เปิดผลวิจัย 3E - Experience, Expertise และ Execution ของไอดีซีและซิลเวอร์เลค พบภาคธนาคารทรานส์ฟอร์มสู่ต้นแบบใหม่ใน 6 รูปแบบเพิ่มมากขึ้น ส่วนจะเป็นรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น แรงกระตุ้น ความเร่งด่วน ความสำคัญ ความท้าทาย และระดับความเสี่ยงที่ธนาคารยอมรับได้ ประเมินการทรานส์ฟอร์มของธนาคาร 40% เกิดความล้มเหลว เนื่องจากติดปัญหาทางเทคนิค และปัญหาด้านคน และการบริหารโครงการ
นายแอนดริว ตัน กรรมการผู้จัดการ ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส ให้ความเห็นว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยหลักที่เร่งการทรานส์ฟอร์มระบบคอร์แบงกิ้งในภูมิภาคอย่างชัดเจน เวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมในการประเมินระบบคอร์แบงกิ้งที่ใช้งานอยู่ กำหนดบิสิเนสโมเดลใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต และรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน ธนาคารต่างๆ ในภูมิภาคต่างอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงระบบ เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานบริการธนาคารที่คล่องตัว รวดเร็ว และเชื่อมโยงถึงกัน ตามที่เน้นย้ำในรายงาน ภารกิจสำคัญที่มุ่งเน้นไปที่ '3E' เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ
"นี่คือจุดที่ ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส นำคุณค่ามาสู่อุตสาหกรรมได้ทันที เพราะซิลเวอร์เลคดำเนินธุรกิจ และมีความรู้เชี่ยวชาญด้านภาคบริการทางการเงินมามากกว่า 30 ปี และมีความสามารถในการดำเนินโครงการทรานส์ฟอร์มระบบคอร์แบงกิ้งที่ซับซ้อน และลดความเสี่ยงให้ธนาคารอย่างไม่มีใครเทียบได้"
ผลวิจัยข้อมูลเชิงลึกภาคการเงินของไอดีซี (IDC Financial Insights) รายงานไว้ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าโลกจะได้เห็นการทรานส์ฟอร์มระบบคอร์แบงกิ้งครั้งใหญ่ใน 6 ต้นแบบ โดยงานวิจัยนี้ ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส จำกัด (SAL) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ได้ว่าจ้างให้ไอดีซีเป็นผู้จัดทำ ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และบริการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ มุ่งเน้นด้านบริการทางการเงินและการบริการ โดยลูกค้า 40% เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสำรวจพบว่า ดิจิทัลแบงก์รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าการลงทุนคอร์แบงกิ้งในช่วงแรกจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2564-2566 โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีธนาคารที่ก้าวสู่การทำทรานส์ฟอร์มโดยปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมมาสู่ธนาคารดิจิทัลแบบใหม่เกิดขึ้นสูงถึง 100 แห่ง ในเอเชียแปซิฟิก และธนาคารเหล่านี้จะริเริ่มออกบริการไมโครเซอร์วิส และมีการเชื่อมต่อช่องทางใช้งานแอปพลิเคชัน (API) เข้ากับระบบคอร์แบงกิ้ง
นอกจากนี้ จะมีการสร้างช่องทางและการมีส่วนร่วม คาดว่าภาคธนาคารมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์ช่องทาง และระดับของการมีส่วนร่วมสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล การให้ความสำคัญกับ “สุขอนามัยทางดิจิทัล” (digital hygiene) คือ การตรวจเช็กระบบความปลอดภัยของผู้ใช้งานทั่วไป โดยการใช้ช่องทางติดต่อใช้งานแอปพลิเคชัน (API) แบบเฉพาะทาง และการทำดิจิทัลแร็ปเปอร์ (digital wrapper) ซึ่งการทำแบบนี้จะได้รับประโยชน์ในระยะสั้น แต่ทว่า จะทำให้เกิดการสร้างหนี้ทางเทคนิค (Technical Debt) และความไม่คล่องตัว
