xs
xsm
sm
md
lg

อัปเดตเทคโนโลยี : Intel 2nd Generation (Sandy Bridge) รับ CES2011

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




และแล้วก็ถึงเวลาที่ซีพียูอินเทล 2nd Generation รหัสใหม่ในนาม "Sandy Bridge" ก็กำลังจะประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน CES 2011 (Consumer Electronics Show) ด้วยความคาดหวังจากผู้ใช้จำนวนมากถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการใช้งานที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

Sandy Bridge ถูกแบ่งระดับตลาดออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคอมพิวเตอร์พีซี. เซิฟเวอร์ และโน้ตบุ๊ก ซึ่งถ้าแบ่งแยกย่อยเป็นชื่อรุ่นซีพียูที่อยู่ในตระกูล Sandy Bridge จะแบ่งได้เป็น



กลุ่มคอมพิวเตอร์พีซี
Core i7 Family (4 Core 8 Thread)

- Intel Core i7 2600K with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 3.4GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.8GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และ L3 Cache อยู่ที่ 8MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1350MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 9,700 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i7 2600 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 3.4GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.8GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และ L3 Cache อยู่ที่ 8MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1350MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 8,900 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i7 2600S with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.8GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.8GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 8MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1350MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 9,300 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

Core i5 Family (4 Core 4 Thread)

- Intel Core i5 2500K with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 3.3GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.7GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,600 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i5 2500 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 3.3GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.7GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,200 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i5 2500S with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.7GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.7GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,600 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i5 2500T with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.3GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 45W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1250MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,600 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i5 2400 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 3.1GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.4GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 5,600 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i5 2400S with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.5GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,000 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i5 2300 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.8GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.1GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 5,400 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 5 มกราคม 2011

Core i5 Family (2 Core 4 Thread)

- Intel Core i5 2390T with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.7GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.5GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 35W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,000 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2011

Core i3 Family (2 Core 4 Thread)

- Intel Core i3 2120 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 3.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 6,000 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2011

- Intel Core i3 2100 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 3.1GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 3,600 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2011

- Intel Core i3 2100T with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.5GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 35W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 3,800 บาท และเปิดตัวประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2011

Pentium Family (2 Core 2 Thread)

- Intel Pentium G850 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.9GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 2,600 บาท และวางจำหน่ายในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2011

- Intel Pentium G840 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.8GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 2,300 บาท และวางจำหน่ายในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2011

- Intel Pentium G620 with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.6GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 65W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 850MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 2,000 บาท และวางจำหน่ายในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2011

- Intel Pentium G620T with Intel Graphics HD 2000 จะมีความเร็ว 2.2GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 35W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 2000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 6 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับสนนราคาโดยประมาณจะอยู่ที่ 2,100 บาท และวางจำหน่ายในช่วงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2011

กลุ่มเซิฟเวอร์
Xeon-E3 Family (4 Core 8 Thread)

- Intel Xeon-E3 1280 จะมีความเร็ว 3.5GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1275 จะมีความเร็ว 3.4GHz มาพร้อมกราฟิก Intel HD3000 ในตัว ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1270 จะมีความเร็ว 3.4GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 80W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1260L จะมีความเร็ว 2.4GHz มาพร้อมกราฟิก Intel HD2000 ในตัว ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 45W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1245 จะมีความเร็ว 3.3GHz มาพร้อมกราฟิก Intel HD3000 ในตัว ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1240 จะมีความเร็ว 3.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 80W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1235 จะมีความเร็ว 3.2GHz มาพร้อมกราฟิก Intel HD3000 ในตัว ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1230 จะมีความเร็ว 3.2GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 80W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

Xeon-E3 Family (4 Core 4 Thread)

- Intel Xeon-E3 1225 จะมีความเร็ว 3.1GHz มาพร้อมกราฟิก Intel HD3000 ในตัว ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 95W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

- Intel Xeon-E3 1220 จะมีความเร็ว 3.1GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 80W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

Xeon-E3 Family (2 Core 4 Thread)

- Intel Xeon-E3 1220L จะมีความเร็ว 2.2GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 20W และวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางอินเทลยังไม่เปิดเผยรายแต่อย่างใด

