วีเอ็มแวร์ (VMware) พบแบรนด์ค้าปลีกในอาเซียนจะอยู่รอดได้ด้วยแผนสร้างประสบการณ์และความยั่งยืน เผยผลสำรวจนักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ดิจิทัลซื้อสินค้าแบบก้าวกระโดด โดย 41% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ายังช้อปสินค้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ไม่ได้ไปหน้าร้าน สถิติชี้ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชอบซื้อสินค้ากับผู้ค้าปลีกที่รู้ความชอบส่วนตัว (54%) ใช้เทคโนโลยีเสมือน (63%) และปัญญาประดิษฐ์ (70%) ขณะที่”ความยั่งยืน”กลายเป็นความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ค้าปลีก โดย 43% ของผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเงินให้กับสินค้าและบริการกลุ่มพรีเมี่ยมที่มีนโยบายการลดใช้คาร์บอน
นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำ VMware ประเทศไทย กล่าวว่าการแพร่ระบาดเป็นตัวเร่งให้อุตสาหกรรมค้าปลีกก้าวเข้าสู่ประสบการณ์ดิจิทัล นำไปสู่การพลิกโฉมในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคอย่างถาวร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธุรกิจกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ 'จะยอมแพ้หรือสู้ต่อ' ด้วยการนำประโยชน์จากนวัตกรรมล้ำสมัย เช่น คลาวด์และโมเดิร์นแอป มาใช้ เพื่อกำหนดวิธีที่แบรนด์เชื่อมต่อกับลูกค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หรือยอมเสี่ยงที่จะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง
“นอกเหนือจากการทำให้แน่ใจว่าพวกเขากำลังส่งมอบบริการดิจิทัลที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและไร้รอยต่อแล้ว แบรนด์ค้าปลีกยังต้องมุ่งเน้นไปที่การลดช่องว่างในการดำเนินงานทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ นำเสนอประสบการณ์ omnichannel ที่เหนือกว่า เพื่อให้สามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตได้ ที่ VMware เรามุ่งมั่นจะช่วยให้แบรนด์ค้าปลีกปรับปรุง และเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้ทันสมัยและแข็งแกร่ง เพื่อให้สามารถปลดล็อกประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบใหม่ที่ปฏิวัติวงการสำหรับผู้บริโภคได้”
รายงานของ VMware, Inc. เปิดเผยว่า บริการและข้อเสนอการค้าปลีกดิจิทัลที่สมจริงและยั่งยืนช่วยพลิกวิกฤติอุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่โอกาส แต่รากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดนวัตกรรมการค้าปลีก ตลอดระยะเวลาการระบาดครั้งใหญ่ ผลการศึกษา VMware Digital Frontiers 3.0 เปิดเผยว่า 41% ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงช้อปปิ้งได้ไม่สะดุดเสมือนไปช้อปหน้าร้าน เนื่องผู้บริโภคจำนวนมากเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้ค้าปลีกเพื่อสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งที่มีความเป็นส่วนตัวสูง นวัตกรรมที่เน้นความเป็นส่วนตัวและเหมาะสมกับการค้าปลีก เช่น ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีเสมือนจริง จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่ง (54%) ชอบซื้อของกับร้านค้าปลีกแฟชั่นที่รู้รสนิยมและความชอบส่วนตัวว่าพวกเขาต้องการอะไร เช่น รู้ไซส์เสื้อผ้า แนะนำสีโปรด และราคาที่รับได้ ขณะที่ 63% ของผู้บริโภคเปิดรับประสบการณ์ใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง ตัวอย่างเช่น ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงลองสินค้ามีลักษณะอย่างไร หรือสินค้าจะพอดีกับพื้นที่ที่ต้องการหรือไม่ และมากกว่าสองในสาม (70%) เชื่อมั่นว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางสังคมในอีกห้าปีข้างหน้า โดยที่ 64% ของผู้บริโภคระบุว่าจะออกจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันหากปัญหาที่พบเจอไม่ได้รับกาสรแก้ไข (เช่น แชทบอท, ไลฟ์แชท และโทรศัพท์) และอีก 41% จะออกจากเว็บผู้ค้าปลีกและหันไปเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือแอปของแบรนด์คู่แข่งหากไม่สามารถเสนอการส่งมอบสินค้าได้ภายใน 1-2 วันหลังจากสั่งซื้อ
