ทำไมการทดสอบฟีเจอร์ใหม่อย่าง “ฟลีตส์" (Fleets) ถึงทำให้ผู้คนลุกขึ้นมาไวัอาลัยเครือข่ายสังคมในดวงใจอย่างทวิตเตอร์ด้วยแฮชแทค #RIPTwitter? บทสรุปของเรื่องนี้คืออะไร? การทดสอบครอบคลุมพื้นที่ไหน? คำตอบขอเริ่มที่แนวคิดหลักของ Fleets ซึ่งเป็นที่มาของเสียงบ่นระงมบนโลกโซเชียล
Fleets นั้นเป็นฟีเจอร์ที่ถูกมองว่าถอดแบบบริการอย่างสตอรี่ของอินสตาแกรม (Instagram Stories) โดยทวิตเตอร์ประกาศว่า Fleets เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถโพสต์ทวีตที่จะลบทิ้งอัตโนมัติใน 24 ชั่วโมง คำว่า Fleets มาจากคำว่า fleeting ที่แปลว่าหายวับไป รวมกับคำว่า tweet ที่ใช้เรียกข้อความบนแพลตฟอร์ม โดยข้อความใน Fleets จะไม่สามารถรีทวีตหรือรับฟีดแบคจากผู้ใช้สาธารณะได้ โดยจะต้องโต้ตอบกับ Fleets ผ่านไดเร็กต์แมสเสจหรือข้อความส่งตรงเท่านั้น
Fleets จะถูกเปิดอ่านได้ด้วยการแตะที่ไอคอนของผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจาก Fleets จะไม่ปรากฏบนไทม์ไลน์ ตามข้อมูลจากหัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทวิตเตอร์ “เคย์วอน เบย์กพัวร์" (Kayvon Beykpour) พบว่าวันนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมากรู้สึกไม่สบายใจในการทวีต เนื่องจากหวั่นใจว่าทุกคนสามารถเห็นทวีตนั้นและตอบกลับได้ ดังนั้นทวิตเตอร์จึงตัดสินใจที่จะ “จัดการกับความวิตกกังวลนั้น” โดยทดลองเปิดให้ผู้ใช้ลิ้มรสคุณสมบัติใหม่นี้
We’ve been listening to this feedback and working to create new capabilities that address some of the anxieties that hold people back from talking on Twitter. Today, in Brazil only, we’re starting a test (on Android and iOS) for one of those new capabilities. It’s called Fleets. pic.twitter.com/6MLs8irb0c
— Kayvon Beykpour (@kayvz) March 4, 2020
ขณะนี้ ทวิตเตอร์กำลังทดสอบ Fleets เฉพาะในบราซิล โดยกำหนดที่กลุ่มผู้ใช้ระบบปฏิบัติการทั้งแอนดรอยด์และไอโอเอส อย่างไรก็ตาม การประกาศนี้ทำให้เกิดความโกลาหลบนทวิตเตอร์ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และผู้ใช้หลายคนโจมตีฟีเจอร์นี้ด้วยแฮชแท็ก “#RIPTwitter” เพราะผิดหวังที่ทวิตเตอร์เดินตามเครือข่ายโซเชียลที่เปิดตัวฟีเจอร์แบบลบตัวเองอัตโนมัติไปช่วงก่อนหน้านี้
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายคนรู้สึกว่า แทนที่จะทดสอบฟีเจอร์ลบทวีตอัตโนมัติ ทวิตเตอร์ควรให้ความสนใจกับคุณสมบัติอื่นที่ผู้ใช้อยากได้มานาน เช่น ปุ่มแก้ไขข้อความ ซึ่งยังไม่พร้อมใช้งานบนแพลตฟอร์มเสียทีทั้งที่โลกหมุนเข้าสู่ทศวรรษใหม่แล้ว ทำให้ทวิตเตอร์ถูกโจมตีร้อนแรงและเหน็บแนมเจ็บปวด เห็นได้ชัดจากทวีตเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดการแชร์ต่อแฮชแท็ก #RIPTwitter ในวงกว้าง
Fleets are a way to share fleeting thoughts. Unlike Tweets, Fleets disappear after 24 hours and don’t get Retweets, Likes, or public replies-- people can only react to your Fleets with DMs. Instead of showing up in people’s timelines, Fleets are viewed by tapping on your avatar. pic.twitter.com/sWwsExRLcJ
— Kayvon Beykpour (@kayvz) March 4, 2020
Everyone: can we get an edit button?
— yas (@Adoomies2) March 5, 2020
Twitter: No but y’all can have stories #RIPTwitter pic.twitter.com/UJWnJLHqC4
All.....we.....wanted....was....an...EDIT BUTTON‼️#RipTwitter
— The Virgin God🙏🏾😇😈 (@RayBeenImmortal) March 4, 2020
Twitter Users: Can we please get a edit button..
— Matt Ayd (@MattAyd) March 5, 2020
Twitter: We’re proud to announce story features! #RIPTwitter pic.twitter.com/KdOwtCwaYA
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ไว้อาลัยให้ทวิตเตอร์อาจไม่ได้แปลว่าทวิตเตอร์จะเปลี่ยนใจ เพราะที่ผ่านมา การต่อต้านลักษณะนี้มักเกิดขึ้นเวลาที่ทวิตเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น การเพิ่มจำนวนความยาวของข้อความทวีต ก็เคยถูกต้านว่าจะลดทอนธรรมชาติของทวิตเตอร์ลงไป แต่ทวิตเตอร์ไม่สนใจและเดินหน้าเปลี่ยนแปลงซึ่งประสบความสำเร็จดีในทุกวันนี้
สำหรับครั้งนี้ ผู้บริหารทวิตเตอร์รู้ดีว่าผู้คนจะมองว่าคุณสมบัตินี้ดูเหมือนอินสตาแกรมสตอรี่ แต่ยินยันว่าจะมีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้ Fleets ในแต่ละประเทศเกิดความแตกต่างที่เหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละสังคม ซึ่งจะโฟกัสให้ผู้ใช้ได้แบ่งปันความคิดอย่างอิสระมากขึ้นแน่นอน
I know what you're thinking: “THIS SOUNDS A LOT LIKE STORIES!”. Yes, there are many similarities with the Stories format that will feel familiar to people. There are also a few intentional differences to make the experience more focused on sharing and seeing people’s thoughts. pic.twitter.com/OaGYZpChcN
— Kayvon Beykpour (@kayvz) March 4, 2020
Every day, people come to Twitter to see what’s happening. One of the unique things about Twitter is that “what’s happening” is fueled by people sharing their thoughts openly, through Tweets. But sharing your thoughts publicly can be intimidating! 🧵
— Kayvon Beykpour (@kayvz) March 4, 2020
เอาใจช่วยนะทวิตเตอร์!!