ให้การสนับสนุนและร่วมมือกับภาครัฐและภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตโรคโควิด-19 รวมทั้งช่วยเหลือประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด กลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนการพัฒนาแอป CHIVID เพื่อช่วยแพทย์ติดตามอาการและดูแลรักษากลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าระบบ HI และ CI รวมทั้งในโรงพยาบาลสนาม แบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างดียิ่ง
ด้วยแนวคิด “เพราะทุกชีวิตมีความหมาย” กลุ่ม ปตท. ร่วมเป็นพลังดูแลสังคมในห้วงวิกฤต ได้สนับสนุนสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) สร้างแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า CHIVID เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับใช้ในการติดตามอาการและดูแลรักษากลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) กักตัวในชุมชน (Community Isolation : CI) และโรงพยาบาลสนาม
ทั้งนี้ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ได้จับมือกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ บริษัท เมดเอนไซ จำกัด (Medensy) ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชัน CHIVID นี้ขึ้นมา โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นคือ เป็นระบบอำนวยความสะดวกในการเฝ้าระวังและติดตามสังเกตอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ในระยะทางไกล โดยแอปพลิเคชันผ่านการออกแบบและปรับปรุงให้มีความสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ป่วยเพื่อส่งข้อมูลเข้าระบบ และระบบคัดกรองอาการโดยใช้ AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลก่อนการวินิจฉัยโดยแพทย์ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแบ่งเบาภาระของแพทย์ได้อย่างดี
จุดเด่นของแอปพลิเคชันนี้คือมีฟังค์ชันอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์มากมาย เช่น มีระบบการจัดระเบียบคนไข้ที่สามารถแยกผู้ป่วยตามทีมรักษาหรือพื้นที่รับผิดชอบได้เพื่อให้ดูแลและติดตามผู้ป่วยได้ง่าย มีระบบแจ้งเตือนไปยังแพทย์และทีมดูแลทันทีเมื่อผู้ป่วยมีผลอาการที่แย่ลง และยังมีฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกแพทย์อื่นๆ เช่น พิมพ์เวชระเบียน ออกใบรับรองแพทย์ สั่งและบันทึกสถานะของการจัดส่งยาและอุปกรณ์ อีกทั้งยังมีหน้า dashboard ที่ใช้สำหรับดูภาพรวมผู้ป่วยในแต่ละวันวันต่อวันได้อีกด้วย
ในส่วนของผู้ป่วยก็สามารถใช้งานได้ง่ายๆ สะดวกสบายไม่แพ้กัน สามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน LINE ตั้งแต่การลงทะเบียน การส่งข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษา ข้อมูลอาการป่วยรายวันผ่านแบบฟอร์มที่ง่ายต่อการกรอกข้อมูล เพียงถ่ายรูปค่าจากหน้าจอ pulse oximeter รุ่นอะไรก็ได้ ซึ่งระบบมีการนำ AI-base feature ชื่อ PACMAN เข้ามาช่วยในการแปลผลภาพถ่ายเป็นตัวเลขให้อัตโนมัติพร้อมคำแนะนำ การมี AI เข้ามาช่วยในการกรอกข้อมูล ช่วยให้ง่ายต่อการอัปเดตอาการป่วยรายวัน อีกทั้งยังช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการประมวลผลข้อมูลผู้ป่วยอีกด้วยมีระบบแจ้งเตือนไปยังแพทย์แล้วถ้าหากผู้ป่วยคนไหนส่งความคืบหน้าอาการมา แล้วอาการไม่ดีระบบก็จะแจ้งเตือนไปยังแพทย์และทีมดูแลทันที และยังมีฟังก์ชันอื่นๆ เช่น พิมพ์เวชระเบียนเพื่อใช้เบิกจ่าย ออกใบรับรองแพทย์ สั่งและบันทึกสถานะของการจัดส่งยาและอุปกรณ์ อีกทั้งยังมีหน้า dashboard ที่ใช้สำหรับดูภาพรวมผู้ป่วยในแต่ละวันวันต่อวันได้อีกด้วย
แอปพลิเคชัน CHIVID ได้รับ Cloud Credits จาก Amazon AWS, Microsoft Azure และมีการนำไปใช้ติดตามดูแลผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน กักตัวในชุมชน และโรงพยาบาลสนาม เช่น โรงพยาบาลกระทุ่มแบน โรงพยาบาลบางปะกง โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อย่างไรก็ดี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ Medensy มีความตั้งใจที่จะเพิ่มขีดความสามารถของแอปพลิเคชันดังกล่าวให้สูงขึ้นไปอีก ด้วยการพัฒนาโมเดล AI ให้สามารถคัดกรองและติดตามผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ บนแอปพลิเคชัน CHIVID เช่น ฟีเจอร์ “วิดีโอการหายใจของผู้ป่วย” ที่จะช่วยประมาณค่าอัตราการหายใจจากคลิปวิดีโอแบบอัตโนมัติ ฟีเจอร์ “ข้อมูลสัญญาณชีพ” (Vital Sign) ของผู้ป่วยในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และทำนายอาการของผู้ป่วยว่ามีแนวโน้มที่จะดีขึ้นหรือแย่ลงภายในจำนวนกี่วัน ฟีเจอร์ “ข้อมูลการ label” สถานะของผู้ป่วยจากแพทย์ ที่เก็บข้อมูลการตัดสินใจและประสบการณ์ของแพทย์เพื่อนำมาพัฒนาระบบการเปลี่ยนสถานะของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น รวมไปจนถึงฟีเจอร์ “ข้อมูลการจ่ายยาโดยแพทย์” เพื่อนำมาสร้างระบบแนะนำการสั่งยาสำหรับบุคลากรทางแพทย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์
ท่ามกลางการทุ่มเทอย่างหนักของบุคลาการทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ต้องยอมรับว่า แอปพลิเคชัน CHIVID คืออีกหนึ่งตัวช่วยซึ่งเข้ามาแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างน่าชื่นชม
นอกจากนั้นแล้ว แอปพลิเคชันตัวนี้ยังมีศักยภาพที่สามารถจะพัฒนาการทำงานให้มีประโยชน์ใช้งานในระบบการดูแลสุขภาพของประเทศได้อย่างกว้างขวาง โดยการต่อยอดให้ AI สร้างโมเดลทำนายสำหรับการวินิจฉัยโรคเพื่อพัฒนา Remote Health Monitoring ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยในอนาคต