หลายคนรู้ดีว่าหน้าร้านธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่จะสามารถเป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ด้วย Google Places บริการสารบัญธุรกิจทั่วโลกของกูเกิล วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับแนวทางการสร้างชื่อบน Google Places ที่เจาะลึกยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณได้รับประโยชน์จากเส้นทางที่กูเกิลโรยกลีบกุหลาบรอไว้แล้วบนโลกดิจิตอล
***ทำหน้าร้านธุรกิจให้คนรู้จักบนโลกออนไลน์ด้วย Google Places
บทความโดย @jetboat26
ตามกลยุทธ์ 4P ที่นักการตลาด หรือนักธุรกิจเคยได้ร่ำได้เรียนมา 1 ใน P นั่นคือ Place หรือว่าทำเลที่ตั้ง แต่ตอนนี้เหมือนอาจจะไม่พอ ถ้าจะรอให้ใครมาหากิจการ ห้างร้านของเราเจอ เพราะกลยุทธ์การในตลาดในยุคดิจิทัลนัน คงต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีกว่า ว่าที่ลูกค้าของเราจะเข้ามาหาเราเจอได้ยังไง ทั้งจากการสืบค้นบนหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือว่าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ Google Places ช่วยผู้ประกอบการได้ในข้อนี้ครับ
Google Places คืออะไร...
Google Places พูดแบบเห็นภาพง่ายๆ คือสารบัญธุรกิจในยุคอินเตอร์เน็ต ที่ให้เราสามารถเข้าไปเพิ่มข้อมูลธุรกิจของเราเองได้ โดยข้อมูลนั้นจะปรากฎนผลการค้นหาของ Google จะมีการแสดงที่ตั้งบน Google Maps อยากจะเพิ่มหรือว่าแก้ไขข้อมูลเมื่อไหร่ก็ทำได้ด้วยตัวเราเอง ที่สำคัญมันไม่มีค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ Google Places จะปรากฎผลสืบค้นที่ด้านซ้าย พร้อมแผนที่
ข้อมูลที่ Google Places ต้องการจากผู้ประกอบการมีอะไรบ้าง
- ประเทศที่คุณอยู่
- ชื่อบริษัท-องค์กร ตีกลมๆไป ว่าเป็นชื่อร้านของคุณไปก็ได้ครับ
- ที่อยู่
- จังหวัด และรหัสไปรษณีย์
- หมายเลขติดต่อกลับ
- e-mail และเว็บไซต์ อันนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ครับ
- ชั่วโมงทำการของร้าน เช่น เปิดกี่โมง ปิดกี่โมง เปิดปิดวันไหน
- การรับชำระเงินของร้าน เงินสด บัตรเครดิต
- มีที่จอดรถหรือไม่
- จำหน่ายสินค้ายี่ห้อใดบ้าง
ความครอบคลุมของประเภทธุรกิจใน Google Place นั้นเขามีให้คุณเลือกประเภทธุรกิจหลากหลาย อาทิ การเดินทาง ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ค้าปลีก สุขภาพ องค์กร และหรือถ้ามันไม่มีที่ตรงเป๊ะๆ คุณจะเพิ่มเข้าไปเองก็ได้ แต่เท่าที่ทาง Google เตรียมไว้ให้ ก็เป็นหมวดหมู่ที่ผู้ใช้ทั่วไปต้องใช้สืบค้นอยู่แล้ว
และสิ่งที่ทำให้ร้านค้าของคุณน่าสนใจมากกว่าการใช้สื่อแบบบนโลกออฟไลน์เดิมๆคือ คุณสามารถเพิ่มรูปถ่ายได้ 10 รูป รวมถึงสามารถใส่ VDO เข้าไปได้ 5 ชุด แน่นอนว่ามันจะไปอยู่บน Youtube เดี๋ยวนี้ Smart phone ถ่าย Vdo ได้ ตัดค่อคลิปได้ด้วยตัวเอง ให้คนในร้านทำเองแล้วอัพขึ้นไปยังได้เลยครับ