การสำรวจพบว่ามีการเลือกใช้โมดูลการทำงานมาแทนที่ระบบเดิม โดยภาคธนาคารต่างๆ จะเลือกใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้วเป็นโมดูลมาใช้งาน ดังนั้น ภาคธนาคารจะเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นมาปรับใช้สำหรับระบบคอร์แบงกิ้งด้วย เพื่อที่ว่าในอนาคต ธนาคารจะสามารถปรับปรุงการระบบคอร์แบงกิ้งได้ตลอดเวลา เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมา เช่น คลาวด์ การกำหนดข้อมูลประจำตัว และจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ แต่ในระหว่างนี้ภาคธนาคารจะเลือกขึ้นระบบแบบดิจิทัลแร็ปเปอร์เพื่อการเติบโตต่อไป
ขณะเดียวกัน การยกเครื่องครั้งใหญ่ก็จะเกิดขึ้น เชื่อว่าโครงการทรานส์ฟอร์มธนาคารสู่ดิจิทัล เป็นโปรเจกต์ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารค่อนข้างมาก มีความเสี่ยง และธนาคารจำเป็นต้องดำเนินการ ทีมบริหารกำลัง 'เดิมพันธนาคาร' เพราะเป็นโครงการที่ใช้เวลาดำเนินการยาวนาน และทำอะไรไม่ได้มากนักในช่วงของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ การจะดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จได้นั้น คณะกรรมการและผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานต้องทำงานไปในทิศทางเดียวกัน สอดรับกับงบประมาณและการปรับเปลี่ยนเชิงเทคนิค
ที่สำคัญ การแสวงหาต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะเป็นหลักให้ธนาคารที่ต้องการขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพต่อต้นทุน ธนาคารกลุ่มนี้จะย้ายปริมาณงานหลักไปยังแพลตฟอร์มคลาวด์ หรือคลาวด์เนทีฟ รวมระบบแพลตฟอร์มเดิมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยปลดหนี้ทางเทคนิคออกไปส่วนหนึ่ง พร้อมกับสร้างขีดความสามารถใหม่บนบริการดิจิทัล ทั้งนี้ การผลักดันธนาคารให้เป็นลีนแบงก์ได้นั้นต้องยอมแลกกับความไม่คล่องตัวในช่วงสั้นๆ
ทั้งหมดนี้นำไปสู่ธนาคารอัตโนมัติ เพราะธนาคารต่างๆ คาดหวังว่าจะทำให้ขั้นตอนต่างๆ มีความคล่องตัวและดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะทำให้เกิดประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลที่มีคุณภาพดีเพียงพอ เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ
ในภาพรวม จากข้อมูลของไอดีซี พบว่า 40% ของการทรานส์ฟอร์มระบบคอร์แบงกิ้งล้มเหลว เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การส่งมอบระบบงานที่ไม่สมบูรณ์ การสูญเสียความมั่นใจ การใช้จ่ายเกินงบประมาณไปอย่างมาก ประสิทธิภาพการดำเนินงานลดลง และลูกค้าผิดหวังจากการใช้บริการ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากเหตุผลทางเทคนิค และบุคคล หรือโครงการ
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า หากมีความร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม การทรานส์ฟอร์มของธนาคารจะประสบความสำเร็จ และมีความก้าวหน้า จากปัจจัยหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย Experience, Expertise และ Execution หรือจะเรียกว่า ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการดำเนินการ
ไซรัส ดรุวาลา กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริการทางการเงินและฟินเทค ของไอดีซี กล่าวว่าเกือบทุกธนาคารล้วนมีแผนที่จะย้ายระบบการบริการลูกค้าสู่ดิจิทัล สร้างระบบนิเวศและทำให้เกิดกระบวนการอัตโนมัติทั้งภายในและภายนอก เพื่อสร้างความพร้อมในอนาคต ปัจจัยความสำเร็จอันดับหนึ่งของธนาคาร คือ ขีดความสามารถของธนาคารเอง และร่วมมือกับผู้ให้บริการโซลูชันคอร์แบงกิ้ง ธนาคารจำเป็นที่จะต้องเลือกคู่ค้าที่มีประวัติการทำระบบคอร์แบงกิ้ง (Core Banking System - CBS) มาอย่างยาวนานมากในเอเชีย
"ผู้ที่มีประสบการณ์ในองค์กร และระบบคลาวด์เนทีฟ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งใช้งาน ดังคำกล่าวที่ว่า “โซลูชันก็ดี การติดตั้งก็สามารถทำได้” ธนาคารควรต้องมองหาผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการติดตั้งสำเร็จ เพื่อให้ธนาคารสามารถรีเฟรชระบบ หรือทรานส์ฟอร์มระบบคอร์แบงกิ้ง (CBS) ได้อย่างประสบผลสำเร็จ"