xs
xsm
sm
md
lg

เปิดไทม์ไลน์ Alibaba ประวัติศาสตร์นี้ Jack Ma สร้างมา

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Jack Ma เปลี่ยนบริษัทให้ครอบคลุมบริการความบันเทิงดิจิทัล และคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้ปี 2019 เป็นปีที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Alibaba
แจ็ค หม่า (Jack Ma) ย่างเท้าก้าวลงจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการของอาลีบาบา (Alibaba) เรียบร้อยวันที่ 10 กันยายน 2019 เพื่อส่งไม้ต่อให้แดเนียล เซียง (Daniel Zhang) รับตำแหน่งแทนในฐานะ CEO ของยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ

สิ่งที่สะท้อนผลงานของ Jack Ma ได้ดีที่สุดคือการเล่าย้อนถึงประวัติศาสตร์ไทม์ไลน์ Alibaba หลังจากก่อตั้งขึ้นในปี 1999 จากบริษัทที่เน้นทำการค้าออนไลน์ วันนี้ Jack Ma เปลี่ยนบริษัทให้ครอบคลุมบริการความบันเทิงดิจิทัล และคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้ปี 2019 เป็นปีที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Alibaba

วันนี้ที่ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีนฉลองครบรอบ 20 ปี Jack Ma พา Alibaba เป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดกว่า 460,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากอพาร์ทเมนท์ของ Jack Ma ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ Alibaba ทั้งหมด

เมษายน 1999: เริ่มก่อตั้ง

Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba เคยจัดการประชุมในอพาร์ตเมนต์ของตัวเองในปี 1999 ซึ่งเป็นปีที่ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีนเพิ่งเริ่มก่อตั้ง
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba เคยจัดการประชุมในอพาร์ตเมนต์ของตัวเองในปี 1999
Alibaba ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ก่อตั้ง 18 คน Jack Ma คือผู้นำกลุ่มจนสามารถเปิดตัวเว็บไซต์แรกคือ Alibaba.com จุดยืนสำคัญคือการเป็นตลาดขายส่งสินค้าจีนในภาษาอังกฤษ ในปีเดียวกันนั้นเอง Alibaba จึงสามารถเปิดตัวตลาดขายส่งในประเทศ

มกราคม 2000: SoftBank ลงทุน

Jack Ma และมาซาโยชิ ซัน (Masayoshi Son) แห่งซอฟต์แบงก์จับมือกันลงทุนใน Alibaba ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญทั้งที่บริษัทเพิ่งเปิดตัวเพียงปีเดียว

Jack Ma ใช้คารมดึงดูดกลุ่มทุนญี่ปุ่นจนตัดสินใจลงทุนมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เวลานั้น Ma เคยเล่าว่าทั้งคู่ไม่ได้พูดถึงรายได้ หรือแม้แต่รูปแบบธุรกิจ แต่เน้นพูดถึงวิสัยทัศน์ที่มองเห็นร่วมกัน ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายตัดสินใจอย่างรวดเร็ว

พฤษภาคม 2003: กำเนิด Taobao

เถาเป่า (Taobao) เป็นแพลตฟอร์มการช็อปปิ้งออนไลน์ในประเทศจีนซึ่งดำเนินการโดย Alibaba จุดเด่นคือพ่อค้าแม่ขาย third-party สามารถลงขายสินค้าของตัวเองได้

ในปี 2015 ยอดขาย Taobao ทะลุสูงถึง 1.59 ล้านล้านหยวน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.11 ล้านล้านหยวนในปี 2019 ชัดเจนว่ารายได้จาก Taobao เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจหลักของ Alibaba

ธันวาคม 2004: แจ้งเกิด Alipay

อาลีเพย์ (Alipay) เป็น 1 ใน 2 แพลตฟอร์มการชำระเงินรายใหญ่ของจีน เป็นคู่แข่งกับวีแชตเพย์ (WeChat Pay) ในเครือบริาทเท็นเซ็นต์ (Tencent) จุดเด่นของ Alipay คือการใช้รหัสคิวอาร์ (QR) ซึ่งเป็นบาร์โค้ดที่พบเห็นได้ตามเคาน์เตอร์ชำระเงินของร้านค้า ผู้ซื้อในร้านค้าสามารถสแกน QR เพื่อชำระเงิน ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ Alipay ในร้านค้าออนไลน์ได้ด้วย

สิงหาคม 2005: Yahoo เข้าถือหุ้นใหญ่ที่สุด

ข่าวใหญ่ในปี 2005 คือยาฮู (Yahoo) ทุ่มเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงใน Alibaba เพื่อถือหุ้น 40% ในบริษัท ทำให้ Yahoo เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Alibaba
Jack Ma และ Masayoshi Son จับมือกันแน่นแฟ้น บรรลุดีล 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ Alibaba เพิ่งก่อตั้งไม่ถึง 1 ปี
ผลจากดีลนี้คืะ Alibaba เข้าควบคุมธุรกิจ Yahoo ในจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง เวลานั้นเทอรี่ ซีเมล (Terry Semel) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Yahoo ระบุว่าจะร่วมกันกับ Alibaba สร้างบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และสินทรัพย์รวมของ 2 บริษัทจะทำให้ทั้งคู่เป็นบริษัทเดียวที่ผลักดันการเติบโตของอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน ทั้งด้านการค้นหา การค้า และการสื่อสาร

พฤศจิกายน 2007: เปิด IPO ที่ฮ่องกง

ก่อนที่ Alibaba จะเปิดตัวในตลาดหุ้นสหรัฐฯในปี 2014 เจ้าพ่อ Alibaba ชิมลางเสนอขาย IPO ในฮ่องกงตั้งแต่ปี 2007 เวลานั้น Alibaba ระดมทุนได้ 13,100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในวันเปิดตัวหุ้น มูลค่าหุ้น Alibaba เพิ่มขึ้นจากราคาเสนอซื้อ 13.50 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ 39.50 ดอลลาร์ฮ่องกง

เมษายน 2008: คลอด Tmall

Alibaba เปิดตัวบริการใหม่โดยเรียกว่าเถาเป่ามอลล์ (Taobao Mall) โดยแยกแบรนด์ออกไปในช่วงหลายปีถัดมา และรีแบรนด์เป็นทีมอลล์ (Tmall) ในที่สุด

เช่นเดียวกับ Taobao ปัจจุบัน Tmall เป็นหนึ่งในธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สำคัญที่สุดของ Alibaba ในแง่ของรายได้ บนจุดยืนคือ Tmall พยายามโฟกัสตัวเองเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าแบรนด์ต่างประเทศ ซึ่งแบรนด์เหล่านี้สามารถตั้งร้านค้าออนไลน์และขายให้กับผู้บริโภคชาวจีนได้แบบไร้ของปลอม

วันนี้แบรนด์แฟชั่นสุดหรู ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และแม้กระทั่งสตาร์บัคส์ (Starbucks) ก็อยู่ใน Tmall

กันยายน 2009: เปิดตัวธุรกิจคลาวด์

Alibaba เปิดตัวธุรกิจคลาวด์ในปี 2009 จนเป็น 1 ในผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน กลายเป็นแหล่งรายได้ใหญ่อันดับ 2 ของบริษัท ด้วยฐานะธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด

Daniel Zhang ผู้ที่จะรับหน้าที่ CEO ของ Alibaba ยอมรับว่าคลาวด์จะเป็น "ธุรกิจหลัก" ของบริษัทต่อเนื่องไปอีกหลายปี

พฤศจิกายน 2009: มหกรรมวันคนโสด

Singles Day หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่าเทศกาล 11/11 เป็นงานช็อปปิ้งประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของจีน แต่ไม่ใช่ Jack Ma เพราะ Zhang ซีอีโอคนปัจจุบันเป็นผู้บุกเบิกแคมเปญลดราคาถล่มทลายนี้
ความสำเร็จและสไตล์ที่มีสีสัน ทำให้ Jack Ma เป็นหนึ่งในนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน
ในปีแรก ยอดขาย 7.8 ล้านเหรียญสหรัฐเกิดขึ้นในงาน Singles Day ปี 2009 ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 30,800 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 ที่ผ่านมา

กันยายน 2012: ซื้อคืนหุ้น Alibaba จาก Yahoo

Alibaba ตัดสินใจยื่นเงินก้อนเพื่อซื้อหุ้นคืนครึ่งหนึ่งจาก Yahoo ที่ถือหุ้น 40% คิดเป็นดีลมูลค่า 7,600 ล้านดอลลาร์ เวลานั้น Yahoo ได้รับเงินสดประมาณ 6,300 ล้านดอลลาร์ และหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 800 ล้านเหรียญใน Alibaba ถือเป็นผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Yahoo ที่ลงทุนไปเพียง 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015

กันยายน 2014: เข้าตลาดหุ้นนิวยอร์ก

ยักษ์ใหญ่จีนทำสถิติเป็น IPO ราคาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์จนสามารถระดมทุนประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการเสนอขายหุ้น IPO ที่นิวยอร์ก ปัจจุบัน Alibaba ถูกประเมินให้เป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

วันนี้ หุ้นของ Alibaba เพิ่มขึ้นกว่า 150% จากราคา 68 ดอลลาร์ต่อหุ้นในเวลานั้น

ตุลาคม 2014: มาแล้ว Ant Financial

หลังจากที่ Alipay ถูกสปินออฟท่ามกลางการฟ้องร้องสิทธิ์การเป็นเจ้าของกับ Yahoo และ Softbank จน Alibaba ต้องจ่ายเงินพันล้านเพื่อยุติคดี Alibaba ก็สร้างแอนท์ไฟแนนเชียล (Ant Financial) ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์บริการด้านการเงินครบวงจร ไม่เพียงแต่ระบบชำระเงินอย่างที่เคยมีใน Alipay
Identy X SUV วรถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มขั้นรุ่นแรกของ Xpeng บริษัทที่ Alibaba ลงทุน
การสร้าง Ant Financial เป็นการส่งสัญญาณความตั้งใจของ Alibaba ในการเข้าสู่ตลาดเทคโนโลยีการเงินหรือฟินเทค ปัจจุบัน Ant Financial เป็นบริษัทฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดของจีน มูลค่าตลาดประมาณ 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สิงหาคม 2015: กระหน่ำลงทุน

Alibaba เที่ยวใช้เงินลงทุนในสตาร์ทอัปและซื้อกิจการบริษัทดาวรุ่งทั่วโลก เบ็ดเสร็จลงทุนไปมากกว่า 28,300 ล้านหยวน เป็นไปตามกลยุทธ์ "ค้าปลีกใหม่" หรือ new retail ซึ่งเป็นการรวมธุรกิจออนไลน์กับร้านค้าออฟไลน์ เพื่อรวบรวมธุรกรรมทั้ง 2 โลกเข้ากับระบบนิเวศขนาดใหญ่ของ Alibaba

เมษายน 2016: ซื้อ Lazada

เมษายน 2016 เป็นช่วงที่ Alibaba ประกาศซื้อหุ้นใหญ่จนมีอำนาจควบคุม Lazada ที่ปักหลักให้บริการในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ชื่อของ Alibaba เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นบนเวทีระดับประเทศ

ธันวาคม 2017: ลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า

Alibaba ลงทุนในบริษัทชื่อ Xpeng หรือที่รู้จักในนาม “เซี่ยวเผิง” (Xiaopeng) บริษัทดังกล่าวเพิ่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มขั้นรุ่นแรกชื่อ Identy X SUV แม้รายละเอียดการลงทุนจะไม่เปิดเผยชัดเจน แต่สื่อจีนอ้างข่าววงในว่า Alibaba ซื้อหุ้นมากกว่า 10% โดยโฆษก Alibaba ให้ความเห็นว่าด้วยฐานะผู้พัฒนายานยนต์พลังงานสะอาดของ Xiaopeng การลงทุนใน Xiaopeng จึงสอดคล้องกับนโยบายของ Alibaba ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในตลาดรถยนต์

สิงหาคม 2018: ร่วมมือ Starbucks

สตาร์บัคส์ (Starbucks) จับมือหลายธุรกิจในเครือ Alibaba ให้ลูกค้าจีนสั่งซื้อเพื่อรับส่งกาแฟถึงบ้าน ปักหมุดให้บริการในกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ก่อนขยายสู่ 30 เมือง และ 2,000 สาขาทั่วจีนภายในสิ้นปี 2018
ความร่วมมือกับ Starbucks เป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดการผลักดันแนวคิดค้าปลีกยุคใหม่ของ Alibaba
ความร่วมมือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดการผลักดันแนวคิดค้าปลีกยุคใหม่ของ Alibaba ซึ่งมุ่งพลิกรูปแบบการค้าขายด้วยการผสานประสบการณ์บนช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์เข้าด้วยกัน

กันยายน 2019: Jack Ma ก้าวลงจากตำแหน่ง CEO


ในเดือนกันยายน 2018 ยักษ์ใหญ่ Alibaba กล่าวว่า Jack Ma จะก้าวลงจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการในช่วง 1 ปีหลังจากนั้น ซึ่งก็ถือวันที่ 10 กันยายน 2019

เดวิด เซียง (David Zhang) หัวหน้าทีม Ant Financial จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งซีอีโอแทน ขณะที่ Jack Ma จะยังนั่งเก้าอี้ในกรรมการบริหารบริษัทต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น