ในส่วนของการกรอกข้อมูลผมมีคำแนะนำว่า การกรอกข้อมูลตามจริงโดยละเอียด เช่น อยู่ถนนเส้นไหน เลขที่ซอยอะไรใส่ลงไปด้วย และใส่หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานให้ถูกต้อง จะช่วยให้ Google Places สามารถเลือกพิกัดได้ใกล้เคียงมากขึ้น
และการเลือกข้อมูลมาใส่นั้น ยิ่งคุณคิดเข้าไปในใจลูกค้าได้มากเท่าไหร่ ว่าเขาต้องการผลลัพท์แบบไหนในการสืบค้นธุรกิจแบบของคุณบนโลกออนไลน์ แล้วใส่ข้อมูลงไปในนั้น ข้อมูลยิ่งตรงใจคุณยิ่งได้เปรียบครับ
มาดูในมุมผู้สืบค้นกันบ้าง อย่าลืมว่าอินเตอร์เน็ตอยู่รอบตัวเรา การสืบค้นไม่จำเป็นต้องอยู่บนคอมพิวเตอร์เสมอไป เพราะผู้ใช้สามารถสืบค้นจากโทรศัพทื Smart Phone เพื่อสืบค้น หรือวางแผนการเดินทางมายังกิจการของคุณได้ สมมุติผมขับรถอยู่อยากจะหาอะไรกิน ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องไปขับวนเพื่อตระเวณหา กดโทรศัพท์ดูจาก Google Places แป๊บๆข้อมูลก็มา
สำหรับผู้ใช้ Google Places เพื่อสืบการสืบค้นผ่านโทรศัพท์นั้น จะใช้หลักการคือ อ้างอิงพิกัดของผู้ค้นจาก GPS แล้วแสดงผลสืบค้นธุรกิจ ร้านอาหาร ที่พักที่อยู่ใกล้เคียงในบริเวณนั้น ซึ่งผลการสืบค้นจะเรียงลำดับตามระยะความใกล้ไกลของสถานที่กับจุดที่"ว่าที่ลูกค้า"ยืนอยู่
แต่ปัจจัยของการนำลูกค้ามาหาคุณนั้น อยู่ที่ตัวข้อมูลที่คุณใส่บน Google Places แล้วล่ะครับ ว่าดึงดูดใจแค่ไหน และสิ่งที่ Google Places ช่วยให้ลูกค้ามาหาคุณได้ง่ายมากขึ้น คือระบบการนำทางผ่าน Google Maps หรือดูสภาพหน้าร้านของคุณก่อนที่จะเดินทางมาด้วย Google Street View
แต่ที่สำคัญมากคือ เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการมักจะคิดว่า การที่มีข้อมูลแนะนำบริการ สถานที่ของเราบนโลกออนไลน์ ให้พอมีคนมาดูแล้วจบกัน นั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ทีเดียว เพราะในรูปแบบการให้บริการข้อมูลจำพวกนี้ จะมีสิ่งนึงต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือการสอดส่องในการให้คำติชมจากผู้ใช้บริการ ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะเป็นจุดสินใจอีกอย่างนึง สำหรับว่าที่ลูกค้าของคุณในอนาคตครับ
ลองถ้าคุณเข้าใจการทำงานของ Google Places แล้ว การจะต่อยอดทางด้าน Local Search Marketing ไปยังแอปพลิเคชันเช่น Foursquare หรือบริการอื่นๆที่จะตามมาในอนาคตก็ไม่ยากแล้วล่ะครับ :)
***ทำหน้าร้านธุรกิจให้คนรู้จักบนโลกออนไลน์ด้วย Google Places
บทความโดย @jetboat26
ตามกลยุทธ์ 4P ที่นักการตลาด หรือนักธุรกิจเคยได้ร่ำได้เรียนมา 1 ใน P นั่นคือ Place หรือว่าทำเลที่ตั้ง แต่ตอนนี้เหมือนอาจจะไม่พอ ถ้าจะรอให้ใครมาหากิจการ ห้างร้านของเราเจอ เพราะกลยุทธ์การในตลาดในยุคดิจิทัลนัน คงต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีกว่า ว่าที่ลูกค้าของเราจะเข้ามาหาเราเจอได้ยังไง ทั้งจากการสืบค้นบนหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือว่าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ Google Places ช่วยผู้ประกอบการได้ในข้อนี้ครับ
Google Places คืออะไร...
