แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) จับมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ NCSA บนเป้าหมายสร้างอนาคตไทยที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น หวังงานสัมมนาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
น.ส.จีนี่ ซูจีน กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ ได้กล่าวในการเปิดงานถึงภารกิจของแคสเปอร์สกี้ในการสร้างโลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่ออนาคตที่โปร่งใสและไว้วางใจได้ ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด และรักษาความปลอดภัยโดยบริษัทอย่างแคสเปอร์สกี้
“ปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลและโลกาภิวัตน์มากขึ้น แคสเปอร์สกี้เองในฐานะบริษัทได้ก้าวไปไกลกว่าห้องปฏิบัติการแอนติไวรัส และกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างแท้จริงด้วยโซลูชันและบริการด้านความปลอดภัยขั้นสูงและครบวงจร เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับ สกมช. ในการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ เพื่อสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทย และเราเชื่อว่าด้วยความสามารถด้านข้อมูลภัยคุกคามในเชิงลึกของแคสเปอร์สกี้ เราจะสามารถทำงานร่วมกันและสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับธุรกิจในท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ และประชาชนในประเทศไทย” น.ส.กัน กล่าว
งานนี้ถือเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการครั้งแรกของแคสเปอร์สกี้ กับ สกมช. ต้นเรื่องของความร่วมมือนี้มาจากเหตุการณ์ไซเบอร์ที่ซับซ้อนซึ่งส่งสัญญาณบอกถึงความท้าทายที่เฉพาะเจาะจงอย่างมากต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการโจมตีมักจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในหลายๆ ด้าน
ไม่เพียงการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่โซลูชันการรักษาความปลอดภัยยังต้องการทรัพยากรมากขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมไว้ทุกวัน องค์กรจำนวนมากต่างต้องการบริการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่สามารถจัดการกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ประเด็นนี้ทำให้แคสเปอร์สกี้ และ สกมช. ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคในหัวข้อ ‘Building a Safer Future for Thailand’ (การสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทย) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างคลังความรู้สำหรับบุคลากรผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และแบ่งปันวิธีการใช้เทคโนโลยีข้อมูลภัยคุกคาม หรือ Threat Intelligence ในการสร้างความสามารถในการป้องกันประเทศ
พล.อ.กฤษณ์ ลัยวิรัตน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เน้นถึงความสำคัญของการส่งต่อข้อมูลและการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการสร้างขีดความสามารถทางไซเบอร์ (Cyber Capacity Building Program - CCBP)
“จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์มักจะมุ่งเป้าหมายการโจมตีไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและบริษัทขนาดใหญ่ สกมช. มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อดำเนินการบูรณาการและโต้ตอบภัยคุกคาม เรามั่นใจว่าความรู้และประสบการณ์ที่จะได้รับจากการสัมมนานี้จะถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาและเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเราขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้” พล.อ.กฤษณ์ กล่าว
ด้าน พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไขเบอร์แห่งชาติ กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ว่า จะสามารถช่วยเหลือประเทศในการสร้างอนาคตที่ปลอดภัยสำหรับประเทศไทยได้อย่างไร
“การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญ เพราะทำให้เราความเข้าใจแง่มุมต่างๆ ในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ ทั้งในด้านการบริหารและทางเทคนิค ผู้บรรยายได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันล้ำค่าที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ การสัมมนาครั้งนี้นับเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทุกท่าน” พล.อ.ต.อมร กล่าว
นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวเน้นย้ำความสำคัญของการสร้างศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Operations Center - SOC) พร้อมทั้งยกตัวอย่างจริงจากทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อชี้ให้เห็นช่องว่างด้านความปลอดภัยที่สามารถแก้ไขได้โดย SOC ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลภัยคุกคามในระดับประเทศ
“ในการต่อสู้กับภัยคุกคามทางไซเบอร์ยุคใหม่ ข้อมูลภัยคุกคาม หรือ threat intelligence ควรเป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง SOC ระดับประเทศ ด้วยข้อมูลภัยคุกคามที่มีค่ากว่า 2 ทศวรรษ เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งขั้นสูง และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร โซลูชันและบริการของแคสเปอร์สกี้ขับเคลื่อนโดยข้อมูลภัยคุกคามล่าสุดจากทั่วโลก เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยให้ประเทศและองค์กรต่างๆ สามารถป้องกันตัวเองจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งนับเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนท่ามกลางสภาพแวดล้อมการคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” นายโยว กล่าวเสริม
นอกจากนี้ การสัมมนานี้ยังได้นำเสนองานวิจัยล่าสุดจากทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ (Global Research and Analysis Team - GReAT) ซึ่งมีชื่อเสียงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในการค้นพบซอฟต์แวร์อาชญากรรมระดับสูงและแคมเปญ APT ที่โด่งดังไปทั่วโลก
ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ยังได้นำเสนอความรู้อื่นภายในงาน เช่น นายคิริล โวโรซต์ซอฟ สถาปนิกด้านโซลูชันด้านความปลอดภัยระดับโลก และนายซอรับห์ ชาร์มา นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส ทีม GReAT ทั้งสองให้ความสำคัญกับแนวโน้มที่น่าจับตามอง การวิเคราะห์กลยุทธ์ที่ก้าวหน้าของผู้ก่อภัยคุกคาม และตัวการเปลี่ยนโฉมหน้าเกมอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์ภัยคุกคามในปัจจุบัน ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้