xs
xsm
sm
md
lg

“ผู้จัดการ” จัดงานเสวนา “กระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ผู้จัดการ” จัดงานเสวนา “กระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน” วันที่ 25 ก ย. 2562 ณ กสทช.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันถกปัญหาสำคัญของ 5G ประเทศไทย ว่าเหตุใดจึงไปไม่ถึงฝัน โดย “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง “อเล็กซานดรา ไรซ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ดีแทค และ “จรีพร จารุกรสกุล" ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (25 ก.ย.) มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “กระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน” โดยเว็บไซต์ MGR Online ในเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา ภายในงานได้รับเชิญจาก พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวเปิดงานในครั้งนี้ ณ อาคารหอประชุม กสทช. เพื่อร่วมหาทางออก โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง, คุณอเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และนางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ยังเป็นไปตามแผนทั้งหมดไม่คลาดเคลื่อน โดยจะมีการจัดสรร 2600 700 เมกะเฮิรตซ์ 26-28 กิกะเฮิรตซ์ เริ่มกระบวนการประมูล 2563 ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ การเปิดได้ปลายปี 2563 ได้ เดินตามโรดแมปที่พูดไว้โดยตลอด ประเทศอื่นขยับโรดแมปมาเร็วขึ้น เดิมคิดว่า 5G สามารถใช้งานได้ปลายปี 2563 ต้นปี 2564 จะสามารถเปิด 5G บางพื้นที่ก่อน เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โลจิสติกส์ แต่จากการประชุมเอทีอาร์ซี เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ สิ่งที่รายงานต่อที่ประชุม จะเปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2563 ญี่ปุ่น จีน จะเปิดในงานโอลิมปิกเดือน ก.ค. 2563

ดังนั้นจะต้องขยับโรดแมปขึ้นมาเร็วขึ้น ทำเกินดีกว่าทำขาด หากขยับได้ ให้เริ่มใช้งานได้ ก.ย.-ต.ค. 2563 หมายความว่าประเทศเราเดินหน้าได้เร็วกว่า นักลงทุนไม่ย้ายฐาน หากไม่เกิดได้รับผลแน่นอน ทั้งภาคอุต ที่ต้องลดตันทุนการผลิต ทำให้นักลงทุนต้องย้ายฐานไปอยู่ประเทศที่ดีกว่าแน่นอน ประเมินมูลค่าว่าหากไม่เกิดภาคการผลิตเสีย 600,000 ล้านบาท ภาคโลจิสติกส์ 100,000 เกษตร 90,000 รวมสูญเสีย 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งเรายอมไม่ได้ ต้องเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไป อยากให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เชิญโอเปอเรเตอร์เข้าหารือ แต่โอเปอเรเตอร์นิ่งหมด โดยบอกว่า 4G ยังไม่คุ้มทุน ให้ลงทุนเพิ่มอีก ขอรวบรวมเงินสำหรับการลงทุนก่อน ขอให้รัฐบาลช่วย ให้ได้รับการจัดสรรฟรีก่อนได้หรือไม่ จึงมีความกังวลว่าจะสามารถไปถึงฝันได้หรือไม่ ขณะที่จีน เวียดนาม ให้โอเปอเรเตอร์ได้ใช้ฟรีก่อน แล้วนำมาชำระเงินภายหลัง ส่วนคลื่น 2600 อยู่ระหว่างเรียกคืนก็ประสบปัญหา จึงได้ปรึกษา นายกฯ ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G เพราะ 5G ไม่ใช่สำหรับโมบายอย่างเดียว สำคัญต่อทุกอย่าง จึงช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น จะได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นไปแก้ไข โอเปอเรเตอร์สะท้อนปัญหาทั้งหมด เป็นวาระแห่งชาติ 5G ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1. มูลค่าคลื่นความถี่ ที่คาดหวังจากการประมูลคลื่นความถี่ครั้งที่ผ่านมาที่ 2. การลงทุนของโอเปอเรเตอร์ 3. การต่อยอดการทำงาน การนำไปใช้งาน ผู้ที่จะนำไปใช้งานคือใคร เมื่อถึงตอนนั้นหากไม่มีคนใช้จะทำอย่างไร การตั้งคณะกรรมการจะช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการต่อยอดทันที โอเปอเรเตอร์เกิดความมั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น ทุกภาคต้องเกิดการใช้งาน
นางอเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรามีความมุ่งมั่นในเรื่อง 5G แต่ต้องดูผลด้วยว่าจะเกิดอย่างไร ตนดีใจที่จะมีกรรมการระดับชาติมาดูเรื่องนี้เพราะ 5G จะเกิดได้ต้องมาจากความร่วมมือของทุกฝ่าย 5G เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับ B2B ส่วน B2C ก็ได้ประโยชน์ ในเกาหลีการทดสอบ 5G ยังไม่ได้ผลที่ชัดเจนเพราะมีผู้ใช้งานแค่ร้อยละ 10 เครือข่ายก็ยังไม่ดีมาก การขับเคลื่อน 5G ทั่วโลกเหมือนยังเป็นการหวังผลทางการตลาดมากกว่า ในสหรัฐฯ และยุโรปยังคงเป็นการเสนอผลการเอา 5G มาใช้ เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง

