xs
xsm
sm
md
lg

เทียบฟีเจอร์เตือนภัยอัตโนมัติ J-ALERT ของญี่ปุ่น กับ Cell Broadcast Service ของไทยที่ยังไม่คลอด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย J-ALERT ของญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ตัวระบบถูกออกแบบมาเพื่อแจ้งเตือนประชาชนให้รับรู้ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว สึนามิ หรือแม้แต่ภัยคุกคามทางทหาร

ระบบนี้ทำงานคล้ายกับระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่จะส่งตรงข้อมูลสำคัญไปยังโทรศัพท์มือถือหรือ Cell Broadcast Service ที่กระทรวงดีอี สำนักงาน กสทช. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ประกาศร่วมกันพัฒนาและคาดว่าจะใช้งานได้ต้นปี 2568 โดยผู้ใช้ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า และไม่ว่าจะใช้งานเครือข่ายไหนก็ตาม ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ก็จะได้รับการแจ้งเตือนทันที

ฝั่ง Cell Broadcast Service ของไทยที่ยังไม่คลอดนั้นย้ำว่าการแจ้งเตือนจะไม่ได้มาแค่ข้อความตัวอักษรธรรมดา แต่มันจะมาในรูปแบบข้อความป๊อปอัปเด้งขึ้นหน้าจอ พร้อมเสียงสัญญาณเตือน ทำให้เราไม่พลาดทุกสถานการณ์สำคัญ แต่ J-ALERT นั้นเน้นเรื่องข้อมูล และทำผ่านแอปพลิเคชันชื่อ NHK World TV บน iOS และ Android โดยต้องเปิดใช้งานการแจ้งเตือนแผ่นดินไหว สึนามิ และข่าวด่วน

***J-ALERT ปักหลักเตือนภัยเกิน 20 ปี

J-ALERT เป็นระบบกระจายข่าวสารฉุกเฉินของญี่ปุ่นที่เปิดตัวในปี 2004 ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงผ่านดาวเทียมและเครือข่ายอุปกรณ์กระจายเสียงทั่วประเทศ หากเกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ พายุไต้ฝุ่น หรือแม้แต่การโจมตีด้วยขีปนาวุธ ระบบนี้จะช่วยเตือนภัยได้ภายในไม่กี่วินาที


ถามว่า J-ALERT ทำงานอย่างไร? คำตอบคือระบบนี้ทำงานใน 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. หน่วยงานดับเพลิงและการจัดการภัยพิบัติของญี่ปุ่น (FDMA) จะรับข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหวหรือขีปนาวุธ 2. FDMA ส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดินทั่วประเทศ และ 3. สถานีส่งสัญญาณของ J-ALERT กระจายเสียงแจ้งเตือนผ่านลำโพงตามอาคารและพื้นที่สาธารณะ, รวมถึงสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุ, และการแจ้งเตือนบนโทรศัพท์มือถือ

ประเภทของการแจ้งเตือนจาก J-ALERT แบ่งเป็นแจ้งเตือนอัตโนมัติ 100% เช่น การยิงขีปนาวุธ การโจมตีทางทหาร แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ สึนามิ การปะทุของภูเขาไฟ และสภาพอากาศรุนแรง ประเภทที่ 2 คือแจ้งเตือนเฉพาะพื้นที่ เช่น รายละเอียดของแผ่นดินไหว สึนามิ และพายุทอร์นาโดในพื้นที่ต่างๆ และประเภทที่ 3 คือแจ้งเตือนตามเงื่อนไข เช่น ระดับน้ำในแม่น้ำ คำเตือนอากาศ และภูเขาไฟ


การจะรับการแจ้งเตือนจาก J-ALERT ได้ นักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติจะสามารถรับการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน "NHK World TV" บน iOS และ Android โดยต้องเปิดใช้งานการแจ้งเตือนแผ่นดินไหว สึนามิ และข่าวด่วน

***ประเทศไทยล้ำกว่า

ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินรูปแบบใหม่ล่าสุด ที่กำลังรอเวลาแจ้งเกิดในไทย คือ "Cell Broadcast Service" หรือ CBS ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่จะส่งตรงข้อมูลสำคัญไปยังมือถือของเราเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ข่าวดีสุดๆ คือระบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คนไทยเท่านั้นนะครับ พี่น้องนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยก็จะได้รับการแจ้งเตือนด้วยเช่นกัน แถมยังรองรับถึง 5 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย

โอ้โห สุดยอดไปเลย

Cell Broadcast Service การันตีว่าผู้ใช้ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ไม่ว่าจะใช้เครือข่ายไหนก็ตาม ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ก็จะได้รับการแจ้งเตือนทันที โดยการแจ้งเตือนไม่ได้มาแค่ข้อความตัวอักษรธรรมดา แต่มันจะมาในรูปแบบ ข้อความ ป๊อปอัปเด้งขึ้นหน้าจอ พร้อมเสียงสัญญาณเตือน ทำให้เราไม่พลาดทุกสถานการณ์สำคัญ

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ระบบนี้ยังรองรับ Text to Speech เทคโนโลยีที่จะอ่านออกเสียงข้อความแจ้งเตือน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เรียกได้ว่าใส่ใจทุกรายละเอียด

มติ กสทช.5 ต่อ 2 เสียง อนุมัติงบ 261 ล้านบาท ให้ NT ลุยระบบ Cell Broadcast หวังยกระดับแจ้งเตือนฉุกเฉินทั่วประเทศ หลังบอร์ดท้วงงบเดิมแพง เมื่อ 30 ม.ค. 68
และที่ว้าวไปกว่านั้นคือ ระบบ CBS นี้สามารถตั้งระดับการเตือนได้ถึง 5 ระดับ ตามความสำคัญของสถานการณ์ ตั้งแต่การแจ้งเตือนระดับชาติ เหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว ไปจนถึงการแจ้งเตือนคนหาย หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเพื่อความปลอดภัยสาธารณะในพื้นที่นั้นๆ และยังมีระบบทดสอบการแจ้งเตือนด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างจะทำงานได้อย่างราบรื่นเมื่อถึงสถานการณ์จริง

แน่นอนว่าการพัฒนาระบบใหม่ขนาดนี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมกันสักหน่อย ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) คาดการณ์ว่าระบบนี้จะพร้อมใช้งานทั่วประเทศประมาณ ต้นปี 2568 แต่ในวิกฤติแผ่นดินไหว 28 มีนาคม 68 ระบบ CBS ก็ยังไม่พร้อมใช้งาน

ไม่ว่าอย่างไร คนไทยต้องชื่นชมการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงดีอี สำนักงาน กสทช. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งแม้จะยังไม่เผิดใช้ แต่อย่างน้อย มูฟเมนต์เรื่องการพัฒนาระบบนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความปลอดภัยให้กับทุกคนในประเทศจริงๆ.
กำลังโหลดความคิดเห็น