xs
xsm
sm
md
lg

“ชไนเดอร์ อิเล็คทริค” ขีดเส้น 2022 ดันไทยพ้นพิษซัปพลายเชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 สเตฟาน นูสส์ (Mr. Stephane NUSS)
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ประกาศเป้าหมายปี 2022 มุ่งสร้างศักยภาพที่โดดเด่นเหนือตลาด มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวมากขึ้นในปีนี้หลังเห็นการลงทุนหลายโครงการคึกคัก ยอมรับไทยเป็นหนึ่งในหลายตลาดของชไนเดอร์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นเพราะโควิด-19 ยืนยันลุยแก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานเต็มที่พร้อมลงทุนเพิ่มเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ

สเตฟาน นูสส์ (Mr. Stephane NUSS) ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวถึงปัญหาซัปพลายเชน (supply chain) หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่การผลิตซึ่งสร้างผลกระทบเชิงลบกับธุรกิจทั่วโลก ว่าสถานการณ์ซัปพลายเชนในระดับโลกช่วงปี 2021 ที่ผ่านมานั้นไม่ได้ดีขึ้นไปกว่าปี 2020 โดยชี้ว่าห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกนั้นได้รับผลกระทบทั้งหมดโดยเฉพาะในส่วนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีความต้องการสูงจึงทำให้เกิดการชะงักบนห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ทำให้ชไนเดอร์มุ่งมั่นดำเนินการหลายทางเพื่อให้ปัญหาต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าชไนเดอร์ในไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน

“ชไนเดอร์เป็นหนึ่งในผู้เล่นหลายหลักของโลก จึงได้เชื่อมโยงและเจรจากับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเพื่อให้ได้ชิ้นส่วนให้มากที่สุด เราจะพยายามดำเนินการอย่างเต็มที่และจัดการให้ดีที่สุดเพื่อให้ได้ชิ้นส่วนมาสู่สายการประกอบของชไนเดอร์ได้มากที่สุด นอกจากนี้บริษัทยังเพิ่มการลงทุนและเพิ่มความสามารถในการผลิตเพื่อตอบรับความต้องการที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

คำยืนยันนี้เกิดขึ้นหลังจากชไนเดอร์ อิเล็คทริคเป็นธุรกิจเทคโนโลยีล่าสุดที่ออกมาโยนบาปให้ข้อจำกัดของซัปพลายเชนจนมีผลต่อธุรกิจในภาพรวม แม้ว่าจะประกาศตัวเลขรายได้กระฉูด 28,900 ล้านยูโร (ราว 1,056,898 ล้านบาท) สำหรับผลประกอบการทั้งปี 2021 โดยสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น 7% เป็น 7.9 พันล้านยูโร ในไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 12.7% จากปีก่อนหน้า

ยอดขายชไนเดอร์ อิเล็คทริคเเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2021 คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นราว 13% จากปีก่อนหน้า
นอกจากปมซัปพลายเชน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งการันตีตัวเองเป็นผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ปี 2022 ที่มุ่งไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการช่วยให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยร่วมกันต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปด้วยกัน ผ่านเส้นทางในการก้าวสู่การปฏิรูปทางดิจิทัลที่สอดคล้องกับเป้าหมายและความมุ่งมั่นด้านสภาพอากาศขององค์กรต่างๆ เพื่อให้บรรลุความยั่งยืน โดยจะเน้นเดินหน้าต่อไปในการผลักดันเศรษฐกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) โดยการเร่งให้องค์กรธุรกิจและองค์กรด้านอุตสาหกรรม ก้าวสู่การปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล ขจัดก๊าซคาร์บอน และปฏิรูปทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการสร้างผลงานในตลาดประเทศไทยได้อย่างโดดเด่น

“ที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเชื่อว่าระบบไฟฟ้าคือพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด และเมื่อระบบไฟฟ้ามาบรรจบกับระบบดิจิทัล ก็จะเป็น ระบบไฟฟ้า 4.0 ที่จะนำเสนอแนวทางใหม่ในการกระจายพลังงาน มองเห็นสถิติการใช้พลังงาน และนำไปสู่การประหยัดพลังงานในที่สุด ซึ่งอนาคตคือ ระบบไฟฟ้าสู่ “ความเป็นศูนย์” การสูญเสียพลังงานเป็นศูนย์ การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ เรากำลังสร้างโลกพลังงานใหม่ ด้วยการนำเสนอการใช้พลังงานด้วยระบบอัจฉริยะให้แก่ ที่พักอาศัย อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรม ระบบโครงสร้าง และกริด” สเตฟาน นูสส์ กล่าว

สเตฟานคาดว่าจะมีการใช้ระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในการใช้พลังงานแบบผสมผสานภายใน 20 ปีข้างหน้า ดังนั้น โลกจะกลายเป็นระบบไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อใช้ระบบไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อขจัดคาร์บอน ควบคู่ไปกับการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อสร้างประสิทธิภาพ ก็จะช่วยนำพาธุรกิจและองค์กรต่างๆ ในทุกภาคส่วนไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

