้อเจินจิน (YuchiZhenjin) เป็นครูสอนกังฟูซึ่งถูกแต่งตั้งให้เข้าร่วมหน่วยทหารโกลเด้นการ์ดและเป็นผู้รับผิดชอบความปลอดภัยของราชวงศ์เขาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและคู่ปรับของตี๋เหรินเจี๋ยอวี้จื้อเจินจินได้รับคำสั่งจากจักรพรรดินีบูเช็กเทียนให้ขโมยพลองมังกรจากตี๋เหรินเจี๋ยแต่เขาทำพลาดและถูกส่งไปขังที่เรือนจำเขาพยายามที่จะคืนดีกับตี๋เหรินเจี๋ยและหยุดแผนล้มล้างราชวงศ์

รับบทโดยเฝิงเส้าเฟิง (Feng Shaofeng)

เฝิงเส้าเฟิง (Feng Shaofeng) จบการศึกษาจาก Shanghai Theater Academy เฝิงสร้างชื่อจากภาพยนตร์เรื่อง "White Vengeance", "Young Detective Dee: Rise of Dragon Sea", "Wolf Totem" เขาได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมในงานรางวัล Hundred Flowers Award ครั้งที่ 33 จากผลงานภาพยนตร์เรื่อง Wolf Totem

3. ซาถัวจง (ShatuoZhong)

ซาถัว จง (ShatuoZhong) เป็นหมอที่เก่งกาจและเป็นเพื่อนสนิทของตี๋เหรินเจี๋ยเขาฉลาดและซื่อสัตย์แต่เขินตลอดเวลาต้องพูดคุยกับสาวๆในการผจญภัยคราวนี้เขาจะได้พบกับเด็กสาวคนหนึ่งที่จะทำให้เขาพบทั้งความรักและความอันตราย

รับบทโดย หลินเกิงซิน (Lin Gengxin)

หลินเกิงซิน (Lin Gengxin) จบการศึกษาจาก Shanghai Theater Academy เขาสร้างชื่อจากภาพยนตร์เรื่อง "Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon", "The Taking of Tiger Mountain", "Journey to the West: The Demons Strike Back" ในปี 2013 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจากงานHong Kong Film Awardsครั้งที่ 33 ด้วยบทบาทซาถัวจง (ShatuoZhong) จากภาพยนตร์เรื่อง "Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon”

4. จักรพรรดินีบูเช็กเทียน

จักรพรรดินีบูเช็กเทียนเป็นคนไร้ความปราณีและทะเยอทะยานความกระหายในอำนาจของเธอทำให้เธอไม่ไว้ใจตี๋เหรินเจี๋ยที่ได้รับมอบพลองมังกรมาแม้ตัวเธอจะรู้ว่าพลองนั้นเป็นแผนของจักรพรรดิเกาจงในการปรับสมดุลของอำนาจระหว่างเขากับเธอเธอจึงต้องหาทางกำจัดตี๋เหรินเจี๋ยก่อนที่อะไรมันจะสายเกินไปความกระหายในอำนาจของเธอทำให้เธอโดนกลุ่มผู้จ้องล้มล้างราชวงศ์ถังหลอกใช้ได้อย่างง่ายดาย

รับบทโดย หลิวเจียหลิง (Carina Lau)

หลิวเจียหลิง (Carina Lau) เกิดที่เมืองซูโจวประเทศจีนในปี 1965 เธอและครอบครัวได้อพยพไปฮ่องกงเมื่ออายุ 14 ปีภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอได้แก่ภาพยนตร์แอ็คชั่นเรื่อง "Naughty Boys" ของผู้กำกับเวลสันชินในปี 1986 โดยหลิวเจียหลิงได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแสดงตลกที่เป็นธรรมชาติในภาพยนตร์เรื่อง "He's a Woman, She's a Man" ซึ่งเธอได้แสดงคู่กับนักแสดงผู้ล่วงลับเลสลี่จางในผลงานกำกับของปีเตอร์ชานและรับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง "Forbidden City Cop” ซึ่งเธอแสดงคู่กับนักแสดงชื่อดังโจวเหวินฟะซึ่งเป็นผลงานกำกับของกู่เต๋อเจาและรวมถึงผลงานของผู้กำกับเจฟลอว์เรื่อง “The Eagle Shooting Heroes”

แต่ผู้ชมยังคงจดจำหลิวเจียหลิงในภาพของนักแสดงภาพยนตร์โรแมนติกจากภาพยนตร์ผลงานกำกับของโทนีออในภาพยนตร์เรื่อง "I am Sorry" ตลอดเส้นทางอาชีพนักแสดงของเธอหลิวเจียหลิงได้ร่วมงานกับผู้กำกับที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น Stanley Kwan, Ann Hui และHou Hsiao-Hsienตัวละครที่น่าจดจำของเธอในช่วงกว่า 20 ปีในเส้นทางนักแสดงได้แก่บทบาทนักเต้นเซ็กซี่ Lulu ในภาพยนตร์เรื่อง "Days of being Wild" ของหว่องกาไว (Wong Kar-wai)และบทหัวหน้าแก๊งมาเฟีย Mary Hon จากภาพยนตร์เรื่อง "Infernal Affairs II" และบทบาทภรรยาที่เต็มไปด้วยความแค้นและกลับมาล้างแค้นของเธอในภาพยนตร์เรื่อง "Curiosity kill the Cat" ผลงานของผู้กำกับจางอี้ไป๋

5. เงาดำ (Shadow)

เงาดำ (Shadow) เป็นสมาชิกของ The Mystics ซึ่งเป็นนักสู้สายชิงกงจักรพรรดินีบูเช็กเทียนได้มอบหมายให้เธอเฝ้าติดตามต้าลีซีเงาดำเป็นคนหัวดื้อและแข็งแกร่งในระหว่างการต่อสู้กับตี๋เหรินเจี๋ยและซาถัวจงเธอก็โดนลดเกราะที่เธอใช้ปกป้องหัวใจตัวเองลงทีละน้อย

รับบทโดย หม่าซือฉุน (Ma Sichun)

หม่าซือฉุน (Ma Sichun) เป็นหนึ่งในดาราจีนที่ได้รับความนิยมอย่างเร็วที่สุดในวงการภาพยนตร์จีนภาพยนตร์เรื่องแรกของเธออย่าง "The Left Ear” ได้ทำให้เธอถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมแห่งปีจากงาน Golden Horse Awards ครั้งที่ 52 ในปี 2016 เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากงานรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกงครั้งที่ 36 และเธอได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ Golden Horse Awards ครั้งที่ 53 จากภาพยนตร์เรื่อง “Soulmate"

6. หร่วนจิงเทียน (Ethan Ruan) รับบทเป็นหยวนเชอ (Yuance)

หร่วนจิงเทียน (Ethan Ruan) สร้างชื่อจากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง “Monga”, Paradise in Service, The Liquidator ในปี 2010 เขาชนะรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง Monga ในภาพยนตร์เรื่องนี้เขารับบทตัวละครลับ






กำลังโหลดความคิดเห็น