xs
xsm
sm
md
lg

Grab มั่นใจยังเป็นผู้นำ ธุรกิจปีนี้เติบโตดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แกร็บ (Grab) เผยภาพรวมธุรกิจปีนี้เติบโตได้ดีกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังธุรกิจสามารถทำกำไรได้ ย้ำยังเป็นผู้นำตลาดบริการเรียกรถ-ส่งอาหารผ่านแอปแน่นอน มองการแข่งขันในตลาดยังไม่ได้อยู่ในโมเดลเดียวกัน บนตลาดที่แข่งขันบนความยั่งยืน

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวถึงกระแสข่าวก่อนหน้านี้ที่มีการเปิดเผยผลวิจัยถึงการที่ตลาดแอปบริการส่งอาหาร เกิดการเปลี่ยนอันดับผู้นำว่า ในตลาดนี้ไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลจากคนกลางที่เชื่อถือได้ ทำให้คิดว่าเป็นรายงานวิจัยที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ

ขณะเดียวกัน แกร็บไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดให้แก่บริษัทวิจัยใดๆ จึงทำให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เปิดเผยออกมาไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ ยังมองว่าในการที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจอะไร ต้องให้คนอื่นที่มีความน่าเชื่อถือมาบอก ไม่ใช่ออกมาประกาศเป็นผู้นำเอง

โดยปัจจุบัน แกร็บมองว่าภาพรวมการแข่งขันของบริการเรียกรถผ่านแอปมีการแข่งขันสูงขึ้นจากผู้เล่นที่เข้ามาในตลาดมากขึ้น สิ่งที่แกร็บทำคือการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อสร้างมาตรฐานที่ดี ให้ผู้บริโภคได้คุณภาพในการบริการ

ส่วนในธุรกิจรับส่งอาหาร (Food Delivery) มองว่าปัจจุบัน ยังไม่ใช่การแข่งขันที่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน เพราะแต่ละแบรนด์จะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อย่างบางรายให้บริการเพื่อนำดาต้าไปใช้ร่วมกับธุรกิจหลักอื่นๆ หรือแบรนด์ใหม่ที่เข้ามามีการเน้นขยายตลาดยอมขาดทุน เพื่อหวังทำกำไรในอนาคต แตกต่างจากแกร็บที่ปัจจุบันจะมุ่งเน้นทำตลาดเพื่อความยั่งยืนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน

“การแข่งขันส่วนใหญ่ในไทยยังคงเน้นที่คุณภาพ และบริการ ซึ่งในปีนี้เทรนด์ของนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเมืองไทยตลอดทั้งปี แตกต่างจากปีก่อนๆ ที่จะมีบางช่วงที่นักท่องเที่ยวเข้ามาลดลง ซึ่งลูกค้าในกลุ่มนี้จะยอมจ่ายแพงให้ได้บริการที่ดี ส่วนผู้ใช้งานไทยเห็นเทรนด์การเซฟค่าใช้จ่ายมากขึ้น”

ปัจจุบันรายได้หลักของแกร็บยังมาจากธุรกิจรับส่งอาหาร ตามมาด้วยบริการเรียกรถที่สร้างรายได้มูลค่าค่อนข้างสูงตามลักษณะของบริการ ตามด้วยแกร็บมาร์ท บริการซื้อของสดจากร้านค้า และโฆษณาบนแพลตฟอร์มที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง

ที่ผ่านมา แกร็บเริ่มหันมาสร้างธุรกิจในลักษณะของความยั่งยืน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ช่วยให้ค่าเฉลี่ยของผู้ขับเพิ่มสูงขึ้น ช่วยให้ไรเดอร์มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น พร้อมไปกับการลดต้นทุนในการให้บริการอย่างเช่นการนำรถมอเตอร์ไซค์ EV มาใช้งาน รวมถึงการเสริมนวัตกรรมเข้ามาช่วย

รวมถึงในส่วนของธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล ที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ประเมินจากการทำงานของทั้งไรเดอร์ และร้านค้า ซึ่งปัจจุบันสามารถปล่อยกู้ให้วงเงินตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท สำหรับผู้ขับ และสูงถึง 10 ล้านบาท สำหรับร้านอาหาร ในลักษณะของสินเชื่อรายวันแบบลดต้นลดดอก ทำให้เฉลี่ย 6 เดือนแล้ว ดอกเบี้ยอยู่ที่ราว 12% กว่าๆ เท่านั้น

“ช่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถ้าเป็นบริการสินเชื่อกรณีที่ร้านค้า หรือผู้ขับอยู่ในพื้นที่ประสบภัย ระบบจะมีการพักชำระหนี้ให้อัตโนมัติ เพราะเรารู้ว่าร้านค้าไม่สามารถเปิดขายได้ ไรเดอร์ไม่สามารถออกไปให้บริการได้ ซึ่งตรงนี้จะเข้าไปช่วยให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น