หัวเว่ยร่วมมือ กฟภ. ดันระบบไฟฟ้าไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เปิดตัวโซลูชันจ่ายไฟอัจฉริยะ IDS ช่วยผู้บริโภคได้รับบริการไฟฟ้าที่มีคุณภาพ เสถียร และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยันประสบความสําเร็จงดงามในประเทศจีน ยกระดับการตรวจสอบเครือข่ายการกระจาย การตรวจจับสถานะสาย 10kV แบบเรียลไทม์
นายวิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าบริษัทมุ่งหวังที่จะทํางานร่วมกับ กฟภ. อย่างใกล้ชิด เพื่อผนวกรวมเทคโนโลยีพลังงานและเทคโนโลยีดิจิทัล จับคู่ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดกับความท้าทายในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมไอซีทีเพื่อนําเสนอโซลูชันที่ครอบคลุมสําหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่ดีที่สุด
"ไฟฟ้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญที่ส่งผลต่อการดํารงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจของผู้คน ซึ่งหัวเว่ยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยที่สำนักงานใหญ่ได้จัดตั้งเป็นธุรกิจเฉพาะเพื่อการพัฒนาโซลูชันด้านพลังงานสำหรับรับมือกับความท้าทายและแนวทางใหม่ๆให้กับอุตสาหกรรมพลังงาน สำหรับประเทศไทยก็ยังเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของหัวเว่ย โดยการจัดงาน 2025 PEA-Huawei Summit ในครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า หัวเว่ยมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับพันธมิตรและการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆที่เหมาะกับความท้าทายของธุรกิจอย่างแท้จริง"
ความร่วมมือครั้งใหม่ระหว่างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ หัวเว่ย กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ถูกประกาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยหัวเว่ยได้จัดงานร่วมกับ กฟภ. ภายใต้ชื่อ "2025 PEA & Huawei Summit" โดยมี นายพงศกร ยุทธโกวิท รองผู้ว่าการวางแผนและวิศวกรรม กฟภ. และ นายวิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย ประเทศไทย ร่วมเปิดตัวนวัตกรรมสำคัญ
จุดเด่นของงานนี้คือการเปิดตัว Intelligent Distribution Solution หรือเรียกว่า IDS ซึ่งเป็นระบบจำหน่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่จะมาเปลี่ยนแปลงการจัดการระบบไฟฟ้าให้ทันสมัยขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยี IDS เป็นระบบที่รวมเทคโนโลยีวิศวกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลเข้าด้วยกัน เพื่อปรับปรุงการทำงานของโครงข่ายไฟฟ้าให้ก้าวสู่ยุคอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ
ระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญ 3 ประการของระบบไฟฟ้า ได้แก่ การสูญเสียไฟฟ้าสูงในเครือข่ายการนำส่งกระแสไฟ ความเสถียรของโครงสร้างพื้นฐานการจ่ายไฟฟ้าที่ต่ำ และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อการจัดการโหลดพลังงานใหม่
***กฟภ. นำร่องทดสอบ
นายพงศกร ยุทธโกวิท รองผู้ว่าการวางแผนและวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เน้นย้ำถึงความท้าทายในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นจากองค์กรที่หลากหลาย แหล่งผลิตกระแสไฟที่มีมากขึ้น และปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เบื้องต้น กฟภ. ได้เริ่มนำร่องทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าวแล้วในบางพื้นที่ เพื่อตรวจความสามารถในการมองเห็นการจัดการระบบจ่ายไฟฟ้าแบบบูรณาการและการจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์
“การปรับปรุงการมองเห็นในเครือข่ายเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ โดยไม่ใช่เพียงแค่การนำแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและการดำเนินงานอย่างครอบคลุม ซึ่งในฐานะผู้ดำเนินงานระบบจ่ายไฟ กฟภ. ตระหนักว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติจำเป็นต้องใช้ในปัจจุบันเนื่องจากปริมาณข้อมูลจำนวนมากและความถี่ของการเปลี่ยนแปลงในระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ โดย กฟภ. ได้เริ่มนำร่องทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าวแล้วในบางพื้นที่ เพื่อทดสอบว่า ความสามารถในการมองเห็นการจัดการระบบจ่ายไฟฟ้าแบบบูรณาการและการจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์นั้นมีประสิทธิภาพ และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทย”
สิ่งที่น่าสนใจของระบบ IDS คือการใช้สถาปัตยกรรม cloud-pipe-edge-device ที่ซับซ้อน ซึ่งช่วยให้องค์กรด้านไฟฟ้าสามารถพัฒนาจากแนวทางการทำดิจิทัลแบบกระจัดกระจายในจุดเดียว ไปสู่กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่ครอบคลุมและเป็นระบบ
ระบบนี้ยังรวมระบบการสื่อสารผ่านสายไฟฟ้าความเร็วสูง หรือ HPLC และเทคโนโลยีใหม่อื่นเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถเพิ่มการรับรู้และการเปลี่ยนแปลงบริการของระบบไฟฟ้าให้เป็นดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หัวเว่ยย้ำว่าเทคโนโลยี IDS นี้ไม่ใช่เพียงแค่ทฤษฎี เพราะได้รับการปรับใช้อย่างประสบความสำเร็จในประเทศจีนแล้ว โดยสามารถตรวจสอบเครือข่ายการกระจายแบบเรียลไทม์ รวมถึงตรวจจับสถานะสาย 10kV แบบเรียลไทม์ และจัดการพลังงานใหม่แบบกระจายแรงดันต่ำอย่างชาญฉลาด
ในมุมความหมายต่ออนาคตไฟฟ้าไทย การเปิดตัว IDS ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านระบบไฟฟ้าไทยสู่ยุคดิจิทัล โดย กฟภ. ได้เริ่มนำร่องทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าวแล้วในบางพื้นที่ เพื่อทดสอบความสามารถในการมองเห็นการจัดการระบบจ่ายไฟฟ้าแบบบูรณาการและการจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์
ในภาพรวม IDS ถูกวางเป้าหมายช่วยให้ประเทศไทยมีระบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการลดการสูญเสียไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็เสถียรมากขึ้น ด้วยการตรวจสอบและจัดการแบบเรียลไทม์ และยังยั่งยืนมากขึ้น ผ่านการจัดการพลังงานทดแทนอย่างชาญฉลาด
การเปิดตลาดโซลูชัน IDS ร่วมกับ กฟภ. นั้นสะท้อนโอกาสทองทางธุรกิจของหัวเว่ยที่ชัดเจน โดยปัจจุบัน หัวเว่ย มีฐานตลาดโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาร์ทดีไวซ์ที่ยิ่งใหญ่ ท่ามกลางพนักงานกว่า 207,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศ ให้บริการผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก.