xs
xsm
sm
md
lg

ไซเบอร์ อีลีท ผนึกภาครัฐ-เอกชนร่วมมือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มเบญจจินดา ร่วมมือภาครัฐ และเอกชนร่วมอัปเดตเทรนด์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ในงาน ‘Cyber Elite Day 2022 : Join Us on a Journey towards the Next Level of Cybersecurity’ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยได้นำเสนอโซลูชันป้องกันภัยไซเบอร์ พร้อมแนะผู้มีอำนาจตัดสินใจของทุกองค์กรให้ความสำคัญต่อการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์


ดร.ศุภกร กังพิศดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด กล่าวว่า ภัยอาชญากรไซเบอร์มีแนวโน้มมุ่งโจมตีไปยังผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น โดยใช้การโจมตีแบบ Spear Phishing หรือการโจมตีช่องโหว่ของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งไซเบอร์ อีลีท เห็นความสำคัญที่จะให้ทุกองค์กรเตรียมป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที


โดยไซเบอร์ อีลีท ได้เชิญ พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญจากหน่วยงานด้าน Cybersecurity และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาให้ความรู้แก่คนในวงการไอทีในงานสัมมนา ‘Cyber Elite Day 2022 : Join Us on a Journey towards the Next Level of Cybersecurity’ ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความตระหนัก และวางแผนการป้องกันอย่างมีระบบ


ดร.ศุภกร กล่าวว่า การรับมือกับคุกคามไซเบอร์ในวงการ Cybersecurity ไทย คือ หน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ เริ่มผลักดันด้าน Cybersecurity กว่าเดิมมาก ส่งผลให้องค์กรธุรกิจไทย โดยเฉพาะองค์กรภายใต้การกำกับดูแลและ CII เริ่มมีความตระหนักด้าน Cybersecurity มากขึ้นตาม และเริ่มมีการพัฒนา Cybersecurity Baseline ขึ้นมาเป็นแนวทางขั้นต่ำในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร หากสิ่งที่หลายองค์กรยังคงขาดอยู่ คือ การทำ Cyber Risk Management อย่างมีประสิทธิภาพ


“แม้องค์กรหลายแห่งจะตระหนักดี แต่ยังไม่รู้วิธีเริ่มต้น นับเป็นความท้าทายด้าน Cybersecurity ขององค์กรธุรกิจในปัจจุบัน เรียกได้ว่ายังขาด Cybersecurity Program ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรควรตรวจสอบเป็นระยะ มีการประเมินความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Maturity Assessment) ปีละครึ่งเป็นอย่างน้อย เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ดร.ศุภกร กล่าว

ทั้งนี้ แนวทาง Risk Management Framework NIST ว่า ต้องทำอย่างไร ซึ่งสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์เป็นประเด็นที่สำคัญ และเป็นทิศทางที่จะมาในผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ และสั่งลงมายังฝ่ายปฏิบัติการ เนื่องจากเรื่องภัยคุกคามไซเบอร์เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องให้ความสำคัญ หน่วยงานใดที่มีความเสี่ยงสูงต้องยกระดับความปลอดภัยให้สูงขึ้น รัดกุมยิ่งขึ้น เป็นนโยบายความมั่นคงปลอดภัยให้องค์กร


โดยไซเบอร์ อีลีท มีความพร้อมและข้อได้เปรียบจากการเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเบญจจินดา ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มได้ เช่น บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH บริษัท คลาวด์ เอชเอ็ม ผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งในประเทศไทยและนอกประเทศไทย รวมทั้งบริษัท เบรนเนอร์จี้ จำกัด ผู้ให้บริการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างครบวงจร

ในปี 2566 ไซเบอร์ อีลีท มีความพร้อมจะขยายไปตลาดต่างประเทศ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฝ่าย Research & Development พร้อมกับการให้บริการทุกองค์กรด้วยความหลากหลายยิ่งกว่าเดิม ภายใต้การประสานของบริษัทต่างๆ ในกลุ่มเบญจจินดา โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านงานเทคโนโลยีดิจิทัลขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ระบบต่างๆ เทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเทคโนโลยี Cloud เพื่อช่วยให้เข้าถึงลูกค้า ตอบโจทย์ทุกความต้องการอย่างแท้จริง
กำลังโหลดความคิดเห็น