xs
xsm
sm
md
lg

เลิกเคาะ-ดีด-ดม! รู้จักวิถี "CT Scan ทุเรียน" ไม่แพงเกิน-ไม่มีรังสีตกค้าง ตามเทรนด์จีน-นิวซีแลนด์สแกนแอปเปิล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คนรักทุเรียนมักหวั่นใจกับ 2 สิ่ง คือกลัวได้รับทุเรียนอ่อน หรือพบเจอหนอนในผล ทั้งที่พยายามเคาะ ดีด และดมมาอย่างดีแล้ว แต่ต่อไปนี้ปัญหาเหล่านี้กำลังจะหมดไปด้วยนวัตกรรมสุดล้ำจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ ARDA ที่ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการพัฒนาเครื่อง CT-Scan พิเศษสำหรับทุเรียนโดยเฉพาะ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เครื่อง CT-Scan ที่คุ้นเคยกันดีในโรงพยาบาลถูกนำมาประยุกต์ใช้กับทุเรียน โดยช่วงปี 2566 สื่อต่างประเทศออกรายงานว่าแพทย์จากเมืองฉางซา มณฑลหูหนาน ได้นำทุเรียนมาสแกนด้วยเครื่อง CT เพื่ออธิบายเนื้อหาทางการแพทย์ให้นักเรียนชั้นประถมและมัธยมได้รับฟัง โดยมองว่าภาพที่ได้จากการสแกนทุเรียนมีความชัดเจนมากกว่าภาพร่างกายคน ทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการทำงานของเครื่อง CT ได้ง่ายขึ้น


และเมื่อปี 2567 งานวิจัยจากนิวซีแลนด์ยังแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี CT-Scan สามารถใช้ตรวจจับความผิดปกติภายในของผลไม้ประเภทแอปเปิลและแพร์ได้ด้วย โดยค่าเฉลี่ยระดับสีเทา (Mean Greyscale Value - MGV) ในภาพ CT สามารถบ่งชี้ถึงคุณภาพของผลไม้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ก่อนที่จะมีอาการให้เห็นจากภายนอกของผล

***ไม่มีรังสีตกค้าง?

ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการ ARDA อธิบายว่าทีมวิจัยได้พัฒนาระบบประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก (Deep Neural Network) ที่สามารถวิเคราะห์ความอ่อน-แก่ และตรวจจับหนอนภายในผลทุเรียนได้อย่างแม่นยำสูงถึงกว่า 95%

"แต่เดิมเราใช้วิธีเคาะฟังเสียงเพื่อประเมินความแก่ของทุเรียน ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเกษตรกร แต่ไม่สามารถยืนยันผลได้ 100% ส่วนหนอนที่อยู่ภายในเราไม่มีทางรู้เลยว่ามีหรือไม่ แต่เทคโนโลยี CT-Scan ร่วมกับ AI ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะจะช่วยให้เราเห็นทุกอย่างที่อยู่ภายในได้อย่างชัดเจน"

ทุเรียนที่ผ่านการสแกนด้วยเครื่อง CT Scan จะไม่มีรังสีตกค้างหรือปนเปื้อนมากับผลทุเรียน
ทุเรียนที่ผ่านการสแกนด้วยเครื่อง CT Scan จะไม่มีรังสีตกค้างหรือปนเปื้อนมากับผลทุเรียนแต่อย่างใด เนื่องจากหลักการทำงานของเครื่อง CT Scan ใช้รังสีเอกซ์ (X-ray) ในการสแกน ซึ่งรังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่ทำให้วัตถุกลายเป็นกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้าง ไม่เหมือนการฉายรังสี ที่ใช้ในการถนอมอาหาร (food irradiation) ซึ่งเป็นคนละกระบวนการ 
สำหรับการสแกนด้วย CT Scan สามารถเทียบได้กับการ "ถ่ายภาพ" ด้วยรังสีเอกซ์แล้วนำข้อมูลมาประมวลผล ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของทุเรียน เทียบเท่ากับการเอกซเรย์กระเป๋าที่สนามบิน ซึ่งไม่ทำให้สิ่งของในกระเป๋ามีรังสีตกค้างแต่อย่างใด

