xs
xsm
sm
md
lg

Dyson เผยผลสำรวจมลพิษในกรุงเทพฯ กระตุ้นคนไทยหันมาดูแล และควบคุมการสัมผัสมลพิษ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Dyson รวมข้อมูลสภาพอากาศจากเครื่องฟอกอากาศภายในบ้านผู้ใช้งานในกรุงเทพฯ กว่า 4,000 ราย พร้อมข้อมูลจากกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ที่ใช้ตรวจสอบสภาพอากาศภายนอกอาคาร เผยในไทยช่วงหมอกควันหนากระทบต่อการใช้ชีวิตของคนไทย

อเล็กซ์ น็อกซ์ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศของ ไดสัน กล่าวว่า จากการพัฒนาเซ็นเซอร์อัจฉริยะของทีมพัฒนาเพื่อเก็บข้อมูล และอัลกอริทึมในการประมวลผลข้อมูลมลภาวะที่ตรวจจับได้ ทำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ทั้งภายในอาคาร นอกอาคาร

โดยข้อมูลหลักจากการสำรวจจะมาจาก กระเป๋าสะพาย Dyson Air Quality Backpack ใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ปี 2563 และอีกครั้งในเดือนมกราคมปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงฝุ่น PM2.5 หนาแน่นในกรุงเทพมหานคร


ภายใน Dyson Air Quality Backpack ได้นำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ในเครื่องฟอกอากาศของ Dyson มาพัฒนาและติดตั้งในกระเป๋าเป้ที่พกพาง่าย ทำให้สามารถวัดค่าคุณภาพอากาศได้ในขณะเดินทาง เพียบพร้อมด้วยแผงเซ็นเซอร์ แบตเตอรี่ และระบบ GPS

จากการเปรียบเทียบคุณภาพอากาศใน 2 ช่วง ค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศในช่วงที่ 2 ที่เป็นช่วงฝุ่นหนาวัดค่าได้มากกว่าถึง 9 เท่า โดยในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนที่มีอากาศเย็นที่ฝุ่นควัน PM2.5 หนาแน่น ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งไอเสียจากยานยนต์ สภาพอากาศ ควันจากโซนอุตสาหกรรม รวมไปถึงควันจากกิจกรรมทางการเกษตร


นอกจากนั้น กิจกรรมในแต่ละวันยังส่งผลต่อการเพิ่มของค่ามลพิษในอากาศด้วย ตัวอย่างเช่นการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ทำให้ค่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ NO2 สูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 50 เท่า ซึ่งถือเป็นคุณภาพอากาศในระดับแย่มาก เมื่อเทียบกับดัชนีวัดค่าคุณภาพอากาศของ Dyson โดยสาเหตุการเกิดไนโตรเจนไดออกไซด์อาจจะมาจากไอเสียจากยานยนต์

แม้ขณะที่ขับรถยนต์อยู่ภายในห้องโดยสาร ก็ยังสามารถวัดค่า PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound: VOCs) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากการเบรกรถยนต์และการสึกของยางรถยนต์ที่ถึงแม้จะอยู่ภายในห้องโดยสารก็ยังสามารถสัมผัสกับมลพิษจากทางนี้ได้

ในบางกรณีสาเหตุจากมลพิษมาจากภายในอาคารได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการทำอาหาร หรือแม้แต่การไหลเวียนของอากาศที่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย รวมไปถึงเมื่อเปิดประตูหรือหน้าต่างทำให้อากาศภายนอกซึ่งมีฝุ่น PM2.5 ไหลเข้ามาในบ้าน

แม้ในช่วงนอนหลับ ค่ามลพิษในอากาศยังคงที่อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและไม่ได้ลดลงในช่วง 10 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 2 เท่า ซึ่งสาเหตุเกิดจากการไหลเวียนของอากาศที่น้อยเกินไปทำให้มลพิษเกิดการสะสมภายในบ้าน

โดยรวมแล้วแสดงให้เห็นว่าจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในรูปแบบต่างๆ ทำให้สภาพอากาศในกรุงเทพฯ มีมลพิษมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าปัจจุบันเครื่องฟอกอากาศมีความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้งานภายในบ้านมากขึ้น เพื่อฟอกอากาศภายในอาคารให้ดีที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น