ไม่ใช่แค่ไลก์ (Like) แต่เครือข่ายสังคมอันดับ 1 ของโลกอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) เพิ่งเพิ่มคุณสมบัติให้ผู้ใช้แสดงอารมณ์ได้มากกว่าเดิม 5 อารมณ์ เพื่อให้ทุกคนสามารถโชว์ความรู้สึกต่อข่าวสาร ข้อความ หรือรูปภาพจากเพื่อนได้ละเอียดขึ้น ต่อไปนี้คือสิ่งที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติใหม่ที่ชื่อว่า “รีแอ็กชันส์” (Facebook Reactions)
Introducing ReactionsToday is our worldwide launch of Reactions -- the new Like button with more ways to express yourself. Not every moment you want to share is happy. Sometimes you want to share something sad or frustrating. Our community has been asking for a dislike button for years, but not because people want to tell friends they don't like their posts. People wanted to express empathy and make it comfortable to share a wider range of emotions. I've spent a lot of time thinking about the right way to do this with our team. One of my goals was to make it as simple as pressing and holding the Like button. The result is Reactions, which allow you to express love, laughter, surprise, sadness or anger. Love is the most popular reaction so far, which feels about right to me!
Posted by Mark Zuckerberg on Wednesday, February 24, 2016
1.เรียกใช้จากที่ไหน?
เพียงเลื่อนเมาส์ชี้ค้างไว้ที่ปุ่มไลก์ หรือกดค้างไว้ในกรณีที่ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน Facebook บนไอโอเอส และแอนดรอยด์ ภาพใบหน้าแสดงอารมณ์ หรืออีโมจิรีแอ็กชันส์ (emoji reactions) ก็จะปรากฏเพื่อให้ทุกคนเลือกใช้ตามใจชอบ
คุณสมบัติใหม่นี้จะเริ่มทยอยเปิดให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กทุกคนตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. หากใครยังไม่เห็นคุณสมบัตินี้ เชื่อว่าจะใช้เวลารอคอยไม่เกินสัปดาห์นี้
2.ขอ 2 อารมณ์ได้ไหม?
ไม่ได้ ขณะนี้เฟซบุ๊กจำกัดให้ทุกคนสามารถแสดง 1 รีแอ็กชันส์ต่อ 1 โพสต์ เรื่องนี้เชื่อว่าเป็นเพราะต้องการป้องกันความสับสน เช่น ในกรณีที่เพื่อนโพสต์เรื่องราวอกหักรักคุด ก็สามารถเลือกแสดงความรู้สึก “sad” ได้โดยไม่มี “wow” หรือ “love” มาเกี่ยวข้อง
3.เปลี่ยนใจได้หรือเปล่า?
หากใครเลือกรีแอ็กชันส์ไปแล้วไม่ถูกใจ อยากเปลี่ยนจาก “wow” มาเป็น “love” หรือจะกลับไปเป็นไลก์ธรรมดาสามารถทำได้ด้วยวิธีเดิมเหมือนการเลือกรีแอ็กชันส์ครั้งแรก เพียงแตะ หรือเลื่อนเมาส์ค้างไว้ที่ภาพรีแอ็กชันส์ที่ต้องการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง แถบรายการรีแอ็กชันส์ก็จะปรากฏให้เลือกอีกครั้ง
4.ดูรีแอ็กชันส์บนโพสต์อย่างไร?
เฟซบุ๊กจะแสดงรีแอ็กชันส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก สังเกตได้จากภาพอีโมจิรีแอ็กชันส์ที่แสดงแทนสถิติจำนวนไลก์ในรูปแบบเดิม จุดนี้แสดงว่า เฟซบุ๊กมองว่าไม่จำเป็นที่หน้ารวมข่าวต้องแสดงทุกรีแอ็กชันส์ของทุกคนที่ได้เห็นภาพ หรือข้อความบนโพสต์ ซึ่งผู้สนใจสามารถคลิกที่ภาพอิโมจิเพื่อติดตามรายละเอียดว่าใครแสดงความรู้สึกใดบ้าง
5.หน้า News Feed เราจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน?
เปลี่ยนแปลงไม่มากในมุมการแสดงผล เพราะขณะนี้ รีแอ็กชันส์จะยังถูกนับจำนวนเหมือนการกดไลก์ ผู้ใช้จะได้เห็นว่าใครแสดงความรู้สึกใดอย่างละเอียดขึ้นเท่านั้น
แต่ในมุมการเลือกแสดงโพสต์จากอัลกอริธึมของเฟซบุ๊ก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นแน่นอน เพราะรีแอ็กชันส์ไม่ว่าจะ “wow” “sad” หรือที่สำคัญคือ “Love” จะเป็นสัญญาณส่งถึงเฟซบุ๊กว่า โพสต์แบบนี้มีผลต่ออารมณ์ของใครบ้าง ทำให้คนผู้นั้นมีโอกาสได้อ่านโพสต์ลักษณะนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต
ที่สำคัญ โพสต์ที่ได้รับคะแนน “Love” มาก ย่อมแสดงนัยที่ชัดเจนได้มากกว่าโพสต์ที่ได้รับไลก์อย่างเดียวมาในช่วงก่อนหน้านี้ นี่เองที่เป็นลูกเล่นซึ่งนักการตลาดบนโลกโซเชียลต้องปรับตัวกันยกใหญ่อีกครั้งเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงนี้บนเฟซบุ๊ก