ซีเอ เทคโนโลยี เผยผลสำรวจพบไทยเด่นสุดรับกระแสดิจิทัล ในกลุ่มตลาดเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น พบ 97% องค์กรพร้อมแข่งขันในตลาดโลก โดยซีเอพร้อมนำเสนอโซลูชันสร้างความแตกต่างให้องค์กรธุรกิจ ชู AI ช่วยปรับระบบการทำงานที่รวดเร็ว ล่าสุด ได้ AIS เป็นลูกค้า
นิค ลิม รองประธานกรรมการ ภูมิภาคอาเซียนและจีน บริษัท ซีเอ เทคโนโลยี กล่าวว่า ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชัน หรือการพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกทางจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆได้อย่างมีคุณภาพ
โดยมองว่าผู้นำธุรกิจ และไอทีจะต้องเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะมาเป็นตัวเปลี่ยนเกมการตลาด อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลและไมโครเซอร์วิส ที่จะทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง โดยความท้าทายและความสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลจะอยู่ที่ 1.การตอบโจทย์ให้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยแค่ไหน 2.สภาวะเงื่อนไขเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและ 3.การใช้ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชัน เป็นอาวุธที่จะเอาชนะในการแข่งขันกับคู่แข่งแบบดั้งเดิมได้อย่างไร
การปรับเปลี่ยนนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญด้านธุรกิจ 3 อันดับแรก ที่องค์กรในประเทศไทยต้องแก้ปัญหาให้ได้ในวันนี้ก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การลดต้นทุนการดำเนินงาน และการทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานสูงขึ้น
ผู้บริหารซีเอ กล่าวถึงผลการสำรวจ ซึ่งจัดทำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ตื่นตัว และมีความพร้อมปรับตัวตามระบบดิจิทัลมากที่สุดในภูมิภาคนี้ โดย 95% ของธุรกิจและผู้นำตลาดด้านไอทีต่างยอมรับว่าตลาดไทยได้รับผลกระทบจากการตื่นตัวทางดิจิทัล ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วทั้งภูมิภาคนี้อยู่ที่ 80%
ทั้งนี้ 95% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถาม ต่างยอมรับว่า ได้รับผลกระทบจาก การตื่นตัวและเติบโตของโลกดิจิทัล และเกือบทั้งหมด (98% ขององค์กรที่ให้ข้อมูล) ต่างยอมรับว่า Digital Disruption มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจในปัจจุบัน จากข้อมูลข้างต้น จึงส่งผลให้ประเทศไทยได้รับการยกระดับสูงสุดในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยค่าเฉลี่ยของภูมิภาคคือ 78%
จากรายงานผลกระทบและความพร้อม ซึ่ง ซีเอ เทคโนโลยี ทำการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยทำการศึกษากลยุทธ์ด้านการพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดดิจิทัลในกลุ่มผู้นำธุรกิจ และไอทีกว่า 900 ราย จาก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยมีองค์กรและผู้ทรงอิทธิพลในวงการไอทีจากประเทศไทยเข้าร่วมถึง 100 องค์กร ในจำนวนนี้ 97% มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าองค์กรพร้อมสำหรับการแข่งขันภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
ถึงแม้จะมีภาพรวมที่เป็นบวก แต่ปัจจุบัน ภาคธุรกิจก็ยังไม่ได้เริ่มสร้างโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงและนำธุรกิจเข้าสู่แนวคิดดิจิทัลที่แท้จริง โดยมีเพียง 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ ได้ระบุว่า องค์กรของพวกเขามีโครงการปฏิรูประบบดิจิทัลโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว นอกจากนี้เพียง 7% ของผู้ตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า องค์กรของพวกเขาปรับเข้าสู่โหมดของระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว ส่วนอีก 17% ได้วางแผนที่จะปฏิรูปเข้าสู่ระบบดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ
ผู้บริหาร ซีเอ กล่าวว่า เพื่อให้สามารถแข่งขันในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องสร้างซอฟต์แวร์ให้เป็นดีเอ็นเอทางธุรกิจ ด้วยข้อมูลเชิงลึก และเครื่องมือเพื่อกำหนดการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้ารายใหม่ สร้างวิถีบริการ และรูปแบบธุรกิจใหม่ การใช้ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ให้เหมือนเป็นพิมพ์เขียวของโรงงาน จะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อให้บรรลุเป้าดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันได้
ในส่วนของ ซีเอ จะนำเสนอ Modern Software Factoy ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่ก่อให้เกิด 1.ความคล่องตัวทางธุรกิจ 2.ความเป็นอัตโนมัติ 3.ข้อมูลเชิงลึก และ 4. ความปลอดภัย โดยการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชันได้หรือไม่ต้องให้ความสำคัญเรื่อง AI เป็นสำคัญ โดยข้อมูลของ การ์ทเนอร์ ระบุว่า ในปี 2022 องค์กรธุรกิจกว่า 40% จะมีการนำ AI เข้ามาใช้ในการโอเปอเรชัน
ซีเอ มองว่า การปรับตัวสู่ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชันนั้น ความสำคัญอยู่ที่ AI โดยซีเอมีโซลูชันที่จะตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในทุกแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานได้เพียงจุดเดียว โซลูชันของซีเอจะเหมาะกับทุกกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มแบงกิ้ง เฮลท์แคร์ และรีเทล ด้วยความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในการนำเสนอโซลูชันสู่องค์กรไทย ปัจุบัน ซีเอได้ AIS เป็นลูกค้าโดยการนำเสนอโปรเจกต์ ออโตเมชัน เพื่อให้แอปพลิเคชันทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมเตรียมนำเสนอสู่โอเปอเรเตอร์รายอื่นต่อไป
ความคาดหวังในตลาดไทยคือ อยากเห็น ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชันมีการเติบโตที่รวดเร็ว ซึ่งต้องได้รับความร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยในส่วนของซีเอพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง