xs
xsm
sm
md
lg

Digital Dialogue กระตุ้น PDPA ไทย เปิดตัวโซลูชัน Big Data รับลูก พ.ร.บ.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สุทธิพงษ์ คุรุหงษา
ดิจิตอล ไดอะล็อก (Digital Dialogue) แพลตฟอร์มและให้บริการโซลูชันอัจฉริยะ เปิดตัวซอฟต์แวร์โซลูชันหวังช่วยองค์กรไทยยกระดับการจัดการด้านการกำกับดูแลและความปลอดภัยของข้อมูล การันตีเข้าใจภาษาไทย เหมาะสำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในธุรกิจค้าปลีก การผลิตและธุรกิจเฮลท์แคร์

นายสุทธิพงษ์ คุรุหงษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดิจิตอล ไดอะล็อก จำกัด กล่าวว่า เพื่อพร้อมรับกับหน้าที่ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่จะต้องไม่เกิดการละเมิดกฎด้านความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งในการเตรียมพร้อมปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีระบบธรรมาภิบาลข้อมูลของตนเพื่อ “หาและรักษา” ข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ personal identifiable information (PII) และมีกระบวนการรักษาความปลอดภัยข้อมูลดังกล่าวที่เหมาะสม ทั้งนี้ CBI Data Govern และ CBI Data Security เป็นแพลตฟอร์มแบบไฮบริดที่มาพร้อมซอฟต์แวร์โซลูชันที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลทุกรูปแบบ

"เพื่อช่วยในการดำเนินการ เราได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้าน PDPA ในไทยเพื่อนำเสนอบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นจุดเปลี่ยนของการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรและทุกธุรกิจจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 เป็นต้นไป”

ดิจิตอล ไดอะล็อก เชื่อว่าระหว่างที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ของไทยกำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ โซลูชันใหม่ CUBIKA Big Insights for Intelligent Data Governance & Security ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ จัดการความปลอดภัยของข้อมูลและแน่ใจได้ว่ามีการกำกับดูแลข้อมูลที่ดี

จุดมุ่งหมายหลักของโซลูชันนี้คือการสร้างมาตรฐานที่ดี มีคุณภาพและความปลอดภัยให้การจัดการข้อมูลขององค์กร เพื่อเพิ่มปรับมุมมอง ลองสิ่งใหม่และสร้างสรรค์วิธีการจัดการข้อมูลในโลกที่มีความซับซ้อนของข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย และสอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สำหรับ CUBIKA Big Insights for Intelligent Data Governance & Security ประกอบด้วย CBI Data Govern และ CBI Data Secure โดย CBI Data Govern ช่วยให้องค์กรจัดระเบียบ ทำความเข้าใจ รวมศูนย์ข้อมูล และรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลให้มีคุณภาพสูงและถูกต้อง ช่วยให้องค์กรสามารถค้นพบและใช้ข้อมูลที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็วโดยอิงตามกฎ นโยบาย และความรับผิดชอบต่างๆ ของแต่ละองค์กรในแพลตฟอร์มหนึ่งเดียว

จุดเด่นของ CBI Data Secure ยังอยู่ที่การแจ้งเตือนเจ้าของข้อมูลและผู้ประมวลผลแบบเรียลไทม์ในกรณีที่ข้อมูลรั่วไหล การทำข้อมูลนิรนามหรือ data anonymization เพื่อไม่ให้สามารถระบุข้อมูลส่วนบุคคลได้ และการปิดบังข้อมูลแบบไดนามิก (dynamic data masking) เพื่อป้องกันข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ในระบบ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตามบทบาทหน้าที่ (Role-based access) พร้อมการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องตามสิทธิ นำไปใช้โดยอัตโนมัติกับบทบาทของผู้ใช้

CBI Data Govern และ CBI Data Secure จะทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อในการสร้างรากฐานขององค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ด้วยโซลูชันการกำกับดูแลข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยสามารถทำงานได้อย่างดี ทั้งบนคลาวด์ และติดตั้งในสถานที่ของเจ้าของระบบ (on-premises) หรือเป็นโซลูชันแบบไฮบริด (ทั้งสองรูปแบบผสมกัน) โดย CUBIKA Big Insights for Intelligent Data Governance and Security เป็นซอฟต์แวร์และโซลูชันแรกของไทยด้านการกำกับดูแลและความปลอดภัยของข้อมูลที่โฮสต์บน Azure Marketplace และ AppSource ของ Microsoft

สุทธิพงษ์ กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ Digital Dialogue ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มและโซลูชันแบบรวมศูนย์สำหรับการจัดการและรวบรวมคุกกี้และการยินยอมสำหรับองค์กรที่เรียกว่า CBI Consent โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะปฏิบัติตาม PDPA และรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า

"ด้วยความสามารถในการประมวลผลและเข้าใจภาษาไทยแบบธรรมชาติ Thai Natural Language Processing (NLP) ใน CUBIKA Big Insights ช่วยให้องค์กรระดับเอ็นเตอร์ไพรส์เข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลภาษาไทยได้ ทำให้สามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนั่นหมายความว่าระบบค้นหาแบบ cognitive search เข้าใจข้อมูลและความต้องการหรือจุดประสงค์ในการค้นหาได้เร็วขึ้น และให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแก่ผู้ใช้ CUBIKA Big Insights Intelligent Data Governance & Security ช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามข้อบังคับภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยให้สามารถจัดการการเข้ารหัสข้อมูลที่รัดกุม ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยข้อมูลตามบทบาท (role-based) เพื่อจัดการการเข้าถึงข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับบทบาทและความเกี่ยวข้องของผู้ใช้ในองค์กรนั้นๆ"

สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ของไทย (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 โดยกำหนดให้บริษัทต่างๆ จัดการและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนครอบครองอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎระเบียบและแสดงความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ในการสำรวจเมื่อปี 2563 โดยไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ คูเปอส์ (pwc) องค์กรระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ของไทยระบุว่า มีการนำกระบวนการทางธุรกิจใหม่ไปใช้ (46%) มีการตีความข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (38%) และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (36%) ซึ่งองค์กรเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายหลักที่ต้องเผชิญในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

“ธุรกิจไทยจำเป็นต้องปรับเข็มทิศ คิดมุ่งเน้นในการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยที่ข้อมูลได้รับการจัดระเบียบและมีการจัดการอย่างชาญฉลาด ปลอดภัย และพร้อมนำไปใช้ในการสร้างมูลค่าให้ธุรกิจอย่างเหมาะสม สิ่งนี้จะช่วยให้องค์กรต่างๆ มีขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลโดยยังเป็นไปตามกฎระเบียบและข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ด้วย” สุทธิพงษ์ คุรุหงษา ทิ้งท้าย


กำลังโหลดความคิดเห็น