"World Wide Web" หรือ www เครือข่ายเว็บไซต์ใยแมงมุมที่เป็นประตูสู่อินเทอร์เน็ตของคนทั่วโลกมีอายุครบ 25 ปีพอดีในวันที่ 13 มี.ค. ปีนี้ โดยวันนี้เมื่อปี 1989 นักพัฒนาซอฟต์แวร์สัญชาติอังกฤษของเซิร์น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ หรือ European Center for Nuclear Research (CERN) นามว่าทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ลงมือเสนอแนวคิดผ่านเอกสารโครงงานชื่อว่า "การจัดการข้อมูล (Information Management: a proposal)" ซึ่งช่วงเวลาประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นสามารถสะท้อนพัฒนาการครั้งสำคัญของโลกผ่าน 12 ภาพต่อไปนี้
บันทึกระบุว่า 13 มีนาคม 1989 เป็นวันที่ท่านเซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ยื่นเสนอเอกสารโครงงานแรกที่ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายเว็บไซต์ใยแมงมุมทั่วโลกหรือ World Wide Web ครั้งแรกที่เซิร์น โดยเซิร์นเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของกลุ่มประเทศแถบยุโรปที่ตั้งในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงการนี้ตั้งเป้าขจัดปัญหาข้อมูลความรู้ระหว่างนักวิจัยในเซิร์นสูญหาย โดยเซอร์ทิมใช้แนวคิด "ข้อความหลายมิติ" หรือ hypertext จุดนี้โรเบิร์ต ไคลิยู (Robert Cailliau) วิศวกรระบบสัญชาติเบลเยี่ยมคือผู้ร่วมพัฒนาคนสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์สามารถเรียกดูผ่านโปรแกรมเบราว์เซอร์สำเร็จ
ทิม เบอร์เนอร์ ลี ถ่ายภาพที่เซิร์นในปี 1994 คู่กับคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ "Next" ที่ใช้ในการพัฒนา World Wide Web
ภาพประกอบในโครงการ Information Management ที่ทิม เบอร์เนอร์ ลีตั้งใจบรรยายแนวคิดเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย (client/server) สำหรับใช้งานในระบบ hypertext
โรเบิร์ต ไคลิยู (Robert Cailliau) วิศวกรระบบสัญชาติเบลเยี่ยม ถ่ายภาพคู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์เครื่องแรกของโลกซึ่งให้บริการเว็บไซต์แรกของโลกเช่นกัน เว็บไซต์นี้คือ Info.cern.ch ให้บริการครั้งแรกที่เซิร์นตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 1990 สำหรับภาพนี้ ไคลิยูถ่ายไว้เมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2014
อีกมุมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์เครื่องแรกของโลก
ภาพ screenshot จากคอมพิวเตอร์ Next ที่กำลังเปิดใช้งานเบราว์เซอร์ WorldWideWeb เวอร์ชันดั้งเดิมของทิม เบอร์เนอร์ส-ลี นอกจากแสดงผล เบราว์เซอร์นี้สามารถใช้ปรับแต่งเว็บไซต์ได้ด้วย น่าเสียดายที่สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ NextStep เท่านั้น
ป้าย "เครื่องนี้คือเซิร์ฟเวอร์ ห้ามปิด" ถูกติดไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของทิม เบอร์เนอร์ ลี โดยคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นของบริษัท NEXT ของสตีฟ จ็อบส์ และป้ายนี้เป็นลายมือของทิม เบอร์เนอร์ ลี
โรเบิร์ต ไคลิยู พันธมิตรคนแรกของทิม เบอร์เนอร์ ลี กับผลงานในโครงการ World Wide Web ช่วงปี 1995
เอกสารที่เผยแพร่ในวันที่ 30 เมษายน 1993 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เซิร์นเปิดตัว www ในฐานะโดเมนสาธารณะ
ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (ที่ 2 จากขวา แถวหน้า) พร้อมด้วยเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมให้กำเนิด "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" เมื่อ 25 ปีก่อน ที่เซิร์น ร่วมถ่ายภาพกันในงานฉลองครบรอบ 20 ปีเวิลด์ ไวด์ เว็บ ซึ่งจัดขึ้นที่เซิร์น ใกล้กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2009
เว็บไซต์แรกของโลกที่เซิร์นอนุรักษ์ "แอดเดรส" หรือที่อยู่เว็บไซต์ดั้งเดิมไว้ที่ http://info.cern.ch/hypertext/WWW/TheProject.html
***4 สถิติน่ารู้จากโลกออนไลน์***
25 ปีผ่านไป วันนี้ประชากรอินเทอร์เน็ตโลกทะลุหลัก 2.9 พันล้านคนแล้ว โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก
เฉพาะในสหรัฐอเมริกา การสำรวจปี 1995 พบว่าชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีในสหรัฐฯราว 14% คือผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ล่าสุดสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 87% แล้วในปัจจุบัน
จำนวนเว็บไซต์นั้นเพิ่มขึ้นจาก 130 เว็บไซต์ในปี 1993 มาอยู่ที่ระดับมากกว่า 600 ล้านเว็บไซต์ในขณะนี้
เสิร์ชเอนจิ้นระดับโลกอย่างกูเกิล (Google) ที่ก่อตั้งในปี 1998 นั้นมีสัดส่วนถูกใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 10,000 ครั้งต่อวันในปี 1998 มาเป็นมากกว่า 3 พันล้านครั้งในปี 2012.
CyberBiz Social
บันทึกระบุว่า 13 มีนาคม 1989 เป็นวันที่ท่านเซอร์ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ยื่นเสนอเอกสารโครงงานแรกที่ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายเว็บไซต์ใยแมงมุมทั่วโลกหรือ World Wide Web ครั้งแรกที่เซิร์น โดยเซิร์นเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของกลุ่มประเทศแถบยุโรปที่ตั้งในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงการนี้ตั้งเป้าขจัดปัญหาข้อมูลความรู้ระหว่างนักวิจัยในเซิร์นสูญหาย โดยเซอร์ทิมใช้แนวคิด "ข้อความหลายมิติ" หรือ hypertext จุดนี้โรเบิร์ต ไคลิยู (Robert Cailliau) วิศวกรระบบสัญชาติเบลเยี่ยมคือผู้ร่วมพัฒนาคนสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์สามารถเรียกดูผ่านโปรแกรมเบราว์เซอร์สำเร็จ
ทิม เบอร์เนอร์ ลี ถ่ายภาพที่เซิร์นในปี 1994 คู่กับคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ "Next" ที่ใช้ในการพัฒนา World Wide Web
ภาพประกอบในโครงการ Information Management ที่ทิม เบอร์เนอร์ ลีตั้งใจบรรยายแนวคิดเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย (client/server) สำหรับใช้งานในระบบ hypertext
โรเบิร์ต ไคลิยู (Robert Cailliau) วิศวกรระบบสัญชาติเบลเยี่ยม ถ่ายภาพคู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์เครื่องแรกของโลกซึ่งให้บริการเว็บไซต์แรกของโลกเช่นกัน เว็บไซต์นี้คือ Info.cern.ch ให้บริการครั้งแรกที่เซิร์นตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 1990 สำหรับภาพนี้ ไคลิยูถ่ายไว้เมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2014
อีกมุมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์เครื่องแรกของโลก
ภาพ screenshot จากคอมพิวเตอร์ Next ที่กำลังเปิดใช้งานเบราว์เซอร์ WorldWideWeb เวอร์ชันดั้งเดิมของทิม เบอร์เนอร์ส-ลี นอกจากแสดงผล เบราว์เซอร์นี้สามารถใช้ปรับแต่งเว็บไซต์ได้ด้วย น่าเสียดายที่สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ NextStep เท่านั้น
ป้าย "เครื่องนี้คือเซิร์ฟเวอร์ ห้ามปิด" ถูกติดไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของทิม เบอร์เนอร์ ลี โดยคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นของบริษัท NEXT ของสตีฟ จ็อบส์ และป้ายนี้เป็นลายมือของทิม เบอร์เนอร์ ลี
โรเบิร์ต ไคลิยู พันธมิตรคนแรกของทิม เบอร์เนอร์ ลี กับผลงานในโครงการ World Wide Web ช่วงปี 1995
เอกสารที่เผยแพร่ในวันที่ 30 เมษายน 1993 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เซิร์นเปิดตัว www ในฐานะโดเมนสาธารณะ
ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (ที่ 2 จากขวา แถวหน้า) พร้อมด้วยเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมให้กำเนิด "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" เมื่อ 25 ปีก่อน ที่เซิร์น ร่วมถ่ายภาพกันในงานฉลองครบรอบ 20 ปีเวิลด์ ไวด์ เว็บ ซึ่งจัดขึ้นที่เซิร์น ใกล้กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2009
เว็บไซต์แรกของโลกที่เซิร์นอนุรักษ์ "แอดเดรส" หรือที่อยู่เว็บไซต์ดั้งเดิมไว้ที่ http://info.cern.ch/hypertext/WWW/TheProject.html
***4 สถิติน่ารู้จากโลกออนไลน์***
25 ปีผ่านไป วันนี้ประชากรอินเทอร์เน็ตโลกทะลุหลัก 2.9 พันล้านคนแล้ว โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก
เฉพาะในสหรัฐอเมริกา การสำรวจปี 1995 พบว่าชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีในสหรัฐฯราว 14% คือผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ล่าสุดสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 87% แล้วในปัจจุบัน
จำนวนเว็บไซต์นั้นเพิ่มขึ้นจาก 130 เว็บไซต์ในปี 1993 มาอยู่ที่ระดับมากกว่า 600 ล้านเว็บไซต์ในขณะนี้
เสิร์ชเอนจิ้นระดับโลกอย่างกูเกิล (Google) ที่ก่อตั้งในปี 1998 นั้นมีสัดส่วนถูกใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 10,000 ครั้งต่อวันในปี 1998 มาเป็นมากกว่า 3 พันล้านครั้งในปี 2012.
CyberBiz Social