ปับลิซีส เซเปียนท์ (Publicis Sapient) มองแผนธนาคารแห่งประเทศไทยวางแผนที่จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับใบอนุญาตธนาคารไร้สาขา (Virtual bank) ในช่วงต้นปี 2566 เป็นโอกาสยกระดับการรวมบริการทางการเงินครั้งใหญ่ในประเทศไทย โดยพบว่าประชากรกลุ่มผู้ใหญ่ชาวไทย 63% ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านธนาคารและยังไม่ได้รับบริการด้านธนาคารอย่างเพียงพอ การแข่งขันที่มากขึ้นของธนาคารดั้งเดิมและผู้ที่เข้ามาใหม่ในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบธนาคารดิจิทัลนี้จะช่วยเร่งให้เกิดการแข่งขันกันพัฒนานวัตกรรมบริการในรูปแบบใหม่ๆ จากกลุ่มฟินเทคและช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการทางธนาคารของผู้บริโภคให้สูงขึ้น
อแมน ซุด Chief Growth Officer, ASEAN ปับลิซีส เซเปียนท์ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้นและความคาดหวังต่อบริการธนาคารของลูกค้ากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ส่งให้อุตสาหกรรมการเงินของไทยในปัจจุบันก้าวเติบโตในระดับใหม่ ในขณะที่การสร้างธนาคารไร้สาขาในรูปแบบดิจิทัลจะเป็นเส้นทางสร้างการเติบโตของธุรกิจตามที่คาดหวัง
"แต่ความจริงคือ มีหลายองค์กรมากมายที่มุ่งสร้างธนาคารไร้สาขาตั้งแต่แรกโดยไม่พิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับธุรกิจของตนเองหรือไม่ โดยเห็นว่าถ้าไม่มีแผนงานที่ถูกต้อง และสร้างประสบการณ์ของลูกค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการแล้ว องค์กรอาจจะสร้างผลกำไรได้ยาก”
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินดิจิทัลที่สำคัญ และได้ให้ความเห็นถึงรูปแบบของ Virtual bank หรือ Digital-only bank ว่าเป็นธนาคารไร้สาขา อันหมายถึงธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยไม่มีจุดให้บริการที่มีสถานที่ตั้งทางกายภาพ ซึ่งรวมถึงสาขาและตู้เอทีเอ็ม และให้บริการทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลตลอดกระบวนการของการให้บริการ แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยังจะไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินที่มีใบอนุญาตการธนาคารพาณิชย์อยู่แล้วยื่นขอใบอนุญาตธนาคารไร้สาขา แต่นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของไทย องค์กรธุรกิจที่ให้บริการเฉพาะในแนวดิ่ง รวมถึงสตาร์ทอัปที่จะพิจารณาเข้าร่วมการแข่งขันพัฒนานวัตกรรมนำผลิตภัณฑ์ หรือบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้คนได้มากขึ้นมาให้ลูกค้าได้เลือกใช้
ปกติแล้วการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง แต่ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่งนี้ ท่านไม่มีเวลามากพอที่จะรอ ดังนั้น เพลย์บุ๊กนี้จะช่วยให้ท่านสร้างธนาคารไร้สาขาและเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยขั้นตอนที่ 1 คือการระบุโอกาสของธุรกิจเติบโต และกำหนดข้อเสนอบริการที่ไม่เหมือนใครของธนาคาร
บริษัทมองว่าหัวใจสำคัญในการเปิดตัวธนาคารไร้สาขาที่ประสบความสำเร็จคือจำเป็นต้องทำความเข้าใจในตลาดและความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งจะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ชัดเจนขึ้นถึงความสามารถของตนเองในการสร้างบริการที่แตกต่าง ทั้งนี้ เมื่อท่านออกแบบโมเดลการลงทุนและสร้างแผนงานเพื่อให้คงไว้ซึ่งศักยภาพและความพร้อมในการเปิดและให้บริการแล้ว ท่านจะสามารถกำหนดลู่ทางความสามารถในการทำกำไรได้ล่วงหน้าก่อนที่จะเปิดดำเนินงานจริง และจะช่วยให้มองเห็นการตั้งเป้าหมายและการวัดผลความสำเร็จ (Objective and Key Results : OKR) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator : KPI) ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ อีกทั้งช่วยให้ท่านมุ่งไปที่การสร้างทีม และช่วยกำหนดทิศทางสำหรับธนาคารไร้สาขาได้อย่างชัดเจน
ขั้นตอนที่ 2 คือการออกแบบบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและรูปแบบการปฏิบัติงาน โดยเมื่อค้นพบแนวคิดที่เหมาะสมแล้ว ควรต้องวิเคราะห์และ "เข้าใจแนวคิดนั้นให้ถูกต้อง" อีกด้วย โดยควรต้องแปลงแนวคิดการให้บริการที่ลูกค้าต้องการ การสร้างประสบการณ์การใช้บริการที่เหมาะสมของลูกค้า และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับธุรกิจ
ขั้นตอนที่ 3 คือการสร้างความสามารถที่จำเป็นสำหรับการเปิดตัวธนาคารไร้สาขาใหม่อย่างรวดเร็ว และขั้นตอนที่ 4 เปิดบริการธนาคารไร้สาขา และวางแผนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและปรับธุรกิจ
"การเปิดบริการเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ต่อไปท่านต้องเดินหน้าเร่งความเร็ว สร้างอัตราการเจริญเติบโตให้มากขึ้น โดยท่านต้องเร่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่พัฒนาตามความคิดเห็นของลูกค้าเพิ่มขึ้นไปอีก" แถลงการณ์ทิ้งท้าย