ร้านค้าที่มีหน้าร้านหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับข้อจำกัด เนื่องจากการล็อกดาวน์ภายใต้การระบาดใหญ่ ซึ่งผลักดันให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ในขณะที่ 61% ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พอใจที่ได้มีส่วนร่วมประสบการณ์ดิจิทัลกับร้านค้าปลีก แต่ 60% พร้อมที่จะหันไปช้อปแบรนด์คู่แข่งหากประสบการณ์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจ: สหรัฐฯ (50%) เยอรมนี (40%) ฝรั่งเศส (36%) และสหราชอาณาจักร (51%) ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (57%) รู้สึกตื่นเต้นกับบริการดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยียุคหน้า ซึ่งรวมถึงคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ และโมเดิร์นแอปพลิเคชัน โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้อุตสาหกรรมค้าปลีกเร่งสร้างนวัตกรรมและมอบประสบการณ์การค้าปลีกแบบองค์รวมและปลอดภัยยิ่งขึ้น ให้กับนักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสำรวจพบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และกำลังพยายามใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (carbon-neutral) โดย 43% ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีจะจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับสินค้าและบริการที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะไม่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ และมากกว่าครึ่ง (55%) จะหยุดการมีส่วนร่วมกับบริษัทหรือซื้อสินค้าจากแบรนด์ หากพวกเขาไม่เปิดเผยนโยบายด้านจริยธรรมของตนต่อสาธารณะ
กลุ่มตัวอย่าง 63% บอกว่าต้องการใช้บริการดิจิทัลมากขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ไม่ต้องขับรถไปซื้อของที่ร้านค้า สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลให้การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลและความยั่งยืนในธุรกิจค้าปลีก โดยได้ประกาศคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอันเป็นหนึ่งในสี่วัตถุประสงค์หลักของโมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0
อีก 70% ของผู้บริโภคในประเทศไทยยินดีใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อเก็บประสบการณ์ของผู้บริโภคนำไปจำลองว่าสินค้ามีลักษณะอย่างไร หรือมีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างไร ขณะที่ 57% ยินดีที่จะจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับสินค้าและบริการจากผู้ค้าปลีกที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์เป็นศูนย์ และ 73% ต้องการใช้บริการดิจิทัลมากขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ขับรถไปร้านค้าให้น้อยลง
การสำรวจพบว่าแบรนด์ต้องสร้างให้ผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจ ถึงจะได้รับความภักดี ในขณะที่สมรภูมิการค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินไปในรูปแบบเสมือนจริง ผู้บริโภคมีความไว้วางใจสูงขึ้นกับแบรนด์ค้าปลีก ที่มีระบบดิจิทัลที่ช่วยปรับแต่งประสบการณ์การช้อปปิ้งของพวกเขาให้โดนใจมากยิ่งขึ้น จุดนี้พบว่ากว่าครึ่งของผู้บริโภค (53%) รู้สึกสบายใจและตื่นเต้นที่เปิดให้ผู้ค้าปลีกเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของพวกเขา เพื่อรับประสบการณ์และข้อเสนอที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งสูงกว่าผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา (24%) เยอรมนี (34%) ฝรั่งเศส (20%) และสหราชอาณาจักร (18%) ขณะที่มากกว่าสองในสาม (68%) รู้สึกสบายใจและตื่นเต้นกับการใช้เทคโนโลยีแบบรีโมท สนทนากับผู้ค้าปลีกแบบเสมือนจริง ซึ่งไม่ต่างจากประสบการณ์หน้าร้าน
อย่างไรก็ดี มีผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียง 36% ที่เชื่อมั่นว่าร้านค้าปลีกจะรับรองความปลอดภัยของข้อมูลของพวกเขา สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนของร้านค้าปลีกในภูมิภาค ที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น โดยสร้างความโปร่งใสกับผู้บริโภคและสร้างแนวทางการรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือพร้อมปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งานจากผู้ไม่หวังดี.