Google Places พูดแบบเห็นภาพง่ายๆ คือสารบัญธุรกิจในยุคอินเตอร์เน็ต ที่ให้เราสามารถเข้าไปเพิ่มข้อมูลธุรกิจของเราเองได้ โดยข้อมูลนั้นจะปรากฎนผลการค้นหาของ Google จะมีการแสดงที่ตั้งบน Google Maps อยากจะเพิ่มหรือว่าแก้ไขข้อมูลเมื่อไหร่ก็ทำได้ด้วยตัวเราเอง ที่สำคัญมันไม่มีค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ Google Places จะปรากฎผลสืบค้นที่ด้านซ้าย พร้อมแผนที่
ข้อมูลที่ Google Places ต้องการจากผู้ประกอบการมีอะไรบ้าง
- ประเทศที่คุณอยู่
- ชื่อบริษัท-องค์กร ตีกลมๆไป ว่าเป็นชื่อร้านของคุณไปก็ได้ครับ
- ที่อยู่
- จังหวัด และรหัสไปรษณีย์
- หมายเลขติดต่อกลับ
- e-mail และเว็บไซต์ อันนี้จะมีหรือไม่ก็ได้ครับ
- ชั่วโมงทำการของร้าน เช่น เปิดกี่โมง ปิดกี่โมง เปิดปิดวันไหน
- การรับชำระเงินของร้าน เงินสด บัตรเครดิต
- มีที่จอดรถหรือไม่
- จำหน่ายสินค้ายี่ห้อใดบ้าง
ความครอบคลุมของประเภทธุรกิจใน Google Place นั้นเขามีให้คุณเลือกประเภทธุรกิจหลากหลาย อาทิ การเดินทาง ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ค้าปลีก สุขภาพ องค์กร และหรือถ้ามันไม่มีที่ตรงเป๊ะๆ คุณจะเพิ่มเข้าไปเองก็ได้ แต่เท่าที่ทาง Google เตรียมไว้ให้ ก็เป็นหมวดหมู่ที่ผู้ใช้ทั่วไปต้องใช้สืบค้นอยู่แล้ว
และสิ่งที่ทำให้ร้านค้าของคุณน่าสนใจมากกว่าการใช้สื่อแบบบนโลกออฟไลน์เดิมๆคือ คุณสามารถเพิ่มรูปถ่ายได้ 10 รูป รวมถึงสามารถใส่ VDO เข้าไปได้ 5 ชุด แน่นอนว่ามันจะไปอยู่บน Youtube เดี๋ยวนี้ Smart phone ถ่าย Vdo ได้ ตัดค่อคลิปได้ด้วยตัวเอง ให้คนในร้านทำเองแล้วอัพขึ้นไปยังได้เลยครับ
ในส่วนของการกรอกข้อมูลผมมีคำแนะนำว่า การกรอกข้อมูลตามจริงโดยละเอียด เช่น อยู่ถนนเส้นไหน เลขที่ซอยอะไรใส่ลงไปด้วย และใส่หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานให้ถูกต้อง จะช่วยให้ Google Places สามารถเลือกพิกัดได้ใกล้เคียงมากขึ้น
และการเลือกข้อมูลมาใส่นั้น ยิ่งคุณคิดเข้าไปในใจลูกค้าได้มากเท่าไหร่ ว่าเขาต้องการผลลัพท์แบบไหนในการสืบค้นธุรกิจแบบของคุณบนโลกออนไลน์ แล้วใส่ข้อมูลงไปในนั้น ข้อมูลยิ่งตรงใจคุณยิ่งได้เปรียบครับ
มาดูในมุมผู้สืบค้นกันบ้าง อย่าลืมว่าอินเตอร์เน็ตอยู่รอบตัวเรา การสืบค้นไม่จำเป็นต้องอยู่บนคอมพิวเตอร์เสมอไป เพราะผู้ใช้สามารถสืบค้นจากโทรศัพทื Smart Phone เพื่อสืบค้น หรือวางแผนการเดินทางมายังกิจการของคุณได้ สมมุติผมขับรถอยู่อยากจะหาอะไรกิน ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องไปขับวนเพื่อตระเวณหา กดโทรศัพท์ดูจาก Google Places แป๊บๆข้อมูลก็มา
สำหรับผู้ใช้ Google Places เพื่อสืบการสืบค้นผ่านโทรศัพท์นั้น จะใช้หลักการคือ อ้างอิงพิกัดของผู้ค้นจาก GPS แล้วแสดงผลสืบค้นธุรกิจ ร้านอาหาร ที่พักที่อยู่ใกล้เคียงในบริเวณนั้น ซึ่งผลการสืบค้นจะเรียงลำดับตามระยะความใกล้ไกลของสถานที่กับจุดที่"ว่าที่ลูกค้า"ยืนอยู่
แต่ปัจจัยของการนำลูกค้ามาหาคุณนั้น อยู่ที่ตัวข้อมูลที่คุณใส่บน Google Places แล้วล่ะครับ ว่าดึงดูดใจแค่ไหน และสิ่งที่ Google Places ช่วยให้ลูกค้ามาหาคุณได้ง่ายมากขึ้น คือระบบการนำทางผ่าน Google Maps หรือดูสภาพหน้าร้านของคุณก่อนที่จะเดินทางมาด้วย Google Street View
แต่ที่สำคัญมากคือ เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการมักจะคิดว่า การที่มีข้อมูลแนะนำบริการ สถานที่ของเราบนโลกออนไลน์ ให้พอมีคนมาดูแล้วจบกัน นั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ทีเดียว เพราะในรูปแบบการให้บริการข้อมูลจำพวกนี้ จะมีสิ่งนึงต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือการสอดส่องในการให้คำติชมจากผู้ใช้บริการ ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะเป็นจุดสินใจอีกอย่างนึง สำหรับว่าที่ลูกค้าของคุณในอนาคตครับ
ลองถ้าคุณเข้าใจการทำงานของ Google Places แล้ว การจะต่อยอดทางด้าน Local Search Marketing ไปยังแอปพลิเคชันเช่น Foursquare หรือบริการอื่นๆที่จะตามมาในอนาคตก็ไม่ยากแล้วล่ะครับ :)