xs
xsm
sm
md
lg

ปับลิซีส เซเปียนท์แนะ 3 กลยุทธ์ Superapp เจาะตลาดไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปับลิซีส เซเปียนท์ชี้ไทยมีความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และมีโอกาสเติบโตของธุรกิจจากเศรษฐกิจซูเปอร์แอป แนะ 3 กลยุทธ์ปลดล็อกศักยภาพ Superapp สู่โอกาสทางธุรกิจในประเทศ

ไทเลอร์ มิวนอซ หุ้นส่วนอาวุโสประจำภูมิภาคอาเซียนที่ปับลิซีส เซเปียนท์ แสดงความเชื่อมั่นว่า Superapp จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องไปกับยุทธศาสตร์การเร่งใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเพื่อเปิดรับการขยายของภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมไทย สอดรับกับที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดตัวเลขของเศรษฐกิจด้านดิจิทัลสูงเกือบ 1 ใน 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม

"การใช้ Superapp ที่องค์กรได้รวบรวมบูรณาการบริการที่หลากหลายไว้ในแพลตฟอร์มเดียวนี้แล้ว จะช่วยองค์กรลดต้นทุนของการให้บริการสำหรับลูกค้าปลายทาง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่มากมายนอกเหนือจากบริการหลักที่องค์กรมีอยู่"

ปับลิซีส เซเปียนท์อธิบายว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจที่เกิดจาก Superapp ในประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดย Superapp หรือซูเปอร์แอป คือแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ของธุรกิจนานาประเภทบนมือถือที่ครอบคลุมทุกบริการและโซลูชันอันหลากหลายรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้งานทำกิจกรรมทุกอย่างได้ครบจบภายในแพลตฟอร์ม หรือระบบนิเวศเดียว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย


ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจด้านดิจิทัลไทยจะมีมูลค่า 53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 และมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 15% และยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 90% โดยมีผู้ใช้เกือบ 90% ทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งอัตราความนิยมใช้งานประเภทดิจิทัลที่สูงมากขึ้น ผนวกกับความต้องการใช้บริการต่างๆ ผ่านช่องทางบนมือถือก่อนช่องทางประเภทอื่น (Mobile-first services) มากขึ้นนี้ ส่งให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์อย่างยิ่งยวดหากจะพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก Superapp ในการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า และสร้างประสิทธิภาพของระบบให้ดียิ่งขึ้น

1 ใน 3 คำแนะนำสำคัญที่ช่วยองค์กรกำหนดแนวทางอันเหมาะสมและประสบความสำเร็จใน Superapp คือ การระบุเป้าหมายแห่งชัยชนะด้วยผลิตภัณฑ์ซึ่งเหมาะกับตลาดที่แท้จริงและรูปแบบธุรกิจที่มีศักยภาพ โดยขั้นตอนแรกไม่เพียงอยู่ที่การสร้างวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ที่จะใช้ขับเคลื่อนโครงการ Superapp ขององค์กร ไม่ว่าจะเพื่อการเจริญเติบโตหรือการปกป้องส่วนแบ่งการตลาด แต่ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ รวมถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างๆ ภูมิทัศน์ของพันธมิตรเป้าหมาย แนวทางของความร่วมมือกับพันธมิตร โมเดลทางธุรกิจ ตลอดจนแนวทางด้านกฎระเบียบที่มีผลกระทบกับธุรกิจ ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า และตัวองค์กรเอง

"ในด้านเทคโนโลยีนั้นจำเป็นต้องพิจารณาถึงโครงสร้างสถาปัตยกรรมและความสามารถของแพลตฟอร์ม ซึ่งจะกำหนดอุปกรณ์ประกอบหลักประเภทต่างๆ และช่วยตัดสินใจต่อไปได้ว่าจะสร้าง ซื้อ หรือนำอะไรกลับมาใช้ใหม่อย่างไร ซึ่งจะกำหนดรูปแบบเทคโนโลยีพื้นฐานที่องค์กรต้องจัดหา"

คำแนะนำที่ 2 คือกำหนดเส้นทางในการสร้าง MVP โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรและความร่วมมือกับพันธมิตรกลุ่มต่างๆ และทดสอบกับตลาดที่รวดเร็ว และคำแนะนำที่ 3 คือใช้ AI และ ML สร้างประสบการณ์ที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้งาน เนื่องจากการสร้าง Superapp ที่ประสบความสำเร็จนั้น องค์กรต่างๆ จะต้องเข้าใจพฤติกรรมและความชื่นชอบของลูกค้า เพื่อสร้างคำแนะนำและบริการที่เหมาะให้แต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น อันจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและความภักดีของลูกค้า ซึ่งสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงประวัติการซื้อของลูกค้า พฤติกรรมการเรียกดู คำค้นหา และตัวชี้วัดอื่นๆ และจะส่งผลช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเตรียมตัวสร้างระบบการแนะนำแบบเฉพาะตัว (Hyper-personalized recommendation systems) ที่ตรงกับลูกค้ามากขึ้น โดยจะสามารถทำนายรูปแบบการบริโภคของลูกค้า และการวิเคราะห์กิจกรรมของลูกค้าได้อีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น