เสริมสร้างความมั่นใจให้ SMB โดยการ “เลือกใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์แท้” เพื่อปกป้องธุรกิจจากปัจจัยเสี่ยงด้วยปัจจัยของดิจิทัลทรานฟอร์เมชันที่เกิดขึ้น ทำให้องค์กรธุรกิจทุกภาคส่วนต่างมีการนำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความสะดวกในการทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (SMB) ที่มีพนักงานจำนวนไม่มาก และส่วนใหญ่ไม่มีทีมไอทีมาคอยดูแล พร้อมกับช่วยตัดสินใจในการเลือกหาอุปกรณ์มาใช้งาน โดยประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นคือ การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการแบบลิขสิทธิ์ และไปเลือกซื้อจากแหล่งต่างๆ มาติดตั้งใช้งานภายในสำนักงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้ใน 3 ส่วน ไม่ว่าจะเป็น
1.ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน
2.ข้อมูลดำเนินการธุรกิจ
3.ข้อมูลลูกค้าที่มีโอกาสจะผิดกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
จุดที่ต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยงจากการใช้งานระบบปฏิบัติการที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์ หลักๆแล้วจะมีทั้งในระดับเริ่มต้นอย่างเช่น การแฝงโฆษณาหลอกลวงที่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ใช้งานไปจนถึงความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็นการฝังมัลแวร์ที่คอยส่งข้อมูลการใช้งานออกไป คีย์ล็อกเกอร์ในการดักข้อมูลที่พิมพ์เข้าเครื่อง หรือแม้แต่โปรแกรมที่เปิดช่องให้มิจฉาชีพสามารถเข้ามาควบคุมคอมพิวเตอร์ได้ แน่นอนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พนักงาน ใช้งานต่างเป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีของผู้ไม่หวังดีอยู่แล้ว เพราะใช้ช่องโหว่ในแง่ของความประมาท หรือการไม่รู้เท่าทันของผู้ใช้มาเปิดทางให้เข้าโจมตีเพื่อโจรกรรมข้อมูลต่างๆภายในเครื่อง จนถึงการเชื่อมต่อเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทที่เก็บรักษาข้อมูลต่างๆ เมื่อถูกโจมตีจากช่องโหว่เหล่านั้น นอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงจากปัญหาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลของบริษัทหลุดออกไปแล้ว
หลังจากที่ PDPA บังคับใช้ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นในการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า ถ้าข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหลุดออกไปแล้วเกิดความเสียหายมีโอกาสที่จะถูกดำเนินการเอาผิดตามที่กฎหมายระบุไว้ทั้งทางแพ่ง และทางอาญาที่มีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน1 ล้านบาท
ระบบปฏิบัติการที่ถูกลิขสิทธิ์ลดความเสี่ยงได้อย่างไร
คำถามที่ตามมาคือถ้าใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 10 หรือ Windows 11 แบบถูกลิขสิทธิ์แล้วจะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางด้านไซเบอร์ได้อย่างไร ต้องเริ่มต้นจากการที่เมื่อเป็นโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์ทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการแอบแฝงโฆษณา หรือมัลแวร์เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดช่องโหว่ให้มิจฉาชีพโจมตีเข้ามาได้ ในขณะเดียวกันเมื่อเป็นโปรแกรมที่ถูกลิขสิทธิ์ทาง Microsoft จะมีการอัปเดตระบบรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้ช่องโหว่ต่างๆ ที่ถูกค้นพบใหม่ ถูกปิดทำให้ไม่สามารถโจมตีได้
ในกรณีที่ใช้งาน Windows 11 สำหรับองค์กรธุรกิจจะมีซอฟต์แวร์อย่าง Windows Defender Exploit Guard หรือ Windows Defender Application Control ที่สามารถช่วยปกป้องการใช้งานอีกชั้น
นอกจากนี้เมื่อใช้งานโปรแกรมลิขสิทธิ์แล้วทำให้มั่นใจได้ว่าการทำงานทุกอย่างจะลื่นไหลได้รับการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานที่จะได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ลื่นไหลไม่ถูกความผิดปกติของซอฟต์แวร์มารบกวนการทำงาน แตกต่างจากซอฟต์แวร์เถื่อนที่นอกจากจะไม่สามารถอัปเดตได้แล้ว บางทีใช้งานไปจะเกิดจอฟ้า เมื่อรวมกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในข้างต้นจะทำให้การใช้งานในภาคธุรกิจเกิดความติดขัดได้
ระวังตัวอย่างไรให้ไม่ตกเป็นเหยื่อซอฟต์แวร์เถื่อน
แน่นอนว่าปัญหาการใช้งานโปรแกรมที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์อาจไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ แต่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากปัจจุบันมีการหลอกขายโปรแกรมลิขสิทธิ์ผ่านหลายช่องทาง โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซมาร์เก็ตเพลสต่างๆ
ในเบื้องต้นทางไมโครซอฟท์ แนะนำให้ตั้งข้อสังเกตอย่างกรณีที่ราคาถูกผิดปกติให้มั่นใจได้ว่าไม่ใช่ของแท้ เนื่องจากทางไมโครซอฟท์ไม่มีการทำโปรโมชันลดราคาสินค้า โดยเฉพาะลิขสิทธิ์ของ Windows และ Office นอกจากนี้ ยังมีในกรณีที่ร้านค้าหลอกลวงด้วยการปลอมแปลงบรรจุภัณฑ์ที่เหมือนจริงและวางขายในระดับราคาใกล้เคียงของแท้ ในจุดนี้แนะนำให้เลือกซื้อจากตัวแทนจำหน่ายที่ไว้ใจได้เป็นหลัก และให้ดูเพิ่มเติมในเรื่องของแพ็กเกจว่าไม่เคยถูกเปิดมาก่อน
เมื่อเห็นถึงข้อควรระวังเหล่านี้แล้ว ก็จะทำให้ช่วยตัดสินใจเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ลิขสิทธิ์แท้ รวมถึงโปรแกรม Office แบบถูกลิขสิทธิ์ได้ โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Microsoft https://www.microsoft.com/th-th/howtotell/default.aspx?rtc=1 และตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้ หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ Email: ms-consumer@vstecs.co.th