เมื่อวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ได้มีการจัดเสวนาข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ในงาน Recorded Future Predict 2024 ที่ Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์ Singapore
ดร.ปรเมศวร์ กุมารบุญ จาก สกมช. ได้ชี้ให้เห็นผลงานสำคัญของ สกมช. ในการยกระดับดัชนีชี้วัดความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของโลก (Global Cybersecurity Index) จากอันดับที่ 44 ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 ของโลก
นอกจากนั้น ยังได้เล่าถึงอาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบใหม่ของประเทศไทยที่เรียกว่า Cyber kidnapping หรือการลักพาตัวเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ใหม่ในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ การเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นนี้ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากตัวแทนประเทศต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
ดร.ปรเมศวร์ อธิบายว่า อาชญากรจะมุ่งโจมตีไปที่นักศึกษามหาวิทยาลัยที่อยู่หอพัก โดยโทรศัพท์มาหาออกอุบายว่านักศึกษาพัวพันกับคดีอาญาร้ายแรง เช่น ยาเสพติดหรือการฟอกเงิน และครอบครัวกำลังตกอยู่ในอันตรายเพราะกลุ่มอาชญากรตามล่าให้หาที่หลบหนีและห้ามติดต่อครอบครัว เมื่อหาที่หลบซ่อนดีแล้วให้ส่งรูปหรือวิดีโอมาเพื่อยืนยันว่าปลอดภัย จากนั้นคนร้ายส่งรูปหรือวิดีโอไปให้ครอบครัวนักศึกษาอ้างว่าจับตัวมาเรียกค่าไถ่ โดยที่คนร้ายและนักศึกษาไม่เคยเจอตัวกันมาก่อน
บางกรณีคนร้ายใช้ AI ปลอมเสียงเด็กร้องขอความช่วยเหลือ ขณะที่เด็กเรียนหนังสือได้ปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครอบครัวไม่มีทางเลือกจึงยอมโอนเงินให้คนร้ายแลกกับการไม่ให้เด็กถูกทำร้าย บางกรณีคนร้ายใช้ AI Deepfake ภาพนิ่งของตำรวจแล้ว Video call มาหลอกเหยื่อ บางกรณีสามารถหลอกนักศึกษาแพทย์จนหลงเชื่อเดินทางออกนอกประเทศไปตกอยู่ในมือคนร้ายจนถูกจับตัวเรียค่าไถ่จริง หลากหลายกลอุบายที่คนร้ายใช้ในมุกใหม่ที่เรียกว่าจับตัวเรียกค่าไถ่
ดร.ปรเมศวร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นปีราวเดือนมกราคมประเทศไทยมีเพียง 3 คดี แต่ปัจจุบันมีนับพันเหตุการณ์แล้ว รูปแบบการเติบโตของอาชญากรรมเป็นประเภทนี้ในระยะปีแรกการเติบโตของกราฟจะเป็น Exponential เติบโตทวีคูณอย่างรวดเร็ว และอาจจะระบาดอย่างหนักในปีหน้าถ้าไม่เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้แก่นักศึกษาได้ทัน ซึ่งความเสียหายไม่ใช่แค่ทรัพย์สิน แต่อาจถึงชีวิตของทุกคน
ดร.ปรเมศวร์ กุมารบุญ จาก สกมช. ได้ชี้ให้เห็นผลงานสำคัญของ สกมช. ในการยกระดับดัชนีชี้วัดความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของโลก (Global Cybersecurity Index) จากอันดับที่ 44 ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 7 ของโลก
นอกจากนั้น ยังได้เล่าถึงอาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบใหม่ของประเทศไทยที่เรียกว่า Cyber kidnapping หรือการลักพาตัวเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ใหม่ในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ การเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นนี้ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากตัวแทนประเทศต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
ดร.ปรเมศวร์ อธิบายว่า อาชญากรจะมุ่งโจมตีไปที่นักศึกษามหาวิทยาลัยที่อยู่หอพัก โดยโทรศัพท์มาหาออกอุบายว่านักศึกษาพัวพันกับคดีอาญาร้ายแรง เช่น ยาเสพติดหรือการฟอกเงิน และครอบครัวกำลังตกอยู่ในอันตรายเพราะกลุ่มอาชญากรตามล่าให้หาที่หลบหนีและห้ามติดต่อครอบครัว เมื่อหาที่หลบซ่อนดีแล้วให้ส่งรูปหรือวิดีโอมาเพื่อยืนยันว่าปลอดภัย จากนั้นคนร้ายส่งรูปหรือวิดีโอไปให้ครอบครัวนักศึกษาอ้างว่าจับตัวมาเรียกค่าไถ่ โดยที่คนร้ายและนักศึกษาไม่เคยเจอตัวกันมาก่อน
บางกรณีคนร้ายใช้ AI ปลอมเสียงเด็กร้องขอความช่วยเหลือ ขณะที่เด็กเรียนหนังสือได้ปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ครอบครัวไม่มีทางเลือกจึงยอมโอนเงินให้คนร้ายแลกกับการไม่ให้เด็กถูกทำร้าย บางกรณีคนร้ายใช้ AI Deepfake ภาพนิ่งของตำรวจแล้ว Video call มาหลอกเหยื่อ บางกรณีสามารถหลอกนักศึกษาแพทย์จนหลงเชื่อเดินทางออกนอกประเทศไปตกอยู่ในมือคนร้ายจนถูกจับตัวเรียค่าไถ่จริง หลากหลายกลอุบายที่คนร้ายใช้ในมุกใหม่ที่เรียกว่าจับตัวเรียกค่าไถ่
ดร.ปรเมศวร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นปีราวเดือนมกราคมประเทศไทยมีเพียง 3 คดี แต่ปัจจุบันมีนับพันเหตุการณ์แล้ว รูปแบบการเติบโตของอาชญากรรมเป็นประเภทนี้ในระยะปีแรกการเติบโตของกราฟจะเป็น Exponential เติบโตทวีคูณอย่างรวดเร็ว และอาจจะระบาดอย่างหนักในปีหน้าถ้าไม่เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้แก่นักศึกษาได้ทัน ซึ่งความเสียหายไม่ใช่แค่ทรัพย์สิน แต่อาจถึงชีวิตของทุกคน