ไอบีเอ็มประกาศทิศทางธุรกิจรอบปี 50 เน้น 2 ยุทธศาสตร์คือ การช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ได้โซลูชันที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมในแบบความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่อยู่ในระบบ
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจรอบปี 2550 ว่า ไอบีเอ็มจะมุ่งเน้น 2 เรื่องหลักคือ 1.Delivering Client Value ซึ่งเป็นการช่วยให้ลูกค้าสามารถประยุกต์ใช้ความเชี่ยวชาญที่ไอบีเอ็มมี และ Business Insights มาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 2. Corporate Social Responsibility การแสดงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมในรูปแบบ Collaborative Citizenship ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่การร่วมมือกับทุกภาคฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบ รวมถึงการประยุกต์ใช้ไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย
สำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของไอบีเอ็มในด้านธุรกิจไอที อินฟราสตรักเจอร์ จะมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมของไอบีเอ็มไปช่วยลูกค้าเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำธุรกิจและเสริมมูลค่าทางธุรกิจให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องใน 4 แนวทางคือ
1.Leveraging Information หรือการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม 2.IT Optimization แนวคิดการนำเทคโนโลยีเพื่อใช้ผลักดันให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรด้านไอทีที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้ประโยชส์สูงสุด โดยไอบีเอ็มต้องการผลักดันเทคโลยีในส่วนของการจัดการศูนย์ข้อมูล หรือดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบเสมือนจริง หรือเวอร์ชวลไลเซชัน
3. Business Continuity การนำไอทีไปใช้พัฒนาระบบไอทีในองค์กร เพื่อให้สอดรับกับระบบธรรมาภิบาล นำเทคโนโลยีมาใช้บริหารความเสี่ยง และรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง 4.Business Flexibility หรือการเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร โดยเน้นหนักไปในเรื่องของการช่วยเหลือลูกค้า ปรับระบบไอทีและกระบวนการภายในไปตามสถาปัตยกรรม Service-Oriented Architecture (SOA)
ส่วน Client Value ไอบีเอ็มมีทีมให้คำปรึกษา ทีมบริการ ทีมขายที่ดูแลลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรม ที่ร่วมนำเสนอโซลูชันที่รวมเอาความเชี่ยวชาญ ความรู้ความเข้าใจและวิสัยทัศน์ในสายธุรกิจ และนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าในแต่ละกลุ่มแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อสาร กลุ่มธุรกิจรีเทล ธนาคารลูกค้ากลุ่มย่อย ซึ่งลักษณะเฉพาะของธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องมีศักยภาพเฉพาะด้าน
กลุ่ม Smart Moves with RFID ซึ่งไอบีเอ็มยังคงเดินหน้าแนะนำและช่วยลูกค้าในธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจ ที่ต้องควบคุมสินค้าที่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโลยี RFID
อีกกลุ่มคือ Healthcare Reform-Patient Centric Care ที่ไอบีเอ็มเห็นว่าอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลการดำเนินงานในระยะยาว เช่น การที่ผู้ป่วยสามารถสืบค้นและเข้าถึงประวัติการรักษาของตัวเอง ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น
“ทั้งสามส่วนนี้เราจะพยายามทำให้เกิดพร้อมๆ กันในไทย ซึ่งการรุกเข้าไปเซกเมนต์เหล่านี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับไอบีเอ็ม เพราะเรามีฐานขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นบริษัทไอทีขนาดใหญ่”
ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 2 ไอบีเอ็มจะเน้น 4 เรื่องหลักคือ 1.Corporate Governance & Supply Chain ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้องกับทุกคนที่ไอบีเอ็มทำธุรกิจด้วย สามารถติติงในการดำเนินงานหรือระบบของเทคโนโลยีได้ 2.Human Resources ซึ่งไอบีเอ็มได้มีการเซ็นเอ็มโอยูกับ 3 กระทรวง 8 มหาวิทยาลัยไปแล้ว เพื่อพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ในเรื่องการสร้างนวัตกรรมการให้บริการ และการพัฒนาบุคลากร 3. Corporate community Relations ซึ่งมีหลายโปรแกรม เช่น มีการจัดแคมปัสให้กับนักเรียนม.ต้น ในการค้นคว้าเรื่องของเทคโนโลยี 4.Environmental Affairs เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยไอบีเอ็มมีการกำหนดนโยบายเรื่องนี้ไปตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งมีเจตนารมย์ชัดเจนที่ต้องการเป็นองค์กรผู้นำในการดำเนินธุริจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“เรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งทำแต่ปัจจุบันเป็นเหมือนความจำเป็นในการทำธุรกิจ เพราะลูกค้ามีอิสระในการทำธุรกิจ จำเป็นต้องทำตัวเป็นองค์กรที่มีคุณธรรม เพื่อให้ลูกค้ามองว่าเราจะสามารถส่งเสริมเขาไปในทิศทางที่ดีได้ และเชื่อว่าผู้ประกอบการหลายรายก็กำลังจะทำตรงนี้”