สอดคล้องตามผลการศึกษาจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และ GreenBiz Research ที่ว่า หลายองค์กรที่มีการบริหารจัดการเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง องค์กรเหล่านี้จะได้รับผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่สูงกว่าองค์กรที่ไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้ถึง 67 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ การวิจัยล่าสุดจากสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ยังเผยให้เห็นว่า บริษัทที่มุ่งเน้นกลยุทธ์ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม จะมีอัตราการเติบโตประจำปีอยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์


ในบทบาทของการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลเพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืนให้กับลูกค้า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อ ซอฟต์แวร์ ระบบวิเคราะห์ และบริการ เพื่อช่วยขจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการดำเนินการให้กับลูกค้าในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคสาธารณูปโภค อาคาร อุตสาหกรรม และดาต้าเซ็นเตอร์ อีกทั้งช่วยปรับปรุงการใช้สินทรัพย์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีระบบนิเวศที่แข็งแกร่งทั้งในส่วนของพันธมิตร ตัวแทนจำหน่าย และอื่นๆ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต ในแง่ของอาคารอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการติดตั้งโครงการ 5G เช่นกัน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้นำเสนอแนวทาง 3 ขั้นตอนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ด้านความยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์ ไปจนถึงการดำเนินการ เพื่อมอบผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพอากาศตามความมุ่งมั่นขององค์กรเหล่านั้น ซึ่งแนวทาง 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวางกลยุทธ์เพื่อกำหนดสถานภาพปัจจุบัน, การปรับสู่กระบวนการดิจิทัล เพื่อตรวจสอบทรัพยากรทั้งหมดที่ใช้ และการดำเนินการตามแผนงาน เพื่อดำเนินการตามแผนทั้งหมดและนำไปสู่การขจัดคาร์บอนในที่สุด

สเตฟาน นูสส์ เชื่อว่าในปีนี้ ซอฟต์แวร์ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักในการมอบประสิทธิภาพให้กับลูกค้า ด้วยความร่วมมือกันของผลิตภัณฑ์ด้านซอฟต์แวร์ระบบเปิดจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และบริษัทซอฟต์แวร์อิสระชั้นนำของโลก จะช่วยปรับกระบวนการทำงานด้านพลังงานและระบบอัตโนมัติเป็นดิจิทัล โดยมอบศักยภาพในการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างราบรื่น ตลอดทั่วทั้งวงจรการทำงาน ตั้งแต่การออกแบบ การสร้างไปจนถึงการดำเนินการและการดูแลรักษา

จุดเด่นของโซลูชันซอฟต์แวร์นี้คือการช่วยให้การทำงานสมบูรณ์สอดรับกับความต้องการใช้งานของลูกค้าที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยขจัดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการทั้งใน ดาต้าเซ็นเตอร์ อาคาร อุตสาหกรรม และระบบโครงสร้างพื้นฐาน

   ในส่วนตลาดไทย ชไนเดอร์ อิเล็คทริคพบการลงทุนมากขึ้นในโครงการหลากหลาย ทั้งสมาร์ทซิตี้ อุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจรถไฟฟ้า ธุรกิจอาหาร โรงงานอัจฉริยะ
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังวางแผนมุ่งเน้นช่วยลูกค้าในการกำหนดและเลือกข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อสร้างแนวทางสู่การปฏิรูปและปรับเปลี่ยนกระบวนการเป็นระบบดิจิทัล ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากระบบอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด กระบวนการนี้ต้องร่วมมือกันจากซัพพลายเชนทั้งระบบ จากแหล่งผลิตต้นทางไปยังฟาร์ม จนถึงโรงงานและต่อไปยังผู้ค้าปลีก จนถึงผู้บริโภค เพื่อส่งมอบคำมั่นสัญญาเรื่องความโปร่งใสของที่มาให้กับผู้บริโภคปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ในหลายปีที่ผ่านมา เราได้ซื้อกิจการจากผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์หลายรายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในด้านซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมอย่าง Aveva และ ETAP สำหรับลูกค้าที่ใช้ระบบไฟฟ้าเป็นหลัก และซอฟต์แวร์ RIB สำหรับอาคาร เป็นต้น พันธกิจของเราคือการทำให้ซอฟต์แวร์ทั้งหมดผสานรวมการทำงาน เพื่อมอบประสบการณ์ที่ครบวงจรในแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์ให้กับลูกค้าในตลาด และแน่นอนซอฟต์แวร์ทั้งหมดนี้สามารถเชื่อมต่อกับโซลูชัน IoT และผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อของเรา เพื่อให้ประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น” สเตฟาน นูสส์ กล่าว

