xs
xsm
sm
md
lg

ซีรีส์เกาหลี และอนิเมะญี่ปุ่นพลิกโฉมการเรียนภาษาในประเทศไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากความนิยมของแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งมากมายในบ้านเราอย่างเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ทำให้เกิดกระแสความนิยมในซีรีส์เกาหลี และอนิเมะจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างล้นหลาม เพิ่มเติมขึ้นจากฐานแฟนคลับเดิมที่คลั่งไคล้ และชื่นชอบการ์ตูนอนิเมะญี่ปุ่นมาอย่างเหนียวแน่นยาวนานในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังมีภาพยนตร์สัญชาติเอเชียที่คว้ารางวัลสำคัญมากมาย และกลายเป็นกระแสฮอตฮิตไปทั่วโลกขณะนี้ ความสนใจในซีรีส์เกาหลี และการ์ตูนอนิเมะญี่ปุ่นในบ้านเราจึงยิ่งพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทำให้คนไทยเริ่มสนใจอยากที่จะเรียนภาษาของซีรีส์หรืออนิเมะที่พวกเขาโปรดปรานมากขึ้นไปด้วย

ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีช่องทางมากมายให้เราได้เลือกเรียนรู้ภาษาต่างชาติ แต่แอปพลิเคชันสุดฮิตที่จะมาตอบโจทย์การเรียนภาษาของคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีคงจะเป็น ดิวโอลิงโก (Duolingo) แอปพลิเคชันที่จะทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องง่าย เข้าถึงได้มากขึ้น และที่สำคัญยังฟรีอีกด้วย โดยในปี พ.ศ.2564 แอปดิวโอลิงโก พบว่า ภาษาญี่ปุ่นกลายเป็นภาษายอดนิยมอันดับ 2 ที่คนไทยกำลังเรียนอยู่ ในขณะที่ภาษาเกาหลีได้รับความนิยมตามมาเป็นอันดับ 4 (ภาษาอังกฤษเป็นอันดับ 1 และภาษาจีนอันดับ 3)

ลูอิส วอน อาห์น ซีอีโอ และผู้ก่อตั้งดิวโอลิงโก กล่าวว่า การเรียนภาษาในสมัยก่อนมักจะต้องเข้าเรียนคอร์สเรียนที่มีราคาสูง เรียนผ่านแผ่นซีดี หรือจำเป็นต้องจ้างครูสอนพิเศษในราคาแพง ผมเติบโตในประเทศกัวเตมาลา ซึ่งเป็นที่ที่การเรียนภาษาอังกฤษสามารถเพิ่มรายได้เป็น 2 เท่า และสามารถเปลี่ยนชีวิตครอบครัวของคุณได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ

โดยสิ่งเหล่านี้อาจดูเหมือนไม่ยุติธรรมเพราะคนที่มีเงินเท่านั้นที่สามารถซื้อการศึกษาที่ดีได้ ในขณะที่ผู้คนที่มีเงินไม่มากนักแทบจะไม่มีความสามารถ และโอกาสในการเรียนรู้ที่จะอ่านและเขียนได้ โดยสิ่งนี้ได้กลายเป็นพันธกิจของบริษัทเรา นั่นคือการพัฒนาการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก และสามารถใช้ได้ในระดับสากล ซึ่งเป็นพันธกิจที่เรายังคงยึดมั่นจนถึงทุกวันนี้

กระแสความนิยม และการแผ่ขยายของซีรีส์เกาหลี และ J-Pop


ไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาซีรีส์เกาหลีได้แพร่ความนิยมไปสู่วงการบันเทิงทั่วโลก โดยเห็นได้ชัดจากในช่วงปี พ.ศ.2563 ภาพยนตร์เรื่อง Parasite (2019) เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักเรื่องแรกที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาครองได้สำเร็จ และในช่วงปี พ.ศ.2564 ซีรีส์ Squid game ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมแข่งขันท้าประลองเดิมพันความตายก็ได้รับความนิยมสูงสุดในเน็ตฟลิกซ์ ทั้งยังสร้างความประทับใจและความลุ้นระทึกให้ผู้ชมทั่วโลก รวมถึงคอซีรีส์ชาวไทยเป็นอย่างมากอีกด้วย

