เฮียริ่งประมูลคลื่นเดือด! นักวิชาการ-ภาคประชาชน จี้ กสทช. ห้ามขายแพง-ห้ามแยกล็อต หวั่นซ้ำรอยเจ๊ง ดันค่าบริการพุ่ง ประชาชนแบกภาระไม่ไหว
เมื่อวันที่ 1 เม.ย.68 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ สำนักงาน กสทช.เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 และ 26 GHz ครั้งที่ 2 ใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล 2.วิธีการประมูล 3.ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price) 4.เงื่อนไขการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่และการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคม 5.เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ดำเนินการเพื่อสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภค 6.ประเด็นอื่นๆ อาทิ ความเห็นเกี่ยวกับคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz หากนำมาประมูลตามแผนแม่บทด้วยนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมและประเทศชาติ
นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สายงานกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.ตระหนักถึงความสำคัญของคลื่นความถี่โทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลในฐานะรากฐานสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จะรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่และผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ภายใต้แนวคิดการจัดสรรคลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม กสทช. จึงออกแบบนโยบายจัดสรรคลื่นโดยคำนึงถึงหลักการแข่งขันเสรีและการกระจายทรัพยากรของชาติอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ขณะเดียวกัน ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช.ฯ นี้ ได้จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปส่งข้อเสนอแนะและความเห็นได้ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. ถึง 4 เม.ย.2568 ภายในเวลา 16.30 น.
ดร.ไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการโทรคมนาคมกล่าวว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz แบบครบผืนในคราวเดียว ชี้เป็นทางเลือกที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้คลื่น ผู้เข้าประมูลสามารถวางแผนใช้งานล่วงหน้า เพิ่มทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจและแรงจูงใจในการลงทุน ดีกว่าการแยกประมูลออกเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันมีข้อเสนอให้ กสทช. พิจารณาแยกกลุ่มคลื่นที่กำลังจะหมดอายุออกจากกัน โดยแยกคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz จำนวน 3 สล็อตที่จะหมดอายุในปี 2568 ออกจากอีก 9 สล็อตที่หมดอายุในปี 2570 เนื่องจากมีช่วงเวลาเริ่มต้นใช้งานและความต้องการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
ดร.ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแยกประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ออกเป็น 2 รอบ จะยิ่งเพิ่มต้นทุนและภาระให้กับสำนักงาน กสทช. โดยไม่จำเป็น ทั้งที่สามารถจัดประมูลล่วงหน้าได้ตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาในช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนใบอนุญาตเดิมหมดอายุ
ขณะเดียวกัน การจัดประมูลไม่พร้อมกันเสี่ยงทำให้มูลค่าคลื่นลดลง เพราะต้องตีราคาคลื่นใหม่ในแต่ละรอบ ตามบริบทตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป จึงไม่มีหลักประกันใดว่าการประมูลในปี 2570 จะได้ราคาสูงกว่าการประมูลพร้อมกันทั้งหมดในปี 2568
นายนราพล ปลายเนตร ตัวแทนภาคประชาชนกล่าวว่า กสทช.อย่ากำหนดราคาขั้นต่ำของคลื่นความถี่สูงเกินจริง ไม่สอดคล้องกับมูลค่าที่แท้จริงของตลาด หวั่นกลายเป็นชนวนผลักต้นทุนเพิ่มขึ้น และถูกส่งต่อเป็นภาระให้ผู้บริโภคในรูปแบบค่าบริการที่สูงเกินจำเป็น ทั้งนี้ การตั้งราคาคลื่นที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำเกินไป ล้วนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างต้นทุนของผู้ให้บริการ และบั่นทอนแผนการลงทุนระยะยาว เสี่ยงฉุดรั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศในที่สุด
นายปริวุฒิ บุตรดี ภาคประชาชน กล่าวว่า เสนอให้สำนักงาน กสทช. ปรับแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ โดยไม่ยึดติดกับการประมูลเพียงรูปแบบเดียว แต่ควรพิจารณาทางเลือกอื่นอย่าง บิวตี้ คอนเทสต์ หรือการประกวดผลตอบแทนในภาพรวม
แนวทางดังกล่าวเปิดโอกาสให้พิจารณาทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจที่รัฐจะได้รับ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการขยายโอกาสการเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส สะท้อนแนวคิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่ใช่แค่ใครจ่ายแพงกว่าได้ไป แต่เน้นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศในระยะยาว
ดร.ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ไม่ควรเพิ่มเงื่อนไขการผ่อนชำระแบบ 10 งวด งวดละ 10% สำหรับผู้เข้าประมูลรายใหม่ ชี้เป็นช่องโหว่ที่อาจเปิดทางให้ผู้ที่ไม่มีความตั้งใจใช้งานคลื่นจริงเข้าร่วมประมูล ด้วยวัตถุประสงค์แอบแฝง อันอาจนำไปสู่การทิ้งใบอนุญาตในภายหลัง ซึ่ง กสทช. เองเคยประสบมาแล้วในอดีต
เสนอให้คงการชำระแบบ 3 งวด โดยเฉพาะงวดแรกที่รัฐจะได้รับเงินทันที 50% เพื่อเร่งนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งเมื่อดูตามหลักกระแสเงินสดแล้ว ถือว่ารัฐได้เงินเร็วกว่าและมากกว่า ขณะเดียวกันยังเป็นการคัดกรองผู้เข้าประมูลที่มีความพร้อมทางการเงิน ลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ และสร้างความมั่นคงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศในระยะยาว
อ.วรศิริ ผลเจริญ นักวิชาการ กล่าวว่า การเปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G บนคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz กำลังกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยภาคเอกชนเริ่มนำคลื่นย่านนี้ไปต่อยอดการใช้งานกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ อย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่สร้างมูลค่าและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล
นอกจากการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานแล้ว คลื่นวามถี่ย่าน 3500 MHz ยังเอื้อต่อการพัฒนาโซลูชันเฉพาะด้านในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น โทรเวชกรรม หรือการแพทย์ทางไกล, การพัฒนาโรงงานและเหมืองอัตโนมัติ (Automated Factory & Mining), การสร้างสรรค์แอปพลิเคชัน AR/VR, รถยนต์ไร้คนขับ และระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ ไปจนถึงระบบเตือนภัยพิบัติอัจฉริยะ เช่น เซนเซอร์ตรวจจับความร้อนจากไฟป่า
ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า การจัดสรรคลื่นวามถี่ย่าน 3500 MHz อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงขับเคลื่อนเทคโนโลยี แต่ยังเป็นการวางรากฐานให้ไทยก้าวสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาคอย่างแท้จริง
***ทรู หนุนประมูลคลื่นตามแผนเดิม ลดผลกระทบจัดสรรคลื่นไม่ทัน
นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิ
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังสนับสนุนการประมูลคลื่นในรู
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกั