ซีดีจีวาง 3 กลยุทธ์ นำเทคโนโลยี GIS สู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับประเทศ (National Digital Infrastructure) ภายในปี 2570 พร้อมประกาศตั้ง ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดทางประเทศไทยสู่ยุคใหม่ของการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่
ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท จีไอเอส จำกัด กล่าวว่า การขับเคลื่อนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบอัจฉริยะ (Location Intelligence) เพื่อผลักดันให้ GIS เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศด้านดิจิทัลครบวงจร
“ปัจจุบัน รัฐบาลทั่วโลกให้ความสำคัญกับ Geographic Information System (GIS) สู่การเป็นเทคโนโลยีหลักในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งชาติ โดยนโยบาย Geospatial Data Governance และโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศ (National Spatial Data Infrastructure, NSDI) กลายเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อกำหนดนโยบาย เสริมความปลอดภัยของข้อมูล และการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์”
ในขณะเดียวกันปี 2573 ตลาด GIS ทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 860,000 ล้านบาท โดยมีระบบคลาวด์ และ AI เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญท่ามกลางภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว GIS จึงเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทุกองค์กรต้องมี
การดำเนินงานของจีไอเอส สอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่มบริษัทซีดีจี ที่มุ่งใช้เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพสังคมที่ดีขึ้น (Technology for a Better Society) ผ่านการพัฒนาโซลูชันที่ใช้งานได้จริง และสร้างผลกระทบเชิงบวกในระยะยาว ด้วย 3 กลยุทธ์หลักที่ตอบโจทย์สู่การขับเคลื่อน GIS เทคโนโลยีสู่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศในอนาคต ดังนี้
1.ผลักดันสู่เทคโนโลยีหลักของเศรษฐกิจดิจิทัล (GIS as a Core National Technology) ผ่านโซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยความเชี่ยวชาญในด้าน GIS System Integrator (SI) โดยเฉพาะภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ที่มีธุรกิจในเครืออย่าง NOSTRA LOGISTICS ที่พร้อมนำโซลูชันอัจฉริยะรองรับตลาด เพิ่มขีดความสามารถ และความได้เปรียบในการแข่งขัน
2. มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการ Solutions และเป็นที่ปรึกษาด้าน GIS เทคโนโลยีอย่างครบวงจร (GIS End-to-End Solutions Provider & Expert Consulting) ต่อยอดบทบาทความเชี่ยวชาญในการออกแบบโซลูชัน สร้าง GIS Ecosystem ที่ครบวงจร เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับระบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการร่วมมือกับพันธมิตรสำคัญอย่าง Esri Thailand รวมถึง Nostra Map ผู้เชี่ยวชาญและให้บริการด้านข้อมูลแผนที่ดิจิทัลประเทศไทย ตลอดจนการผสานคลาวด์ AI และ Digital Twin เข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยี
3.ขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ด้วย GIS (Public-Private Partnerships & National GIS Strategy) ผนึกความร่วมมือกับหลากหลายภาคส่วน ดัน GIS ยกระดับการบริหารจัดการทั้งภาคพลังงาน คมนาคม ภัยพิบัติ รวมถึงความมั่นคงของประเทศ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของภาคเอกชน ทั้งการเงิน การธนาคาร การบริหารจัดการ ระบบขนส่ง ควบคุมต้นทุนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัปพลายเชน การใช้ซอฟต์แวร์ ArcGIS ในการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลผลิต รวมถึงภาคธุรกิจค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและแนวโน้มเชิงพื้นที่เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแม่นยำ