ในขณะเดียวกัน กระแสความหลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่นยังคงเหนียวแน่นในหมู่คนไทย โดยเฉพาะอนิเมะชื่อดังเรื่องต่างๆ ที่แฟนๆ ยังคงรอคอยตอนใหม่ในแต่ละสัปดาห์อย่างใจจดใจจ่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Demon Slayer ที่ทุบสถิติความนิยมในกลุ่มคนดูทุกช่วงอายุ ไปจนถึงอนิเมะ Attack on Titan สุดคลาสสิก

รายงานที่ตีพิมพ์โดย University Council of Modern Languages (UCML) เผยว่า ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีมากกว่าภาษารัสเซีย และเรียนภาษาญี่ปุ่นมากกว่าภาษาอิตาเลียน ซึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของวัฒนธรรมเกาหลี และญี่ปุ่นที่มากขึ้น

ดิวโอลิงโกพบว่า หลังจากการเปิดตัวซีรีส์ Squid Game ได้ 2 สัปดาห์ มีจำนวนผู้เรียนภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้นถึง 40% ทั่วโลก นอกจากนี้ ในช่วงการฉายซีซัน 2 ของอนิเมะ Demon Slayer ผู้ใช้งานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ลงทะเบียนเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 ดังนั้นยอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นของดิวโอลิงโกจึงถือเป็นเครื่องยืนยันกระแสความนิยมของซีรีส์เกาหลีและอนิเมะญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ตามรายงานของ Duolingo ในประเทศไทย ภาษาญี่ปุ่นยังได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 2 และภาษาเกาหลีอยู่ในอันดับที่ 4 บนชาร์ตการเรียนภาษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในแอป

เรียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่นบนแอปดิวโอลิงโก


ในจำนวนผู้ใช้งานดิวโอลิงโกทั้งหมด 500 ล้านคน เราพบว่าตลอดปี 2564 ที่ผ่านมามีผู้ใช้งานรายเดือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึง 65% โดยส่วนใหญ่เรียนภาษาอังกฤษ เกาหลี หรือญี่ปุ่น ข้อมูลจากแผนภูมิอันดับการเรียนภาษาบนดิวโอลิงโกแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2564 มีผู้เรียนภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้นถึง 4.6 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2563 เนื่องจากความนิยมของซีรีส์เกาหลีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และมีผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 3.4 เท่าตลอดปี 2564 เช่นกัน สถิตินี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาที่สัมพันธ์กับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของซีรีส์เกาหลีและอนิเมะจากประเทศญี่ปุ่น

เกมมิฟิเคชัน (Gamification) เรียนเล่นให้เหมือนเกม และเทคนิคการเรียนภาษารูปแบบใหม่


ผู้คนในปัจจุบันนิยมเรียนรู้ภาษาด้วยวิธีใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เห็นได้ชัดจากตัวอย่าง เช่น รายการสอนภาษาอังกฤษที่ครูลูกกอล์ฟร่วมมือกับ Netflix Thailand อย่าง LoukGolf's Netflix's English Room โดยรายการได้นำบทสนทนาจากซีรีส์ยอดนิยมต่างๆ บนเน็ตฟลิกซ์มาเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษกับครูลูกกอล์ฟ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การเรียนภาษาที่ครูสอนภาษาอังกฤษพิสูจน์มาแล้วว่าใช้ได้ผลจริง เนื่องจากการเรียนการสอนในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้เรียนในส่วนร่วมในบทเรียน แต่ยังทำให้ผู้สอนสามารถให้ความรู้ได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย ยืนยันความสำเร็จด้วยจำนวนยอดวิวคนดูใน YouTube ที่ถึงหลักล้านในแต่ละตอน

อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งเทคนิคที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาคือการใช้เกม ซึ่งทำโดยเปลี่ยนการเรียนภาษาให้เป็นเกมง่ายๆ ที่มีความสนุกเพลิดเพลิน และมีการตอบโต้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ให้ทำดิวโอลิงโกประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนการเรียนภาษาที่ยากและน่าเบื่อให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การใช้เกมมิฟิเคชันในการเรียนภาษายังช่วยให้ผู้เรียนภาษาสามารถพัฒนานิสัยการเรียนรู้ในระยะยาว และยังช่วยเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนภาษาให้กลายเป็นเรื่องน่าสนุกอีกด้วย โดยการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชันได้ผสานการเรียนภาษาที่มีความท้าทายเข้ากับการมีส่วนร่วมและความเพลิดเพลินของผู้เรียนอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น และเกาหลี ที่ขึ้นชื่อว่ายากได้อย่างง่ายดาย มั่นใจ และสนุกสนาน


กำลังโหลดความคิดเห็น