ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการเร่งนำอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน โครงการเชิงกลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรม Thailand 4.0 มุ่งเน้นการผลิตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้รับประโยชน์ด้านนี้อย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจด้านการออกแบบและการผลิตในประเทศไทยจึงเริ่มเปลี่ยนจากระบบและกระบวนการทำงานแบบดั้งเดิม หันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น จากการศึกษาของ Deloitte ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้ ระบุว่า บริษัทที่มีการเติบโตด้านดิจิทัลจะได้คุณประโยชน์หลากหลายประการจากการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ไม่ใช่เพียงเรื่องผลกำไรเท่านั้น จากการศึกษาการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลปี 2563 ของ Deloitte ยังพบว่า บริษัทที่มีความตระหนักในด้านการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลที่มากกว่าจะมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นถึง 45%
การปรับปรุงประสิทธิภาพในเวิร์กโหลดการผลิตหลัก
มาตรฐานหลัก 3 ประการของอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ ต้นทุน คุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในมาตรฐานทั้ง 3 นี้เป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด เทคโนโลยีและบริการที่ก้าวล้ำสามารถส่งผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงมาตรฐานทั้ง 3 นี้ โดยช่วยเพิ่มกำไรให้บริษัทผู้ผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทผู้ผลิตต่างหันมาใช้การประมวลผลแบบ High Performance Computing (HPC) เพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่หลากหลายภายในโดเมนการผลิต ซึ่งรวมถึงเวิร์กโหลดด้าน Computer Aided Engineering (CAE), Electronic Design Automation (EDA) และ Finite Element Analysis (FEA) ทั้งนี้ HPC จะสามารถช่วยผู้ผลิตได้ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การจำลองการออกแบบขั้นสูง ไปจนถึงกระบวนการการทำงานอัตโนมัติและการคาดการณ์ปัญหาในการบำรุงรักษา โดยมีโซลูชันหลากหลายที่มีความสามารถแตกต่างกัน สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับเวิร์กโหลดที่เฉพาะทางต่างๆ ได้ ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากโปรเซสเซอร์ AMD EPYC, โปรเซสเซอร์ AMD RyzenTM Threadripper PRO และในปัจจุบันยังมีโปรเซสเซอร์ AMD EPYCTM 7003 ที่มาพร้อมเทคโนโลยี AMD 3D V-CacheTM ได้อีกด้วย
ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังการประมวลผลบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC ช่วยมอบประสิทธิภาพและความสามารถในการปรับขนาดที่ไม่มีใครเทียบได้สำหรับเวิร์กโหลด CAE และ EDA แทบทุกขนาด โปรเซสเซอร์ AMD EPYC ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลในเวิร์กโหลดด้านการจำลองทางวิศวกรรม เช่น CAE และ EDA ด้วยการลดความหน่วงแฝงที่ส่งผลต่อไซเคิลไทม์ ซึ่งเป็นเวลาการผลิตชิ้นงานภายในหนึ่งรอบกระบวนการ ทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างดีและมีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen Threadripper PRO มอบคอร์ประมวลผลสูงถึง 64 คอร์ สำหรับการจำลองการประมวลผลแบบมัลติเธรดและการเรนเดอร์ พร้อมด้วยข้อได้เปรียบของคอร์ประมวลผลความถี่สูงสำหรับเวิร์กโหลดแบบเธรดที่ใช้ประสิทธิภาพไม่มาก ช่วยให้ธุรกิจจัดการโปรเจ็กต์การออกแบบต่างๆ ที่มีความต้องการสูงสุดได้
โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7003 ที่ยอดเยี่ยม มาพร้อมเทคโนโลยี AMD 3D V-Cache ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการประมวลผลให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น บนเวิร์กโหลดการประมวลผลทางเทคนิคตามที่กำหนดไว้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น FEA และ Computational Fluid Dynamics (CFD) หรือพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์พลศาสตร์ของไหลด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ที่อาศัยความสามารถของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่เข้ามาช่วยในการคำนวณ ดังนี้