สำหรับในส่วนของ L3 Cache ในรุ่น 1220, 1280, 1275, 1270, 1260L, 1245, 1240, 1235, 1230 จะอยู่ที่ 8MB ส่วน 1225 จะอยู่ที่ 6MB และ 1220L จะอยู่ที่ 3MB

อ่านต่อหน้าสอง

กลุ่มโน้ตบุ๊ก
Core i7 Family (4 Core 8 Thread)

- Intel Core i7 Extreme 2920XM with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.5GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.5GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 55W และ L3 Cache อยู่ที่ 8MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1300MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ประมาณ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i7 2820QM with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.3GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.4GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 45W และ L3 Cache อยู่ที่ 8MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1300MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ประมาณ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i7 2720QM with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.2GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 45W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1300MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ประมาณ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i7 2715, 2710QM with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.1GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.0GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 45W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ประมาณ 5 มกราคม 2011

- Intel Core i7 2630QM with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.0GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 2.8GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 45W และ L3 Cache อยู่ที่ 6MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ประมาณ 5 มกราคม 2011

Core i7 Family (2 Core 4 Thread)

- Intel Core i7 2620M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.7GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.4GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 35W และ L3 Cache อยู่ที่ 4MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1300MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

- Intel Core i7 2649M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.3GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.2GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 25W และ L3 Cache อยู่ที่ 4MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 500MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

- Intel Core i7 2629M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.1GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.0GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 25W และ L3 Cache อยู่ที่ 4MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 500MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1100MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

- Intel Core i7 2657M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 1.6GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 2.7GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 17W และ L3 Cache อยู่ที่ 4MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 350MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1000MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

- Intel Core i7 2617M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 1.5GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 2.6GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 17W และ L3 Cache อยู่ที่ 4MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 350MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 900MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

Core i5 Family (2 Core 4 Thread)

- Intel Core i5 2537M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 1.4GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 2.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 17W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 350MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 900MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

- Intel Core i5 2540M with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.6GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.3GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 35W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1150MHz

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

- Intel Core i5 2520M, 2515E, 2510E with Intel Graphics HD 3000 จะมีความเร็ว 2.5GHz แต่เมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost จะสามารถดันความเร็วสูงสุดได้ที่ 3.2GHz ในส่วนของค่า TDP จะอยู่ที่ 35W และ L3 Cache อยู่ที่ 3MB

สำหรับความเร็วของแกนประมวลผลกราฟิก HD 3000 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 650MHz ส่วน Shader Cores จะอยู่ที่ 12 ยูนิต และเมื่อใช้งานร่วมกับ Intel Turbo Boost ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาจะสามารถวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 1150MHz (2520M) และ 1050MHz (2515E และ 2510E)

สำหรับวันเปิดตัวจะอยู่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2011

Celeron Family (2 Core 2 Thread)

สำหรับซีพียูในตระกูล Celeron "Sandy Bridge" ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากอินเทล จะมีเพียงรายละเอียดของ L3 Cache ที่มีอยู่เพียง 2MB เท่านั้น

จุดเด่นและความน่าสนใจของ Sandy Bridge


 
สำหรับจุดเด่นของซีพียูในรหัส Sandy Bridge นอกจากซีพียูจะใช้สถาปัตยกรรมการผลิตที่ 32 นาโนเมตรเฉกเช่นเดียวกับ รหัส Westmere Clarkdale และ Arrandale และซีพียูรหัส Sandy Bridge ยังมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของตัวแกนซีพียูและแกนกราฟิก iGFX (Integrate Graphic Acceleration) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการปรับ Die จากรหัส Westmere ที่บรรจุ Die 2 ตัวเพราะเนื่องจากขนาดเทคโนโลยีการผลิตในส่วนของซีพียูและกราฟิกชิป iGFX ไม่เท่ากัน (ซีพียู 32 นาโนเมตร, iGFX 45 นาโนเมตร) แต่ในตระกูล Sandy Bridge จะมีการปรับ Die บนแกนซีพียูให้เหลือ Die เดียว โดย Die ซีพียูและ Die iGFX จะถูกรวมกันบนเทคโนโลยีการผลิตที่ 32 นาโนเมตร และมีการปรับเปลี่ยน Socket ที่ใช้ใส่ซีพียูเป็น LGA-1155 สำหรับ Desktop PC ส่วนเซิฟเวอร์จะเป็น LGA-2011 ในระดับ High-End และ LGA-1155 ในระดับ Mainstream และ Entry



ซึ่งเมื่อผู้อ่านลองเจาะเข้าไปดูรายละเอียดบน Die ของซีพียูอินเทลตระกูล Sandy Bridge จะเห็นว่าทางอินเทลได้ออกแบบโครงสร้างและตำแหน่งของชุดคำสั่งใหม่หมด อย่างการปรับเปลี่ยน Memory Controller และ Northbridge เป็น System Agent & Memory Controller พร้อมจัดสัดส่วนของ L3 Cache ใหม่ให้มีขนาดที่เท่าเทียมกับแกนทำงานของซีพียูและการนำ Processor Graphics มาจัดเรียงประกบระหว่างแกนการทำงาน System Agent และ L3 (Last Level Cache) โดยมี Ring Bus เป็นตัวช่วยจัดการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน ทำให้การส่งข้อมูลทำงานได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งเมื่อแกนซีพียูและแกนกราฟิกอยู่บน Die ตัวเดียวกันแล้วยิ่งช่วยลดช่องว่างในการส่งข้อมูล ทำให้ค่าดีเลย์และความร้อนสะสมต่ำลง ซึ่งจะแตกต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่การรับ-ส่งข้อมูลระหว่างชุดคำสั่งต่างๆ จะใช้การจัดเรียงลำดับความสำคัญ (คล้ายต่อคิวซื้ออาหาร) ทำให้เกิดปัญหาคอขวดเมื่อข้อมูลมีจำนวนมากได้

นอกจากที่อินเทลจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในแล้ว ในซีพียูตระกูล Sandy Bridge ยังมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในส่วนของ Intel Advanced Vector Extensions (AVX) จากเดิม 128-bit เป็น 256-bit อีกทั้งในอนาคตทางอินเทลยังต้องการเข็น AVX ให้รองรับกับแอปพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อช่วยให้การทำงานสามารถทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมระบบ Intel Turbo Boost ที่ปรับปรุ่งใหม่เป็นเวอร์ชั่น 2.0 พร้อมการคำนวณค่า TDP และความร้อนจะทำได้เที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



มาที่ส่วนของกราฟิก iGFX รุ่นล่าสุดที่จะถูกบรรจุมาพร้อมกับ Sandy Bridge ในปัจจุบันมีอยู่ 2 รุ่น คือ Intel HD Graphics 2000 และ 3000 ที่ทางอินเทลคุยไว้ว่าจะเร็มกว่ารุ่นก่อหน้าถึง 2 เท่า รองรับชุดคำสั่ง DirectX 10.1 และสามารถทำงานร่วมกับ L3 Cache และ Intel AVX เพื่อเร่งประสิทธิภาพตัวมันเองได้ อย่างวิดีโอตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่า Sandy Bridge ในกลุ่มโน้ตบุ๊กสามารถใช้ iGFX รันเกม Starcraft 2 ได้อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องใช้กราฟิกชิปแบบแยก แต่ถึงอย่างไรถ้านำ iGFX ของ Sandy Bridge ไปใช้งานร่วมกับเกมที่มีกราฟิกฮาร์ดคอร์อย่าง Crysis 2, Metro 2033 ตัว iGFX อาจยังทำงานได้ไม่ดีนัก เพราะอย่างที่ทราบกันแล้วว่าตัว iGFX รุ่น 2000 และ 3000 ยังมีจำนวน Shader Core ที่ต่ำ และสำหรับสาวกฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ก็คงต้องพึ่งกราฟิกการ์ดภายนอกอยู่ดี

แต่ทั้งนี้ถ้าพูดถึงประเด็นการนำ iGFX มาใช้งานร่วมกับการประมวลผลและถอดรหัสวิดีโอพบว่า iGFX รุ่น 2000 และ 3000 จากที่ทดสอบการถอดรหัสวิดีโอบนโน้ตบุ๊กในงาน Workshop ของอินเทลพบว่าสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่า CUDA ของ NVIDIA ค่อนข้างมาก อีกทั้งในส่วนของประสิทธิภาพในการแสดงผลมัลติมีเดีย ยังทำได้ดีกว่า Hardware Acceleration บนกราฟิกการ์ดอยู่พอสมควร ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับอย่างมาก และน่าจะเป็นจุดขายของอินเทลมากกว่าเรื่อง ใช้ iGFX เพื่อการเล่นเกม



นอกจากนั้นในส่วนของคุณสมบัติพิเศษที่ทางอินเทลได้พัฒนามาให้กับซีพียูรหัส Sandy Bridge เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องระบบมัลติมีเดียให้ดียิ่งขึ้น ก็ถือได้ว่าเป็นไม้ตายอีกหนึ่งอย่างของอินเทลที่น่าสนใจอย่างมาก โดยคุณสมบัติพิเศษที่ถูกเพิ่มเข้ามาในซีพียูรหัส Sandy Bridge มีดังต่อไปนี้



- Intel Quick Sync Video หลายท่านที่ใช้กราฟิกการ์ดของ NVIDIA ตั้งแต่ Series-8 ขึ้นไปคงรู้จักเทคโนโลยี CUDA เป็นอย่างดี เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวของ NVIDIA ได้นำไปใช้ควบคู่กับกราฟิกการ์ดของตน เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการถอดรหัสวิดีโอรวมถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ ให้สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าใช้ประสิทธิภาพจากซีพียูโดยตรง และดูเหมือนจะได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางอินเทลคิดค้นพัฒนาคุณสมบัติพิเศษดังกล่าวไปใส่ไว้ในซีพียูตระกูล Sandy Bridge พร้อมความแรงที่เพิ่มขึ้น 17 เท่าจากรุ่นก่อนหน้า

สำหรับซอฟท์แวร์ที่รองรับระบบ Intel Quick Sync Video อย่างสมบูรณ์แบบที่ออกวางจำหน่ายแล้วได้แก่ MediaConverter 7 จาก ArcSoft และจะมีซอฟท์แวร์จาก CyberLink และ Corel ออกตามมาในอนาคต

- Intel InTru 3D / Clear Video HD ระสำหรับคุณสมบัติพิเศษอีกหนึ่งอย่างที่พวกชอบเล่น Home Entertainment บนพีซีน่าจะชื่นชอบ เพราะคุณสมบัติ Intel InTru 3D / Clear Video HD ที่จะถูกบรรจุลงมาในซีพียูตระกูล Sandy Bridge จะช่วยให้การแสดงผลภาพจากฟอร์แม็ต Blu-Ray, H.264, AVCHD และ 3D Blu-ray ผ่าน HDMI 1.4 ทำได้ดียิ่งขึ้น เพราะจากเอกสาร Sandy Bridge ในงาน IDF (Intel Developer Forum) 2010 ทางอินเทลพยายามผลักดันเทคโนโลยี 3D อย่างมาก โดยในเอกสารยังระบุอีกว่าใน Sandy Bridge ผู้ใช้สามารถรันภาพยนตร์จากฟอร์แม็ต Blu-Ray 3D ผ่าน HDMI 1.4 ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพากราฟิกการ์ดเหมือนสมัยก่อนแต่อย่างใด

- WiDi 2.0 (Wireless Display 2.0) เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษที่อินเทลพยายามพัฒนาจากเวอร์ชั่นแรกๆ ที่ได้รับคำวิจารณ์ในทางไม่ดีนัก แต่ในเวอร์ชัน 2.0 ทางอินเทลได้พัฒนาประสิทธิภาพความเร็วในการส่งข้อมูลด้านภาพและเสียงแบบใหม่ (จากการคาดการณ์น่าจะใช้ Wireless Lan draft-N เป็นฐานระบบ) ทำให้สามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบ 1080p ผ่านระบบ WiFi ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ได้ทันที

เทคโนโลยีใหม่มาพร้อมโลโก้ใหม่



ทุกครั้งที่อินเทลมีการเปิดตัวซีพียูรหัสหรือชื่อใหม่ ก็จะมีการรีแบรนด์โลโก้แสดงความเป็นตัวตนใหม่ทุกครั้ง อย่างในรหัส Sandy Bridge ทางอินเทลก็ได้ปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่อีกครั้งครั้ง