ในส่วนตลาดไทย ชไนเดอร์ อิเล็คทริคพบการลงทุนมากขึ้นในโครงการหลากหลาย ทั้งสมาร์ทซิตี้ อุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจรถไฟฟ้า ธุรกิจอาหาร โรงงานอัจฉริยะ นอกจากนี้ บริษัทยังเห็นการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ของบริษัทโทรคมนาคมมากขึ้น ซึ่งหลายบริษัทต้องดีไซน์ศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืน เพื่อให้ตอบความต้องการได้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริควางกลยุทธ์สำหรับตลาดไทยคือการทำงานอย่างใกล้ชิดใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี โดยเน้นนำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาลดต้นทุนให้กับลูกค้า ด้านการปรับกระบวนการและด้านบุคลากร เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

“เรามองเห็นโอกาส เห็น 10 เอสเคิร์ฟใหม่ของไทย เศรษฐกิจไทยในภาพรวมน่าตื่นเต้นมาก เชื่อว่าไทยจะเป็นคีย์ลีดเดอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่แค่ปีนี้ แต่หลายปีต่อจากนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ท้าทายมากขึ้นโดยเฉพาะในวงการเทคโนโลยีเช่น IoT ซึ่งชไนเดอร์มีเทคโนโลยีสนับสนุนทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดล้วยเห็นโอกาสมากขึ้น”

  เมื่อถามถึงกลยุทธ์หลักในตลาดไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในช่วงปีนี้ของชไนเดอร์ สเตฟานชี้ว่าส่วนที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน
สำหรับปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศยูเครนและรัสเซีย ชไนเดอร์ อิเล็คทริคปฏิเสธไม่ให้ความเห็นในเชิงวิพากษ์แต่ระบุว่าส่งกำลังใจให้ทั้งสองฝ่าย โดยสิ่งที่บริษัทมองว่าสำคัญที่สุดคือการจับตาสถานการณ์ตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถตอบความต้องการลูกค้าได้เร็วที่สุดในทุกด้าน

ในส่วนโอกาสในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ชไนเดอร์เชื่อว่าโอกาสทางธุรกิจของตัวเองนั้นสูงมากโดยปี 2030 ไทยมีเป้าหมายจะผลิตรถยนต์ 30% เป็น EV จะเป็นโอกาสใหญ่มากของชไนเดอร์ใน 3 ด้าน ทั้งด้านการผลิตหลอดไฟฟ้า การผลิตแบตเตอรี่ และการจัดตั้งสถานีชาร์จพลังงานโดยทั้ง 3 ส่วนมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยชไนเดอร์สามารถช่วยให้ผู้ผลิตรถ พลิกเปลี่ยนสายพานการผลิตมาเป็นรถไฟฟ้าได้ ขณะเดียวกันก็มีโซลูชันการผลิตอัจฉริยะ (smart manufacturing) และมีโซลูชั่นสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าโดยสนับสนุนได้ทั้งภาครัฐและเอกชน

เมื่อถามถึงกลยุทธ์หลักในตลาดไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในช่วงปีนี้ของชไนเดอร์ สเตฟานชี้ว่าส่วนที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน เนื่องจาก 2 ส่วนนี้มีผลต่อทุกเซกเมนท์ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ตั้งแต่การจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ การจัดการการขนส่งสาธารณะบริโภค ทุกส่วนเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำได้เมื่อใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วย

“การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับพันธกิจ 2 ด้าน ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มีการประกาศความมุ่งมั่นด้วยคำปฏิญาณด้านคาร์บอน เพื่อเร่งเปลี่ยนสู่ Net Zero Carbon หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ให้ได้ภายในปี 2030 โดยบริษัทฯ จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้ได้ภายในปี 2025 เพื่อมุ่งมั่นสู่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน สำหรับการดำเนินการในทางสังคม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มุ่งมั่นในการสร้างศักยภาพให้กับคนทำงานในทุกรุ่นและทุกภูมิภาค อีกทั้งสร้างความมั่นใจว่าบริษัทฯ ได้มอบโอกาสที่ทัดเทียมให้กับทุกคน”

ผู้บริหารชไนเดอร์ทิ้งท้ายถึงความเชื่อมั่นว่าปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของลูกค้า จุดนี้ผู้บริหารชี้ว่าองค์กรควรมองเม็ดเงินที่ใช้จัดหาโซลูชั่นเพื่อความยั่งยืนว่าเป็นการลงทุน ไม่ใช่ต้นทุน เนื่องจากการลงทุนจะมีผลตอบแทน ส่วนตัวจึงอยากให้มองว่า การลงทุนเพื่อความยั่งยืนนั้นไม่ได้เป็นเพียงค่าใช้จ่าย เนื่องจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริม DNA เป็นหน้าที่ที่จะทำให้องค์กรพัฒนามากขึ้น และลดการใช้พลังงานลง.




กำลังโหลดความคิดเห็น