เวิร์กโหลดด้าน CFD (วิเคราะห์พลศาสตร์ของไหลได้รวดเร็วขึ้น) : เพิ่มความเร็วการประมวลผลสูงสุดถึง 82% สำหรับงานด้านพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณบนซอฟต์แวร์ Ansys Fluent
เวิร์กโหลดด้าน FEA (การวิเคราะห์รูปแบบไฟไนต์เอลิเมนต์) : โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7773X คอร์ประมวลผล 64 คอร์ ให้ประสิทธิภาพมากกว่าในซอฟต์แวร์จำลองด้าน FEA เชิงพาณิชย์โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 44% เมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์เรือธงของคู่แข่ง
เพื่อให้เกิดสมดุลที่เหมาะสมที่สุดของต้นทุน คุณภาพผลิตภัณฑ์และผลผลิต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำธุรกิจจะต้องระบุเวิร์กโหลดต่างๆ ในกระบวนการผลิตเฉพาะ พร้อมทั้งประเมินขนาดเวิร์กโหลดที่ใช้ในแต่ละงาน และลงทุนด้านเครื่องมือของเวิร์กโหลดต่างๆ อย่างไรก็ตาม จากโซลูชันและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่มากมาย ผู้นำธุรกิจอาจสับสนได้ง่ายว่าเครื่องมือเฉพาะชนิดใดที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจเฉพาะของตน
การประเมินขอบเขตเวิร์กโหลดแต่ละงานในองค์กร จะช่วยให้ผู้นำธุรกิจสามารถระบุเครื่องมือสำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมในการดำเนินธุรกิจ ณ จุดนี้ การจ้างที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทน (ROI) อย่างมีนัยสำคัญ
CAD-IT Thailand - แนวทางการนำโซลูชันอุตสาหกรรม 4.0 ไปใช้งานให้ประสบความสำเร็จ
วิสัยทัศน์ของบริษัท CAD-IT คือ การมอบโซลูชันอุตสาหกรรม 4.0 ระดับโลกให้ธุรกิจต่างๆ ช่วยให้ลูกค้าและซัปพลายเชนบรรลุความสำเร็จด้านนวัตกรรม คุณภาพ และประสิทธิผลที่มากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ลดลงและร่นระยะเวลาในการส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น
CAD-IT ช่วยธุรกิจต่างๆ ดำเนินกิจกรรมด้านการออกแบบ วิศวกรรม การผลิต ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีขององค์กรในภาคส่วนการผลิต CAD-IT เชื่อว่าการนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างเหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจ หากธุรกิจยังต้องการอยู่ในแวดวงและการแข่งขันในระยะยาว การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและการอัปเกรดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจะเป็นการลงทุนที่จำเป็น CAD-IT เป็นบริษัทที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถช่วยลูกค้าเตรียมพร้อมสำหรับคลื่นเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
CAD-IT มีทักษะในการระบุปัญหาของธุรกิจ การเผชิญกับอุปสรรคในขั้นตอนการผลิตทั้งวงจร และสามารถนำประสบการณ์ที่ครอบคลุมในอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมด้วยความรู้ด้านแพลตฟอร์มจากเทคโนโลยีชั้นนำ มาแนะนำให้แต่ละบริษัทปรับใช้เข้ากับความต้องการของตนได้
เวิร์กสเตชัน Lenovo ThinkStation P620 ที่ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ AMD Ryzen Threadripper PRO ทำให้ CAD-IT สามารถนำเสนอแพลตฟอร์มการประมวลผลที่แข็งแกร่งพร้อมความสามารถในการประมวลผลแบบมัลติคอร์ ช่วยลดระยะเวลาในการจำลองและการเรนเดอร์ โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพการทำงานของวิศวกรให้อยู่ในระดับสูง จำนวนคอร์ประมวลผลต่อโปรเซสเซอร์และความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ตอบโจทย์การทำงาน ช่วยให้ CAD-IT เร่งความเร็วในการแก้ปัญหาสำหรับการรัน CAE ทำให้ที่ปรึกษาสามารถประเมินสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน แก้ปัญหาด้านการออกแบบต่างๆ ตลอดจนสามารถจัดหาโซลูชันที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ
ข้อควรพิจารณาอื่นๆ : ลดการใช้พลังงานและเพิ่มความปลอดภัย
แม้ว่าประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นการเจาะลึกด้านเทคนิคของอุตสาหกรรมการผลิต และบทบาทของเทคโนโลยีในการยกระดับของเวิร์กโหลดต่างๆ แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาอีกหลายประการ ซึ่งอาจนำไปสู่ความสมดุลระหว่างคุณภาพ ต้นทุน และผลผลิตที่ดีขึ้น รวมถึงการพิจารณาในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความปลอดภัย
การลดพลังงาน
ในแง่ของการลดกำลังไฟฟ้า ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านต้นทุนโดยรวม (Total cost of ownership : TCO) ของบริษัทด้วย เช่น โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7003 Series ที่มาพร้อมเทคโนโลยี AMD 3D V-Cache ที่ช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึง 30% และลดค่า CO2 ได้ประมาณ 123.53 เมตริกตัน เทียบเท่าการกักเก็บก๊าซคาร์บอนในพื้นที่ป่าของสหรัฐฯ ประมาณ 49 เอเคอร์ต่อปี นอกจากนี้ ด้วยประสิทธิภาพด้านพลังงานของโปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7003 Series ที่มีเทคโนโลยี AMD 3D V-Cache จะช่วยลดการใช้เวิร์กโหลดบนเซิร์ฟเวอร์น้อยลงถึง 30% และลดค่า TCO ลงได้ถึง 30% ในระยะเวลา 3 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่มีเทคโนโลยี V-Cache
ความปลอดภัย
การเพิ่มความปลอดภัยเป็นการลงทุนที่ต้องพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตที่มีโครงการโรงงานอัจฉริยะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ดังนั้น จึงคาดว่าความเสี่ยงด้านไซเบอร์จะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากการศึกษาของ Deloitte และ Manufacturer Alliance for Productivity and Innovation หรือ MAPI พบว่า 48% ของผู้ผลิตที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า ภัยคุกคามที่อันตรายที่สุดต่อโครงการโรงงานอัจฉริยะ คือ ความเสี่ยงในการปฏิบัติงานและความปลอดภัยทางไซเบอร์ นอกจากนี้ การศึกษายังระบุด้วยว่าบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งต่างตระหนักถึงสถานการณ์ด้านไซเบอร์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมต่างๆ ที่ใช้จัดการการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม
เนื่องจากการใช้งานโรงงานอัจฉริยะจำนวนมากยังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนและในระยะเริ่มต้น ตอนนี้จึงเป็นจังหวะเหมาะในการประสานโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้ากับโปรแกรมจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ การออกแบบ ตลอดจนการควบคุมความปลอดภัยแบบครบวงจรที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากระดับโปรเซสเซอร์ ดังนั้น การเลือกโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานจึงเป็นกุญแจสำคัญ ฟีเจอร์ AMD Infinity Guard ที่ติดตั้งอยู่ในซิลิคอนให้ความสามารถล้ำสมัยที่จำเป็นต่อการช่วยป้องกันภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอก ช่วยรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัยโดยแทบไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบ
บทสรุป
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความพยายามด้านดิจิทัลล่าช้าลงในช่วงเริ่มต้น ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงระดับโลกด้วย จากการสำรวจของ Deloittle พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2563[x] ผู้ผลิตประมาณ 38%ได้ระงับการลงทุนในโรงงานอัจฉริยะลงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของ Plex 80% ของผู้ผลิตระบุว่าโรงงานอัจฉริยะมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต[xi] ส่วนการลงทุนมีแนวโน้มจะเพิ่มไปยังภาคส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการลงทุนด้านเครื่องมือและทรัพยากรที่เหมาะสมมากกว่าที่ผ่านมา เพื่อยกระดับภาคการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายของอุตสาหกรรม 4.0