Company Related Links :
IBM
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจรอบปี 2550 ว่า ไอบีเอ็มจะมุ่งเน้น 2 เรื่องหลักคือ 1.Delivering Client Value ซึ่งเป็นการช่วยให้ลูกค้าสามารถประยุกต์ใช้ความเชี่ยวชาญที่ไอบีเอ็มมี และ Business Insights มาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 2. Corporate Social Responsibility การแสดงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมในรูปแบบ Collaborative Citizenship ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่การร่วมมือกับทุกภาคฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบ รวมถึงการประยุกต์ใช้ไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย
สำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของไอบีเอ็มในด้านธุรกิจไอที อินฟราสตรักเจอร์ จะมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมของไอบีเอ็มไปช่วยลูกค้าเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำธุรกิจและเสริมมูลค่าทางธุรกิจให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องใน 4 แนวทางคือ
1.Leveraging Information หรือการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม 2.IT Optimization แนวคิดการนำเทคโนโลยีเพื่อใช้ผลักดันให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรด้านไอทีที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้ประโยชส์สูงสุด โดยไอบีเอ็มต้องการผลักดันเทคโลยีในส่วนของการจัดการศูนย์ข้อมูล หรือดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบเสมือนจริง หรือเวอร์ชวลไลเซชัน
3. Business Continuity การนำไอทีไปใช้พัฒนาระบบไอทีในองค์กร เพื่อให้สอดรับกับระบบธรรมาภิบาล นำเทคโนโลยีมาใช้บริหารความเสี่ยง และรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง 4.Business Flexibility หรือการเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร โดยเน้นหนักไปในเรื่องของการช่วยเหลือลูกค้า ปรับระบบไอทีและกระบวนการภายในไปตามสถาปัตยกรรม Service-Oriented Architecture (SOA)
ส่วน Client Value ไอบีเอ็มมีทีมให้คำปรึกษา ทีมบริการ ทีมขายที่ดูแลลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรม ที่ร่วมนำเสนอโซลูชันที่รวมเอาความเชี่ยวชาญ ความรู้ความเข้าใจและวิสัยทัศน์ในสายธุรกิจ และนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าในแต่ละกลุ่มแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อสาร กลุ่มธุรกิจรีเทล ธนาคารลูกค้ากลุ่มย่อย ซึ่งลักษณะเฉพาะของธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องมีศักยภาพเฉพาะด้าน
กลุ่ม Smart Moves with RFID ซึ่งไอบีเอ็มยังคงเดินหน้าแนะนำและช่วยลูกค้าในธุรกิจต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจ ที่ต้องควบคุมสินค้าที่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโลยี RFID
อีกกลุ่มคือ Healthcare Reform-Patient Centric Care ที่ไอบีเอ็มเห็นว่าอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลการดำเนินงานในระยะยาว เช่น การที่ผู้ป่วยสามารถสืบค้นและเข้าถึงประวัติการรักษาของตัวเอง ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น
“ทั้งสามส่วนนี้เราจะพยายามทำให้เกิดพร้อมๆ กันในไทย ซึ่งการรุกเข้าไปเซกเมนต์เหล่านี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับไอบีเอ็ม เพราะเรามีฐานขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นบริษัทไอทีขนาดใหญ่”
ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 2 ไอบีเอ็มจะเน้น 4 เรื่องหลักคือ 1.Corporate Governance & Supply Chain ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้องกับทุกคนที่ไอบีเอ็มทำธุรกิจด้วย สามารถติติงในการดำเนินงานหรือระบบของเทคโนโลยีได้ 2.Human Resources ซึ่งไอบีเอ็มได้มีการเซ็นเอ็มโอยูกับ 3 กระทรวง 8 มหาวิทยาลัยไปแล้ว เพื่อพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ในเรื่องการสร้างนวัตกรรมการให้บริการ และการพัฒนาบุคลากร 3. Corporate community Relations ซึ่งมีหลายโปรแกรม เช่น มีการจัดแคมปัสให้กับนักเรียนม.ต้น ในการค้นคว้าเรื่องของเทคโนโลยี 4.Environmental Affairs เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยไอบีเอ็มมีการกำหนดนโยบายเรื่องนี้ไปตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งมีเจตนารมย์ชัดเจนที่ต้องการเป็นองค์กรผู้นำในการดำเนินธุริจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“เรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งทำแต่ปัจจุบันเป็นเหมือนความจำเป็นในการทำธุรกิจ เพราะลูกค้ามีอิสระในการทำธุรกิจ จำเป็นต้องทำตัวเป็นองค์กรที่มีคุณธรรม เพื่อให้ลูกค้ามองว่าเราจะสามารถส่งเสริมเขาไปในทิศทางที่ดีได้ และเชื่อว่าผู้ประกอบการหลายรายก็กำลังจะทำตรงนี้”
Company Related Links :
IBM