5G ควรเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต การลดต้นทุน ส่วนผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่คิดว่าพร้อมจะจ่ายค่ายริการที่สูงขึ้นเพื่อความเร็วที่ดีกว่าเดิม ที่ผ่านมาดีแทคอยากให้ทั้งอุตสาหกรรมเกิดการพัฒนา อยากช่วยให้มีการขับเคลื่อน 5G เพราะเห็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย การทำให้เกิด 5G ถ้าเร่งมากไปจะได้ผลที่ไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรมีโรดแมป มีแผนการพัฒนาที่ขัดเจนเพื่อให้เกิดการลงทุนที่เหมาะสม ดีแทคคิดว่าปี 2563 อาจจะเร็วเกินไป ปี 2564 น่าจะเหมาะสมมากกว่าเพราะจะมีความพร้อมทั้งการลงทุน ผลการทดสอบการนำ 5G ไปใช้ ภาครัฐต้องคิดถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในระยะยาวด้วย

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะผู้สนับสนุนนิคมอุตสาหกรรม เรายังไม่ได้รับความชัดเจน ผู้ลงทุนทุกคนอยากรู้ว่าการลงทุนจะได้ผลการลงทุนคุ้มไหม ทั้งภาคการผลิต ภาคพลังงาน ภาคขนส่ง เราไม่ได้รับการติดต่อให้ข้อมูลเลย มีการประเมินว่า 5G จะทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ 1.307 พันล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยภาคพลังงานจะได้ประโยชน์ร้อยละ 19 ภาคการผลิต ร้อยละ 18 ภาคสาธารณสุข ร้อยละ 12 คนเหล่านี้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งนั้น มีการทดสอบ 5G ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ศรีราชา ทำไมไม่มีการทดสอบในพื้นที่ที่จะมีการใช้งานในนิคมอุตสาหกรรม ผู้ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมไม่เคยได้รับการขอความเห็นจากผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมให้เลย ดับบลิวเอชเอพร้อมจะเป็นผู้ประสานให้ทุกฝ่ายได้คุยกันเพื่อทำเข้าใจ การพัฒนา 5G จะไปถึงฝันได้ น่าจะมีการหารือกับผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการทดสอบการนำเทคโนโลยีไปใช้ด้วยกัน

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในการเกิด 5G นั้น มองว่ามี 3 ด้านคือ 1. เชิงเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม และ 3. ด้านการเมือง ทั้งนี้ ด้านเศรษฐกิจนั่น 5จี ทำให้การเชื่องโยงในการติดต่อกันรวดเร้วขึ้น เกิดความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เกิดความสามารถในการแข่งขันประเทศ เกิดการดึงดูดการลงทุนต่างประเทศ เกิดนวัตกรรมใหม่

ทั้งนี้ การเกิดความสะดวกสบายนั้น เช่น ยุโรป อเมนิกา สั่งอาหารทุกจานมีมันฝรั่งทอด เพราะประเทศเขาไม่มีข้าว จึงต้องใช้มันฝรั่งแทน สำหรับ 5G ในอนาคตจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในโรงงาน ในบ้านจะฝังชีพ มีหลายระดับ ตั้งแต่ชีฟง่ายๆ เช่นจับอุณหภูมิ ต่อไปจะฝังติดเสื้อผ้า จะทำให้ขบวนการอนาคต บอกมูลค่าสินค้า เพิ่มเซอร์วิสของสินค้า ยกตัวอย่างเครืองยนต์เครื่องบินTG มีการติดเซ็นเซอน์ระดับอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ดังนั้นต้องเอาบริการใส่เข้าใปในตัวสินค้า ยิ่งมี5จี สัดส่วนสินค้าจะสูงขึ้น การมอนิเตอร์คนไข้ก็ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ในส่วนนิคมอุตสาหกรรมก็เอาตัวเซ็นเตอร์ไปติดตั้งด้วย