ทุเรียนมีปริมาณน้ำน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่นแต่มีความหนาแน่นสูงกว่า ทำให้ภาพที่ได้จากการสแกนมีความชัดเจนมากเมื่อแสดงผลแบบสามมิติ
การใช้ CT-Scan กับทุเรียนเคยเป็นข่าวดังมาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดของไทย ข้อมูลจากรายงานใน Global Times ชี้ว่าแพทย์จากเมืองฉางซารายหนึ่งชื่อกั๋ว (Guo) ได้นำทุเรียนมาสแกนด้วยเครื่อง CT เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ให้นักเรียนชั้นประถมและมัธยม โดยคุณหมอกั๋ว ผู้ริเริ่มไอเดียนี้อธิบายไว้ตั้งแต่ปี 2566 ว่าทุเรียนมีปริมาณน้ำน้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่นแต่มีความหนาแน่นสูงกว่า ทำให้ภาพที่ได้จากการสแกนมีความชัดเจนมากเมื่อแสดงผลแบบสามมิติ ซึ่งทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการทำงานของเครื่อง CT ได้ง่ายขึ้น

เทคโนโลยี CT-Scan สามารถใช้ตรวจจับความผิดปกติภายในของผลไม้ประเภทแอปเปิลและแพร์ได้ด้วย
ไม่ใช่แค่ทุเรียน เทคโนโลยีนี้ยังใช้ได้กับผลไม้อื่นๆ ด้วย! โดยงานวิจัยจากต่างประเทศยังแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี CT-Scan สามารถใช้ตรวจจับความผิดปกติภายในของผลไม้ประเภทแอปเปิลและแพร์ได้ด้วย โดยค่าเฉลี่ยระดับสีเทา (Mean Greyscale Value - MGV) ในภาพ CT สามารถบ่งชี้ถึงคุณภาพของผลไม้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ก่อนที่จะมีอาการให้เห็นจากภายนอก

***อนาคตทุเรียนแพง?

สำหรับทุเรียนไทย ดร.วิชาญเน้นย้ำว่าหากไทยไม่หาวิธีตรวจสอบคุณภาพทุเรียน ไทยอาจเสียแชมป์การส่งออกทุเรียนให้ประเทศผู้ค้ารายอื่น โดยเฉพาะเวียดนามที่การส่งออกทุเรียนเติบโตขึ้นถึง 7.8 เท่าในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2565 และบางช่วงเวลามีมูลค่าการส่งออกมากกว่าไทย หรือมาเลเซียที่กำลังพัฒนาพันธุ์ทุเรียนที่หวังจะมาแทนที่หมอนทองของไทย

แม้แต่มัมมี่ ก็ยังถูกส่งเข้าเครื่อง CT Scan เพื่อให้เทคโนโลยีเผยความลับภายใน
ในขณะที่ ดร.วิชาญไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องต้นทุนของเทคโนโลยี CT Scan กับราคาทุเรียน แต่จากการวิเคราะห์พบว่า เครื่อง CT Scan เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีราคาแพง และการพัฒนาระบบเฉพาะสำหรับทุเรียนพร้อมการประมวลผล AI ยังต้องใช้เงินลงทุนสูงในช่วงแรก ซึ่งเครื่องนี้จะถูกใช้ในระดับโรงคัดบรรจุ ไม่ใช่เกษตรกรรายย่อย ทำให้ต้นทุนต่อผลผลิตถูกกระจายออกไป ดังนั้นในระยะสั้น เทคโนโลยีนี้อาจมีผลให้ราคาทุเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการต้องรวมต้นทุนใหม่เข้าไปในราคาขาย แต่ในระยะกลาง-ยาว ราคาอาจไม่เพิ่มขึ้นมาก หรืออาจลดลงเนื่องจากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการคัดกรองจะลดต้นทุนการเสียหายจากการส่งคืนสินค้า นำไปสู่ความเชื่อมั่นในคุณภาพทุเรียนไทย ที่จะช่วยรักษาตลาดและราคาในระยะยาว

ในภาพรวม เทคโนโลยี CT-Scan ที่ผนวกรวมกับ AI จึงอาจเป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยรักษามาตรฐานคุณภาพทุเรียนไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ป้องกันการลักลอบส่งออกทุเรียนอ่อน และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการเคาะ ดีด หรือดมอีกต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น