ปัจจุบันการเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ล้ำหน้าจนเริ่มมีการเข้ามาเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนในอนาคต สร้างโอกาสใหม่ๆ การเรียนรู้ พัฒนาทักษะเฉพาะด้านของนักเรียน..ทรู คลิกไลฟ์ นำโดย ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าสายงานกลยุทธ์องค์กรและด้านการศึกษา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในอนาคตที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ให้ตรงกับบริบทของแต่ละโรงเรียน และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเสริมศักยภาพคุณครูก้าวสู่การศึกษายุค AI เดินหน้าจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทรู คลิกไลฟ์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ในหัวข้อ AI FOR EDUCATION : UNLOCKING NEW POSSIBILITIES ยกระดับการศึกษาในยุค AI สู่การเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด ให้ผู้บริหารและคุณครูผู้ใช้หลักสูตรทรู คลิกไลฟ์กว่า 500 คนทั่วประเทศ เพื่อเติมเต็มประสิทธิภาพ และเสริมทักษะด้านการบริหารสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน รวมถึงได้รับทราบถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ของทรู คลิกไลฟ์ที่จะมาตอบโจทย์ในการจัดการเรียนรู้ นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับ 5 หลักสูตรของทรู คลิกไลฟ์ ได้แก่ เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน โรโบติกส์ และดนตรี ครอบคลุมตั้งระดับชั้นอนุบาล ประถม จนถึงมัธยม ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีดจำกัด (BT Beartai) มาร่วมเปิดมุมมอง AI ในอนาคต เรื่องการศึกษาที่ AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในหัวข้อ “AI and the Future of Education” เพราะ AI เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นในชีวิตประจำวัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกการศึกษาของเราได้ในอีกหลายๆ ด้าน และเราจะเตรียมรับมือกับโลกการศึกษาในอนาคตได้อย่างไรบ้าง และ รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายในหัวข้อ “Unleashing the Power of AI : Transforming Private School Management” ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรม AI ในการช่วยจัดการงานบริหารโรงเรียนในด้านต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้การวางกลยุทธ์ตราสินค้าสร้างความแตกต่าง ส่งมอบบริการที่ดีและมีคุณค่าให้ผู้เรียนและผู้ปกครองกับ รศ.ภกญ.ดร.อโนทัย งามวิชัยกิจ อาจารย์ประจำวิชาเอกการตลาดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นักเขียน และกูรูด้านการตลาด ในหัวข้อ “Branding Strategy for Private Schools” เสริมทัพด้วยวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญอีกมากมายช่วยพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนให้ครูผู้สอนจัดเต็มตลอดทั้ง 2 วัน
• ไม่หยุดนิ่งการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในทุกมิติ
เป็นเวลากว่า 16 ปีแล้ว ที่โรงเรียนเอกชนไทยกว่า 100 โรงเรียนให้การยอมรับ ทรู คลิกไลฟ์ หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบครบวงจร ภายใต้การดำเนินงานของทรู คอร์ปอเรชั่น นำโดย ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าสายงานกลยุทธ์องค์กรและด้านการศึกษา กล่าวให้ความเชื่อมั่นกับผู้บริหารและคุณครู ถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง พาโรงเรียนเอกชนก้าวข้ามทุกการเปลี่ยนแปลง พร้อมกล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาในวงการการศึกษาของปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเรามีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตั้งคำถาม คิดวิเคราะห์ นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง ให้รู้จักทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทั้งนี้ ต้องควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม นี่คือสิ่งที่หลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ ได้เตรียมปูพื้นฐานให้ยุค AI ที่กำลังเกิดขึ้น รวมถึงความพร้อมของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่จะมาช่วยโรงเรียนเอกชนรับมือกับยุคใหม่ของการศึกษาอีกด้วย”
