xs
xsm
sm
md
lg

มองอนาคตคลาวด์ไทยผ่านสายตาเอสเอพี-สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ความร่วมมือระหว่างเอสเอพี และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
เปิด 3 ประเด็นหลักในโลกไอทีที่จะสร้างความท้าทายให้องค์กรภาครัฐในยุค New Normal พบการปรับกลยุทธ์องค์กรสู่การใช้งานคลาวด์ ความท้าทายในการจัดการข้อมูลขององค์กรที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้น และความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร โดย โควิด-19 ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้องค์กรภาครัฐหันไปใช้เทคโนโลยีคลาวด์มากขึ้นและเปลี่ยนไปใช้งานอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Digital Transformation จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และนายกสมาคม Cloud Security Alliance (Thailand Chapter) กล่าวว่า ความซับซ้อนของการทำ Digital Transformation ทำให้องค์กรภาครัฐไม่สามารถให้บริการประชาชนได้เต็มที่หรือตอบสนองได้รวดเร็วเท่าที่ควรอย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการใช้งานระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น และเทรนด์การทำงานจากระยะไกลเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้องค์กรภาครัฐหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์และใช้นโยบาย Cloud First มากขึ้น

“ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีคลาวด์ในอาเซียน สำหรับประเทศไทยเองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้ง Cloud Security Alliance (CSA) และสร้างมาตรฐานระบบคลาวด์ เช่น Certificate of Cloud Security Knowledge (CCSK) สำหรับวิศวกรที่ทำงานเกี่ยวกับระบบคลาวด์ และ/หรือมีความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ การพัฒนาในแง่มุมดังกล่าวส่งผลให้เทคโนโลยีคลาวด์ถูกนำไปใช้ในองค์กรภาครัฐในประเทศมากขึ้น” ดร.ศักดิ์ กล่าวเสริม

ประเด็นเหล่านี้ได้ถูกเปิดเผยในงานสัมมนาล่าสุด จัดขึ้นโดยเอสเอพี ในหัวข้อ “Cloud Transformation สำหรับองค์กรภาครัฐในยุค New Normal” โดยมีตัวแทนจากองค์กรภาครัฐในประเทศไทยเข้าร่วมสัมมนา เพื่อหารือเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กรภาครัฐของไทยในการย้ายไปใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ทั้งนี้ หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์มีมากกว่าข้อเสีย แม้จะยังมีความกังวลด้านอธิปไตยของข้อมูล หรือ Data Sovereignty เมื่อหันมาใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด
เอสเอพีย้ำว่า เทคโนโลยีคลาวด์เป็นทางเลือกสำหรับองค์กรภาครัฐมายาวนาน โดยเฉพาะเมื่อเห็นองค์กรภาคเอกชนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ในการผลักดันให้องค์กรเติบโตได้อย่างรวดเร็วและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดจากบริษัท Gartner ระบุว่าการใช้จ่ายบนคลาวด์ในประเทศไทยสามารถเติบโต 28.2% จาก 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 34.4 พันล้านบาทในปี 2565 ดร.ศักดิ์ ชี้ให้เห็นว่า เทรนด์ดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางการใช้งานคลาวด์ในไทยที่องค์กรภาครัฐหลายแห่งเห็นประโยชน์ในการนำคลาวด์มาใช้มากขึ้น “คลาวด์มีประโยชน์หลายประการแก่องค์กรภาครัฐ ช่วยให้การใช้งบประมาณของภาครัฐคุ้มค่ามากขึ้น เนื่องจากสามารถเลือกแพกเกจจ่ายตามการใช้งานจริงได้ นอกจากนี้ ความสามารถของคลาวด์ในการปรับขนาดได้อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนที่มากขึ้น จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาบริการที่ดีขึ้นแก่ประชาชน

"ที่สำคัญ องค์กรภาครัฐสามารถย้ายไปยังคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย การจัดทำงบประมาณในการใช้งานคลาวด์ที่เคยเป็นอุปสรรค ขณะนี้มีกฎระเบียบในการเบิกจ่ายงบประมาณด้านคลาวด์แบบออนดีมานด์ที่รองรับไว้ในประเทศไทยอีกด้วย"

สำหรับข้อควรพิจารณาสำคัญสำหรับการใช้งานคลาวด์ เอสเอพีเชื่อว่าแม้เทคโนโลยีคลาวด์จะมีประโยชน์หลายประการ แต่ข้อกังวลหลักๆ ที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเมื่อเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คือ อำนาจอธิปไตยของข้อมูลพลเมือง ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ในงานสัมมนา นาวาอากาศเอกอมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ จึงได้ตอกย้ำถึงปัจจัยสำคัญที่องค์กรภาครัฐควรพิจารณาก่อนจะย้ายไปใช้งานคลาวด์ ซึ่งรวมไปถึงกลยุทธ์ในการย้ายไปใช้งานคลาวด์ ความพร้อมขององค์กรในแง่เครื่องมือต่างๆ รวมถึงบุคลากร ธรรมาภิบาลและความปลอดภัย การจัดการโครงการในเชิงโลจิสติกส์และการติดตั้งใช้งาน

