xs
xsm
sm
md
lg

ดีป้าเปิดช่องหารายได้ของคนรุ่นใหม่ ไม่ต้องลงทุนกับดี-สเตชั่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดีป้ามองหานักขาย-เจ้าของกิจการรุ่นใหม่ เปิดทางสู่ตัวแทนขายบริการดิจิทัล เกิดอาชีพใหม่สร้างงานในท้องถิ่น เริ่มนำร่องก่อน 8 จังหวัด

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้าเตรียมเปิดดี-สเตชั่น หรือ “ร้านสะดวกซื้อบริการดิจิทัล” ซึ่งถือเป็นการเปิดช่องทางในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการธุรกิจตัวกลาง (เอเยนต์) ในการให้บริการดิจิทัล โดยจะหาผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สตาร์ทอัป แต่เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาทำหน้าที่เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัปและผู้ให้บริการดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนกับทางดีป้า เช่น บริการแอปพลิเคชันคิวคิว และจะได้รับส่วนแบ่งจากยอดขายบริการดิจิทัลเหล่านี้ เป็นการช่วยทำให้เกิดอาชีพใหม่ และเกิดการลงทุนในพื้นที่ โดยในช่วงเริ่มต้นจะเปิดนำร่องใน 8 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ กลาง อีสาน และภาคใต้

สำหรับแนวความคิดนี้เกิดมาจากการที่ดีป้าได้ลงพื้นที่ในต่างจังหวัด พบว่า มีผู้สูงอายุต้องการใช้งานดิจิทัลต่างๆ จำนวนมาก แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ใช้งานแบบไหน จึงเห็นความจำเป็นในเรื่องนี้ต้องมีคนแนะนำ ประกอบกับดิจิทัลสตาร์ทอัป ที่ดีป้าสนับสนุนให้เกิดสินค้าซอฟต์แวร์ต่างๆ ยังไม่มีจุดกระจาย หรือช่องทางการนำเสนอบริการในพื้นที่ห่างไกล การผลักดันให้คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่อาจจะมีธุรกิจอยู่แล้ว เช่น ร้านกาแฟ หรืออาจจะเริ่มต้นทำธุรกิจอื่นที่มีหน้าร้านอยู่แล้ว จะนำบริการดิจิทัลไปขายพ่วงด้วย น่าจะเป็นการง่ายที่สุดในการทำให้ทั้งคนขายและคนใช้วินวินทั้งคู่ คนขายได้ส่วนแบ่งรายได้จากการขาย และผู้ใช้งานกได้ประโยชน์จากการได้เรียนรู้และนำสินค้าซอฟต์แวร์ไปพัฒนาสินค้าชุมชนหรือธุรกิจชุมชนของตนเอง

เบื้องต้น แต่ละจังหวัดที่เป็นโครงการนำร่องนั้นจะมีประมาณ 2 ร้านต่อจังหวัด คนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นตัวแทนต้องเข้ารับการอบรมและเปิดโซนภายใต้แบรนด์ดี-สเตชั่น ในร้านของเขาเอง เพื่อให้ลูกค้าที่เดินมาสนใจและเชื่อถือเพราะเป็นแบรนด์ที่มาจากดีป้าโดยตรง ข้อดีของโครงการนี้คือ สินค้าและบริการจะสามารถเข้าถึงประชาชนที่สนใจโดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่เมืองรองให้สามารถเลือกเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจของตนเองได้ นั่นเอง

“เราเล็งไปที่คนรุ่นใหม่ เพราะด้วยพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่มีความคุ้นเคยเทคโนโลยี และมีการใช้งานดิจิทัลอยู่แล้ว และปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากหันมาขายของออนไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ค้าขายของเก่งอยู่แล้ว เช่น มีการไลฟ์ขายของออนไลน์ เราไม่ได้ให้เขาลงทุนอะไรเพิ่มแต่ให้เขาช่วยขายของให้เราและแบ่งรายได้กัน ส่วนแบ่งรายได้จะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์นั้นขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละรายการ”


กำลังโหลดความคิดเห็น