และปีนี้เป็นที่น่ายินดีที่หลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ ได้รับความสนใจจากโรงเรียนซัยสมพร นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยคุณจันสุดาลัก ปัญญาสิท ผู้บริหารที่ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ เล่าว่า “ประทับใจในทุกช่วงกิจกรรมที่นำเสนอเกี่ยวกับหลักสูตรต่างๆ โดยเฉพาะได้รู้เรื่อง AI มีความสำคัญกับโลกปัจจุบันนี้ ในส่วนของหลักสูตรประทับใจเนื้อหาที่มีความต่อเนื่องในแต่ละช่วงวัย ยังมีสื่อเพลง เสียง รูปภาพ ซึ่งจะช่วยครูให้อธิบายบทเรียนได้ดีขึ้น แล้วช่วยนักเรียนให้เข้าใจได้ดีขึ้นและสนุกกับการเรียน” หลังจากจบหลักสูตรการอบรมแล้ว ยังมีแผนให้คุณครูได้เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองผ่านสื่อมัลติมีเดีย อัดแน่นเทคนิคการจัดการเรียนการสอน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรในแวดวงการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำตลอดปี รวมถึงร่วมพูดคุยกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 หลักสูตร เพื่อติดตามประเมินผลเป็นระยะและส่งเสริมการพัฒนาการสอนได้อย่างตรงจุดอีกด้วย
• 10 ปี ที่ให้ความเชื่อมั่นหลักสูตรทรู คลิกไลฟ์
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้บริหารโรงเรียนทวิพัฒน์และโรงเรียนพัฒนาปัญญา จ.อุดรธานี เล่าถึงความรู้สึกความเชื่อมั่นที่ ได้เข้าร่วมหลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ มาเป็นเวลายาวนานถึง 10 ปี ว่าทุกวันนี้โลกหมุนไว หลักสูตรการเรียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แนวคิดการพัฒนาโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย พื้นฐานเราคือการสร้างเด็กให้มีคุณธรรม จริยธรรม เตรียมความพร้อมให้นักเรียนของก้าวสู่สังคมอุดมปัญญา ซึ่งเราทำมาตลอดอยู่แล้ว แต่ในรายละเอียดทางด้านเทคโนโลยี ทางด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนเหล่านี้เราต้องการผู้ช่วย จนได้มาพบหลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ มีความเป็นมืออาชีพ มีการนิเทศอาจารย์ มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงเรียนเอกชนของพวกเราครับ สิ่งที่เราเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ คุณครูผู้สอนมีวิสัยทัศน์กว้างขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดไปยังเด็กนักเรียนอีกด้วย และมีเครื่องมือการเรียนการสอน มีสื่อการสอนที่ทันสมัย เด็กๆ ดีใจ รู้สึกสนุกทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ เพราะมีสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ ทรูคอร์ปอเรชั่น เข้ามามีบทบาทให้โรงเรียนเรามีศักยภาพการเรียนการสอนมากขึ้น ตรงนี้คือสิ่งสำคัญ และถ้าโรงเรียนอื่นๆ ได้มีโอกาสใช้หลักสูตรดีๆแบบนี้ เราจะได้ร่วมกันพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยไปด้วยกันครับ”
• หลักสูตรเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณและโรโบติกส์ สำหรับการศึกษาในยุค 5.0
ในยุคนี้ “เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณและโรโบติกส์” เป็นวิชาที่สำคัญมาก โดยเฉพาะทักษะด้าน AI ทักษะการเขียนโค้ด รวมถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Digital Literacy) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสทางอาชีพและการทำงานต่อไปในอนาคต ในขณะที่หลักสูตรเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณเน้นการเรียนรู้แบบ Project-based Learning ส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ หลักสูตรโรโบติกส์เองเน้นการบูรณาการการเรียนรู้แบบ STEAM Education ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Problem-based Leaning และ Project-based Leaning เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการแก้ปัญหาและการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ พร้อมเปิดโอกาสสู่การแสดงผลงานในเวทีระดับโลก
ทรู คลิกไลฟ์ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถสร้างทักษะที่จำเป็นในอนาคตให้เยาวชน เตรียมความพร้อมให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตในโลกที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนได้
โรงเรียนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตรการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบครบวงจรของทรู คลิกไลฟ์ ทั้งเทคโนโลยีวิทยากรคำนวณ อังกฤษ จีน โรโบติกส์ และดนตรี” ติดต่อ 08-9116-0239 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trueclicklife.com