เพื่อตอบข้อกังวลในด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว นาวาอากาศเอกอมร แนะนำว่าในปัจจุบัน มีโซลูชันคลาวด์หลากหลายที่สามารถเซ็ตระดับการจัดการและการควบคุมความเป็นส่วนตัวได้ องค์กรภาครัฐเพียงแค่ต้องหาผู้ให้บริการคลาวด์ที่เหมาะสมที่จะช่วยติดตั้งและให้คำแนะนำตรงนี้ได้ อีกประเด็นหนึ่งคือ บริการด้านคลาวด์ต่างๆ ที่เลือกใช้นั้น ต้องมีมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านความเป็นส่วนตัวและมาตรฐานในประเทศของ CSA

นาวาอากาศเอกอมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
สำหรับหลายองค์กรที่เริ่มเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์โดยมักจะพึ่งพาผู้ให้บริการระบบคลาวด์เพียงอย่างเดียว นาวาอากาศเอกอมร ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า แทนที่จะเน้นพึ่งผู้ให้บริการอย่างเดียว องค์กรภาครัฐควรเตรียมทีมเฉพาะภายในองค์กรที่จะต้องรับผิดชอบในบางประเด็น เช่น การจัดการด้านความปลอดภัย ข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน และการจัดประเภทข้อมูล ที่สำคัญก่อนการนำระบบคลาวด์ไปใช้จริง องค์กรควรเตรียมแนวทางการจัดการระบบคลาวด์และแผนพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรเพื่อให้เข้าใจการใช้งานคลาวด์

“เมื่อเราเตรียมความพร้อมในเชิงปฏิบัติ องค์กรต่างๆ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการย้ายไปใช้งานคลาวด์ และได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่” นาวาอากาศเอกอมร กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับโซลูชันที่ช่วยให้องค์กรภาครัฐเริ่มต้นใช้งานคลาวด์ได้ง่ายดายคือ “RISE with SAP” โดยพบว่าบริษัทเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซต่างหันมาใช้งานคลาวด์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์สำหรับลูกค้าและเพิ่มรายได้ เช่นเดียวกับองค์กรภาครัฐที่กำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ เทคโนโลยีใหม่ๆ และนวัตกรรมที่ก้าวล้ำจะทำให้องค์กรภาครัฐทำงานได้โดยอัตโนมัติและใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้คาดการณ์อนาคตได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยพลิกโฉมรูปแบบการให้บริการและสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

เอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการเอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า
เอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวว่า องค์กรภาครัฐต้องประสบกับแรงกดดันในด้านงบประมาณและทรัพยากรที่จำกัด ในขณะที่ความต้องการของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง การมีเครื่องมือดิจิทัลสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและทำให้ระบบมีความซับซ้อนน้อยลงนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โซลูชัน RISE with SAP คือแพกเกจที่คิดค้นมาสำหรับองค์กรที่อยากเริ่มต้นใช้งานคลาวด์ โดยให้บริการแบบ subscription และเหมาะกับการใช้งานในทุกอุตสาหกรรมหรือสายธุรกิจ องค์กรต่างๆ สามารถเลือกที่จะเริ่มต้นและออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กรของตนได้”

“ในด้านความปลอดภัย โซลูชันของเอสเอพีทั้งหมดรวมถึง “RISE with SAP” เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 27001 เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ที่สำคัญเรายังมีทางเลือกสำหรับการโฮสต์ข้อมูลในประเทศตามความต้องการขององค์กรภาครัฐ และสามารถเลือกใช้งานคลาวด์ของพาร์ตเนอร์ของเรา เช่น AWS, Microsoft Azure และ Google Cloud เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการใช้บริการคลาวด์จะเป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดของภาครัฐในประเทศไทย” เอทูล กล่าวเสริม

ด้วยการปรับปรุงและเปลี่ยนระบบให้ทันสมัยเมื่อเปลี่ยนมาใช้งานคลาวด์ องค์กรจะให้บริการด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจะถูกตัดออกไป และสร้างขีดความสามารถใหม่ให้พนักงานในการโฟกัสกับงานที่สำคัญขององค์กร นอกเหนือจากประโยชน์ในเชิงประสิทธิภาพแล้ว การใช้คลาวด์ในการจัดการข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน จะช่วยให้องค์กรได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ดีขึ้น ทำให้การตัดสินใจในการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

การย้ายไปยังระบบคลาวด์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีความจำเป็น ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในแง่มุมหนึ่งเท่านั้น หลังจากการปรับใช้งานคลาวด์แล้ว คาดว่าภาครัฐจะหันมาใช้งานเทคโนโลยี AI และ IoT ในอัตราที่สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและปรับปรุงบริการสำหรับประชาชนต่อไป สิ่งสำคัญคือ องค์กรภาครัฐในประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์การย้ายไปใช้ระบบคลาวด์พื้นฐาน โดยเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ และค่อยๆ เพิ่มเสกลในระดับใหญ่ขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น