ส่วนด้านประกันชีวิต การแชร์ข้อมูลจะดูว่าลูกหนี้คนไหนเครดิตดีหรือไม่ดี แต่ละธนาคารข้อมูลลูกค้าตัวเอง แต่หากวันหนึ่งมีการแชร์ข้อมูลได้ การลดเบี้ยประกันของลูกค้าก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ว่าบุคคลนั้นๆ มีพฤติกรรมแบบไหน ความสารมารถในการแข่งขันระหว่างประเทศเกิด สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอไม่ได้ จีนจะแซงสหรัฐอเมริกา ในอดีตมหาอำนาจระดับโลกไม่ยอมให้แซงง่าย การแข่งขันทางการค้ายอมกันไม่ได้ เราเรียกนายทุนลี้ภัย ไดังนั้นประเทศไทยต้องไว เพราะปัญหาคือนายทุนลี้ภัย เวลานี้จะย้ายออกมา เราต้องวางแผนรองรับเขา นโยบายรัฐให้ต่างชาติลงทุนที่ดินถึง 99ปี ให้เช่าแล้วไปปล่อยเช่าต่อได้อีก ในพื้นที่อีอีซี ให้อำนาจในการเปลี่ยนผังเมิง เปลี่ยนพื้นที่เกษตรจากสีเขียวเป็นสีม่วงเพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม สร้างรถไฟความเร็วสูง ทุกอย่างนี้นักลงทุนที่จะออกมาจากจีนเขาไม่สนใจตรงนี้ ทั้งนี้มองว่า จุดแข็งของไทยต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และจุดอ่อนของไทยคือค่าแรงสูงกว่าที่อื่น ดังนั้น จะมองว่า 5G เป็นเพียงแค่ความสะดวกสบายของการใช้สมาร์ทโฮม อยากให้มองว่าความสะดวกสบายคือแค่เรื่องรอง เราต้อดูจุดแข็งก่อน

ดังนั้น 5G จะเร็วหรือช้า มีประเด็นทางสังคมที่ต้องชั่งน้ำหนัก 5G จะเข้ามาแทรกแซรงสิทธิมนุษยส่วนบุคคลง่าย การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลง่าย ถ้าวันหนึ่งระบบเกิดอุบัติเหตุ เกิดการแฮกกิ้งจะเป็นอย่างไร

ส่วนการเมือง จะต้องตั้งหลักให้ดีเกี่ยวกับการแข่งขัน ไม่มีคู่ท้าทายสหรัฐฯ ในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ได้เท่ากับจีน เพราะสหรัฐกังวลว่าจะพัฒนา 5G สู้จีนได้อย่างไร คลื่นความถี่ที่สูงยังอยู่ในมือทหาร จะปล่อยยังไง จีนไม่แคร์สิทธิมนุษยชน เด็กจะเข้าผ่านเขาระบได้ เป็นสังคมของประเทศเน้นความมั่นคง จีนเป็นแหล่งผลิตดีไวน์ ทำชิ้นส่วนเยอะ ล้ำหน้าสหรัฐฯ จนตามไม่ติด ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยี 5G ของจีนสหรัฐฯ กลัว แต่สหรัฐก็ยอมจีนไม่ได้ สกัดกั้น 2 ระดับ คือ บีบมือถือหัวเว่ยจะมีโปรแกรมสหรัฐฯ ไม่ได้ ไม่อัพเดทอัตโนมัติ โดยระบบสหรัฐฯ ลอบบี้หลายประเทศไม่ให้ใช้แบล็กโบนของหัวเว่ย มีออสเตรเรียประเทศเดียว ซึ่งหัวเว่ยก็ให้ดัดแปลงโดยให้ลูกค้าสามารถแก้ไขได้เลย ซึ่งไทยต้องคิดว่าเราจะไปแข่งขันย่างไร อนาคตอาจมีระบบโทรคมนาคม 2 ระบบ คือมีสหรัฐฯ กับไม่มีสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ในประเด็นสุดท้ายที่จะจัดให้มีความสมดุลอย่างผู้ประกอบการ เพื่อการแข่งขันกับประเทศอื่น หากเริ่มต้นจากการสำรวจความพร้อม ยืนยันว่าไม่มีทางได้เริ่ม วิธีการใช้ 5G จะอาศัยคนที่มีตลาดอยู่แล้วเป็นไปไม่ได้ ต้องให้เอกชนตัดสินใจเองว่าจะลงทุนหรือไม่ ควรเปิดให้เอกชนต่างประเทศมาร่วม ซึ่งหากจะใช้วิธีประมูลเหมือนเดิมไม่เห็นด้วย ควรหาแนวทางในการประมูลเช่น ใครเสนอค่าบริการต่ำสุดชนะ รัฐบาลได้เงินน้อยแต่การลงทุนยังมีเหมือนเดิม เหมือนอินเดีย และถ้าเขาลงทุน 4Gไปแล้ว ก็เอามาหักลบได้บางส่วนในการลงทุน 5G เชื่อว่าจะยังพออยู่ได้ทั้งนักลงทุนรายเก่า รายใหม่และต่างประเทศ ดังนั้น สรุปแล้วการเกิด 5G จะต้องเร่งรีบที่จะต้องทำ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดีแทคมุ่งมั่นและอยากลงทุน 5G แต่ด้วยราคาคลื่นความถี่คงต้องขอเวลา ที่เหมาะสม ดีแทคยังไม่รู้ว่าจะทำยังไงแต่ทำแน่ๆ การลงทุน 5G น่าจะเป็นการลงทุนเป็นระยะ และทุกเสปกตรัมแบนด์ ขอพูดแทนโอเปอเรเตอร์ทุกรายว่า เราพร้อมที่จะขยายเครือข่ายให้บริการแต่ต้องขอดูรายละเอียดเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ และการลงทุนด้วย

ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทรดวอร์ระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นโอกาสที่ดีของไทยในการเคลื่อนย้ายทุนการผลิตจากจีนมาที่ประเทศไทย 5G เป็นส่วนที่สำคัญ ที่จะรองรับอุตสาหกรรมที่จะมา แผนที่มีอยู่แล้วไม่ต้องมีแผนอีกขอเพียงให้เกิดการทำงานร่วมกัน แล้วทำให้โครงสร้างพื้นฐานเราพร้อม เพื่อไม่ให้ไทยเสียโอกาส



ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีแทคยืนยันที่จะพัฒนา5G โดยขอให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน สุดท้ายแล้ว5G จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความพร้อมในทุกๆด้าน โดยเฉพาะต้องมีการลงทุนทางธุรกิจที่สมเหตุสมผล

นายธีระชัย กล่าวว่าลักษณะของการใช้ประโยชน์5G จะเกิดขึ้นซับซ้อนหลากหลายมากโดเฉพาะในเรื่องของอินฟราซรัคเจอร์นั้นสำคัญปัจจุบันการแข่งขันในตลาดใหญ่ๆของโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯยุโรปคือความเร็วแต่ปัจจุบันพอสินค้าเริ่มขายดีจะมีเทคโนโลยีในการส่งสัญญาณไปตรงจุดแต่ละจุดแล้วแจ้งไปยังเครื่องจักรอัตโนมัติโดยเครื่องคุยกับเครื่องต้องอาศัยอินฟราซรัคเจอร์แลพต้องพร้อมที่มีเหตุผลพอสมควรเราต้องตั้งประเด็นที่ว่าพร้อมหรือไม่ลงทุนหรือไม่ทางที่ดีให้เอกชนเป็นคนเสี่ยงเป็นคนตัดสินใจเป็นหลักต้องให้เขาแสดงความคิดเห็นและควรเปลี่ยนกติกาในการประมูลใครเข้ามาจะได้กำไรไม่ต่างกันมากเงินประมูลให้กับรัฐจะได้ไม่มากอาจมีแนวคิดที่แปลกแนวได้มากขึ้น

นายฐากร กล่าวว่า ฝากไปยัง 3 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาเพิ่มเติมเงื่อนไขในการเปิดให้บริการ 5G ในพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นลำดับแรก ก่อนเปิดให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งโอเปอเรเตอร์ต้องมีการลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท เพื่อวางเครือข่ายให้ครอบคลุม

“เมื่อโอเปอเรเตอร์มีความมั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น เชื่อว่าจะช่วยสานฝัน 5G ให้เกิดขึ้นได้ในปี 2563 เพราะ 5G เป็นเส้นเลือกใหญ่ของประเทศ และของโลก ทั้งนี้ นายฮูลิน ซาว เลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เสนอไปยังรัฐบาลของไทยว่า อย่าสร้างถนนให้มาก แต่ต้องสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมให้มาก เพราะทุกอย่างจะหลอมรวมทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากภาคโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญ” นายฐากร กล่าว





































กำลังโหลดความคิดเห็น