xs
xsm
sm
md
lg

สมาร์ทวอตช์ไทย 2024 คึกคัก GARMIN คว้าไฟเขียว ECG จาก อย.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลังจากปล่อยให้แบรนด์อื่นขายไปก่อนหลายปี
การ์มิน (GARMIN) ประกาศคว้าใบอนุญาต ECG จาก อย. ได้สำเร็จ เปิดไฟเขียวโฆษณาเต็มที่เรื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขีดเส้นครึ่งหลังปี 2024 เริ่มทำตลาดไทยเต็มสูบ คาดปิดปีด้วยรายได้เพิ่มเลข 2 หลักสบายๆ

น.ส.หรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด การ์มิน ประเทศไทย กล่าวถึงการได้รับใบอนุญาตการใช้งานเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในเรื่องการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยแอปพลิเคชัน (ECG App) ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2024 ว่าไม่หวังให้อุปกรณ์ของการ์มินมีจุดยืนเทียบเท่าเครื่องมือทางการแพทย์ แต่วางตำแหน่งให้เป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้มีสุขภาพดีขึ้น โดยแม้ ECG จะไม่ได้มาในทุกรุ่นของการ์มิน แต่จะมีในทุกซีรีส์ที่การ์มินวางจำหน่าย

“เรามีแผนสื่อสารเรื่อง ECG อย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2024 ความน่าตื่นเต้นจากนี้คือเมื่อผู้ใช้ติดตามข้อมูลสุขภาพของการ์มิน แล้วพบความผิดปกติ จะสามารถนำไปพบแพทย์ได้ เราไม่หวังเทียบเท่าเครื่องมือทางการแพทย์ แต่ขอเป็นตัวช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพดีขึ้น”

หรรษา อาภานุกูล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด การ์มิน ประเทศไทย
การได้ไฟเขียวเรื่อง ECG ในไทยของการ์มินเป็นเรื่องใหญ่ เพราะการ์มินเป็นแบรนด์จีพีเอสสมาร์ทวอตช์ที่ขายดีระดับโลก แต่ไม่สามารถโฆษณาในไทยได้ว่ารองรับ ECG ได้ในช่วงก่อนหน้านี้ ที่ผ่านมา การ์มินทำรายได้ไตรมาสแรก ปี 2024 กว่า 1,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 49,680 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเติบโตกว่า 20% ซึ่งในไทย รายได้การ์มินมีอัตราเติบโตที่มากกว่า คำนวณได้สัดส่วน 25% 


สำหรับ ECG หรือ Electrocardiogram นั้นเป็นการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ การตรวจ ECG จะช่วยหาความผิดปกติหรือความเสี่ยงต่อโรคที่มีผลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหลังจากปล่อยให้แบรนด์อื่นทำตลาดในไทยมาระยะหนึ่งแล้ว การ์มินจะเริ่มนำเสนอฟีเจอร์ ECG ให้คนไทย ตามที่ได้รับใบอนุญาตจาก อย. อย่างเป็นทางการ

มิสซี่ ยาง ผู้อำนวยการประจำ การ์มิน ประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ อย. เริ่มอนุมัติฟังก์ชันสุขภาพในนาฬิกาสมาร์ทวอตช์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 เหตุที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือเพราะผู้ใช้งานไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ จึงอาจใช้งานผิดวิธี ส่งผลให้การวิเคราะห์ผิดพลาด สร้างความสับสน และอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ โดยหากฟังก์ชันสุขภาพในสมาร์ทวอตช์มีการแปลผลเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ หรือมีการวิเคราะห์ความผิดปกติของสภาพร่างกาย จะเข้าข่ายเป็นซอฟต์แวร์ที่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ที่ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของ อย.

กรณีของการ์มิน ความน่าตื่นเต้นจากนี้คือผู้ใช้ที่ติดตามข้อมูลสุขภาพผ่านระบบการ์มินคอนเนค (ปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยมากกว่า 1 ล้านราย) แล้วพบความผิดปกติจะสามารถนำข้อมูลไปพบแพทย์ได้

ทีมผู้บริหาร การ์มิน ประเทศไทย
แผนการสื่อสารเรื่อง ECG อย่างเต็มที่ในช่วงครึ่งหลังปี 2024 ของการ์มินถือเป็นอีกแรงผลักดันธุรกิจสมาร์ทวอตช์ให้เติบโต เบื้องต้นบริษัทคาดว่าจะมียอดขายปี 2024 เติบโตขึ้นอีกเป็นเลข 2 หลัก ดันให้การ์มินเข้าถึงตลาดใหญ่ที่เป็นกลุ่มผู้รักสุขภาพทั่วไป (wellness) เพิ่มขึ้น โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยอดขายสินค้าหลักของการ์มินอยู่ที่กลุ่มผู้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเอาต์ดอร์ (48%) รองลงมาเป็นกลุ่มคนเล่นกีฬา (32%) และกลุ่ม wellness มีสัดส่วนเพียง 20%

น.ส.มิสซี่ ยาง ผู้อำนวยการประจำ การ์มิน ประเทศไทย กล่าวถึงการรับตำแหน่งไดเรกเตอร์คนใหม่ประจำประเทศไทย ว่าจะขยายการลงทุนอย่างเต็มที่จากปี 2021 ที่ได้เปิดสำนักงานในไทย โดยวางแผนจะเพิ่มบริการในประเทศให้คนไทยใช้งานการ์มินได้สะดวกและหลากหลายยิ่งขึ้น

เต้ย - พงศกร ตัวแทนกลุ่มนักกีฬา ผู้ใช้ Garmin

แป้น - Japan and friends ตัวแทนกลุ่มมือใหม่ผู้ใช้ Garmin

มิ้นท์ - I Roam Alone ตัวแทนกลุ่มรักสุขภาพ ผู้ใช้ Garmin


กำลังโหลดความคิดเห็น