xs
xsm
sm
md
lg

จงรับโอน-สแกนจ่าย! แคสเปอร์สกี้เผยผู้บริโภคอาเซียนชี้ SMB ควรใช้ดิจิทัลเพย์เมนต์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผลสำรวจแคสเปอร์สกี้เผยผู้บริโภคในอาเซียน 67% แนะ SMB ใช้ดิจิทัลเพย์เมนต์ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ส่วนใหญ่รับรู้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ในขณะที่ผู้บริโภคเปิดรับไลฟ์สไตล์ดิจิทัลและไว้วางใจเครื่องมือเหล่านี้ที่ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินราบรื่นและรวดเร็ว แต่ผู้บริโภคยังเริ่มตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยงของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในชีวิตส่วนตัวของตน

“ค่าใช้จ่ายของการละเมิดข้อมูลใน SMB เพิ่มขึ้น 54% แต่ด้วยการตรวจจับการละเมิดตั้งแต่เนิ่นๆ ความสูญเสียโดยเฉลี่ยจะลดลง 17% ขณะนี้ SMB อยู่ในฐานะที่จะเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้ เราไม่สามารถละเลยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคได้อีกต่อไป ซึ่งอาจทำให้ตัดสินใจนำธุรกิจของตนไปที่อื่น จึงขอแนะนำ SMB ในตอนนี้ให้ลงมือทำทันที”

แคสเปอร์สกี้ชี้ว่า ผู้ใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-finance จำนวนมากกว่าครึ่ง (67%) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (small and medium businesses - SMB) ควรเริ่มใช้การชำระเงินทางดิจิทัล (digital payment) สำหรับธุรกรรมทางการเงิน ข้อมูลนี้มาจากผลการศึกษาผู้ใช้ 1,618 คนที่ดำเนินการโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อศึกษาทัศนคติและความท้าทายของผู้ใช้การชำระเงินดิจิทัลในภูมิภาค

เซียง เทียง โยว
ตัวอย่างข้อมูลของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ผู้บริโภคในมาเลเซีย (72%) ชื่นชอบการนำระบบชำระเงินดิจิทัลของ SMB ไปใช้อย่างมาก ตามมาด้วยสิงคโปร์ (68%) และฟิลิปปินส์ (68%)

ความต้องการระบบการชำระเงินแบบไร้การสัมผัสไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสะท้อนถึงวิถีการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้น 162% หรือ 179.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 โดยการชำระเงินดิจิทัลคิดเป็น 91% ของธุรกรรมทั้งหมด ตามรายงานของบริษัทวิจัย IDC

การสำรวจได้แสดงให้เห็นความเชื่อโดยรวมของผู้ตอบแบบสอบถาม 64% ระบุว่ากระเป๋าเงินโมบายวอลเล็ตสามารถส่งเสริมธุรกิจในเชิงบวกได้ด้วยการเพิ่มรายได้ ประเทศไทยมีความเชื่อมั่นมากที่สุดกับแนวคิดนี้ (71%) ตามมาด้วยมาเลเซีย (68%) และเวียดนาม (64%)

จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการชำระเงินดิจิทัลที่ใช้บ่อยในหมู่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แอปชำระเงินมือถือ (58%) บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตผ่านแอปมือถือ (53%) บัตรเดบิต (36%) บัตรเครดิต (33%) บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ (31%)

ผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคจำนวนเกือบสามในห้า (59%) ระบุว่า ตนเองจะซื้อสินค้ามากขึ้นในร้านค้าที่รับชำระเงินทางดิจิทัล ผู้บริโภคชาวมาเลเซีย (70%) มีแนวโน้มเช่นนั้นมากที่สุด รองลงมาคือเวียดนาม (63%) และฟิลิปปินส์ (59%)

สำหรับผู้ตอบแบบสำรวจทั่วทั้งภูมิภาค เหตุผลหลัก 3 ประการที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยและสะดวกสบายในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้คือ ความสะดวก ความง่ายในการเข้าถึง และความเป็นส่วนตัว

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้ในภูมิภาคนี้ยังตระหนักถึงปัญหาที่ขัดขวาง SMB ในการเปิดรับเทคโนโลยีนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (27%) กล่าวว่า ธุรกิจในท้องถิ่นยังไม่พร้อมที่จะใช้การชำระเงินทางดิจิทัล เนื่องจากปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตและการขาดอุปกรณ์


ในประเด็นนี้ ฟิลิปปินส์เห็นด้วยสูงที่สุด (31%) รองลงมาคือเวียดนาม (30%) อินโดนีเซีย (29%) และไทย (28%) สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วมีสัดส่วนลดลง คือ มาเลเซีย (21%) และสิงคโปร์ (20%)

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ให้บริการหรือผู้ขายอีคอมเมิร์ซถูกโจมตีทางไซเบอร์ การสำรวจแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าในร้านค้าที่มีการละเมิดข้อมูลโดยทั่วไปลดลง 42%

เมื่อพิจารณาถึง SMB ทั่วทั้งภูมิภาคที่ต้องการกระแสเงินสดเพื่อพยายามฟื้นตัวหลังจากเกิดเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพที่ยาวนานกว่า 2 ปี แคสเปอร์สกี้จึงเสนอส่วนลดสำหรับ Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum พร้อมแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจ SMB ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ความปลอดภัยของเครือข่าย ระบบ และข้อมูลของบริษัทคุณลดลง การระบุและวิเคราะห์ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นสามารถช่วยให้คุณวางแผนเพื่ออุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยได้

นอกจากนี้ ควรฝึกอบรมพนักงานเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายใน โดยแนะนำให้ลงทุนเรื่องการฝึกอบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับพนักงาน ให้ความรู้ว่าควรทำอย่างไรหากได้รับอีเมลที่น่าสงสัย เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ควรอัปเดตซอฟต์แวร์อยู่เสมอ พร้อมสำรองไฟล์เป็นประจำ และปรับใช้ซอฟต์แวร์ความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง


กำลังโหลดความคิดเห็น