Lenovo ThinkPad Edge E220s and E420s คือโน้ตบุ๊กตัวแรกที่ใช้ Sandy Bridge



ตามข่าวประชาสัมพันธ์จากเลอโนโวและอินเทลในงาน CES2011 พบว่าโน้ตบุ๊กตัวแรก (ในกลุ่มวางจำหน่ายไม่ใช่ Prototype) ที่จะถูกใช้ซีพียูรหัส Sandy Bridge จะเป็นโน้ตบุ๊กจากแบรนด์เลอโนโวในรุ่น ThinkPad Edge E220s และ E420s โดยสเปกที่หลุดออกมาตอนนี้คือ ตัวเครื่องจะใช้ซีพียู Intel Core i5 และ i7 มีหน้าจอขนาด 12.5 นิ้วสำหรับรุ่น E220s และ 14 นิ้วสำหรับรุ่น E420s หน้าจอเป็น edge-to-edge glass displays มีกล้องเว็บแคมแบบ HD กราฟิกชิปสำหรับรุ่น E220s จะใช้ iGFX บน Sandy Bridge ส่วนรุ่น E420s จะมีกราฟิกแยก AMD Radeon HD 6630M ติดตั้งมาให้สามารถใช้สลับกราฟิกชิปใช้งานได้

ในส่วนของสนนราคาน่าจะอยู่ที่ประมาณ 23,000 - 30,000 บาท

ก้าวต่อไปของอินเทล

ทั้งๆ ที่อินเทลยังไม่ได้เริ่มวางจำหน่าย Sandy Bridge อย่างเป็นทางการ แต่อินเทลก็เตรียมขั้นตอนพัฒนาและผลิตซีพียูในรหัสต่อไปแล้วในชื่อ Ivy Bridge, Haswell และ Rockwell โดย Ivy Bridge และ Haswell น่าจะมาพร้อมสถาปัตยกรรมการผลิตที่ 22 นาโนเมตร ส่วน Rockwell จะมาพร้อมสถาปัตยกรรมการผลิตที่ 16 นาโนเมตร โดยในส่วนของ CPU+iGFX in 1 Die จะยังคงอยู่ แต่จะมีการเพิ่มจำนวน Shader Core ให้สูงขึ้นเป็น 24 ยูนิต พร้อมพัฒนาให้ iGFX ตัวต่อไปรองรับชุดคำสั่ง DirectX 11 ในตัวเอง

จาก 180-32 นาโนเมตร ความเศร้าบนความดีใจ

นับเป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเสียจริงๆ สำหรับแบรนด์ผู้ผลิตซีพียูยักษ์ใหญ่อย่างอินเทล ที่พยายามพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีต่างๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งก็นับเป็นข้อดีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่สำหรับผู้บริโภคแล้วอาจเหมือนเป็นฝันร้ายที่เทคโนโลยีจะเริ่มตกกระป๋องกันเร็วมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าการแข่งขันระหว่างอินเทลและเอเอ็มดีมีอยู่ตลอด ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็งัดกลเม็ดต่างๆ มางัดข้อกันอย่างเมามัน จนทำให้ผลเสียมาตกกับผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะต้องคอยอัปเกรดเปลี่ยนสเปกคอมพิวเตอร์กันบ่อยครั้ง เพื่อจะได้ใช้งานซอฟท์แวร์ที่โหมตามกระแสเทคโนโลยีของซีพียูได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ถึงอย่างไรในความเศร้าก็ยังมีความรู้สึกดีเล็กๆ ในใจที่ผู้บริโภคจะได้มีโอกาสเห็นเทคโนโลยีที่ตอบสนอง Lifestyle และความสะดวกสบาย พร้อมราคาที่ต่ำลงให้ชื่นชมอยู่บ้าง

ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรก็สามารถมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่กล่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างหรือที่ Twitter ของผม @dorapenguin ได้เลยครับ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพบางส่วนจาก : wikipedia.com, engadget.com, และ anandtech.com

Company Relate Link :
Intel
















กำลังโหลดความคิดเห็น