ผลพวงมาตรการล้อมคอกแบตฯมือถือระเบิด ไอซีที 2 ปีก่อน “คอมมี่” รับ มอก. รายแรกจากกระทรวงอุตสาหกรรม งานนี้ส่งผลแบตฯปลอมแบตฯเถื่อนหลุดหายจากตลาด แต่ผู้บริหารยังหวั่น ขนาดยังไม่มีใบรับรองตลาดมืดและแบตจีนยังลอบขายเกลื่อน เตือนผู้ซื้อ อย่ามองแต่เรื่องราคา สำหรับรายได้ปีที่ผ่านมารับไป 237 ล้านบาท โดยเติบโตจากปี 2548 อยู่ประมาณ 14% ตลาดใหญ่ยังคงเป็นแบตฯมือถือ เล็งตลาดใหม่กลุ่มกล้องและเปลี่ยนไส้โน้ตบุ๊คลูกค้าองค์กร คาดรายได้ปีนี้เติบโต ขึ้น 10 %
นายชวลิต มโนวิลาส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บราโว อีเลคทรอนิคส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ “คอมมี่” กลุ่มแบตเตอรี่มือถือและอุปกรณ์เสริมด้าน IT Accessories กล่าวว่า บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในกลุ่มแบตฯ มือถือ แบตฯกล้องดิจิตอล และถ่านชาร์จ AA,AAA ที่กระทรวงอุตสาหรรม ได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาให้ผู้ผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าวต้องได้รับมาตรฐาน มอก. ก่อนจัดจำหน่ายสินค้า
ทั้งนี้การได้รับมาตรฐานดังกล่าว เป็นผลมาจาก กรณีเหตุการณ์แบตเตอรี่มือถือระเบิด เมื่อ 2ปีก่อนทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ในสมัยน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลีหามาตรการป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้ประสานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการจัดมาตรฐานและการรับรองเพื่อไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก ประกอบกับได้มีกลุ่มผู้ค้านำแบตเตอรี่จากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านลักลอบหนีภาษีและเป็นของปลอมนำเข้ามาจำหน่าย
“หลังจากนี้สินค้าที่เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้การรับรอง ซึ่งเป็นพวกกลุ่มแบตฯลักลอบนำข้า ของปลอม ก็จะหายไปจากตลาดแต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะดำเนินการอย่างจริงจัง หรือ ผู้บริโภคจะตระหนักแค่ไหน เพราะเรื่องปัจจัยราคาเป็นตัวสำคัญในการเลือกซื้อมากกว่าคำนึงถึงความปลอดภัยและคุณภาพ”
ส่วนแบตเตอรี่ของรายอื่นที่อยู่ในตลาดตอนนี้ที่เป็นของผู้ผลิตรายอื่นหรือแบรนด์อื่น ยังเป็นแบตเตอรี่ที่ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐาน มอก.โดยเป็นสินค้าที่คงคลัง แต่เชี่อว่าในเร็วๆนี้ก็จะได้รับรอง เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาต ดังนั้นสินค้าในตลาดช่วงนี้ผู้บริโภค ก่อนซื้อต้องทำการตรวจสอบและถามผู้ขาย ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
อย่างไรก็ตามการมี มาตรฐาน มอก.เกิดขึ้น ไม่ได้ทำสินค้าของปลอม หรือ ไม่มีคุณภาพหมดไปจากตลาดเพราะที่ผ่านมาสินค้า เหล่านี้มีกลุ่มผู้ค้าบางรายยังดำเนินการลักลอบเลียบแบบได้โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่มาจากประเทศจีนและผู้บริโภคให้ความสนใจ เนื่องจากทำราคาขายที่ต่ำกว่าราคาจริงเกินกว่า 50%
เขากล่าวอีกว่า แบตเตอรี่ยี่ห้อคอมมี่ถือเป็นแบตเตอรี่ยี่ห้อท้องถิ่นแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน มอก.จากกระทรวงอุตสาหกรรมจากก่อนหน้าบริษัทฯได้รับ 2 มาตรฐานการผลิตคือ ISO และ NAC ซึ่งการได้รับครั้งนี้จะเข้ามาช่วยเสริมเป็นจุดแข็งให้สินค้าแบตเตอรี่ยี่ห้อคอมมี่แตกต่างไปจากสินค้าทั่วไป
หลังจากเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คอมมี่ ได้ออกแบตเตอรี่รุ่นใหม่ “คอมมี่ เซฟตี้ วาล์ว” เทคโนโลยีชั้นสูงลิขสิทธิ์แท้จากประเทศญี่ปุ่น วาล์วอัจฉริยะ 2 ชั้น ป้องกันการระเบิด ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคและร้านค้าตัวแทนจำหน่าย
นายชัชวาลย์ วิภูเสถียร กรรมการผู้อำนวยการ บราโว อีเลคทรอนิคส์ กล่าวถึงภาพรวมของตลาดจำหน่ายแบตเตอรี่ของไทยว่า ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของการจำหน่ายอยู่ในระดับคงที่ โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2 พันล้านบาท โดยตลาดใหญ่จะเป็นกลุ่มแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ส่วนกลุ่มกล้องดิจิตอลมีอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนกลุ่มอื่นอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก โดยเหตุที่มือถือมีสัดส่วนมากเนื่องจาก ตัวเครื่องมีจำนวนการใช้งานเกินกว่า 40 ล้านเครื่อง จึงทำให้มีการซื้อแบตเตอรี่ทดแทนและสำรอง แต่ในช่วงที่ผ่านมาตลาดแบตเตอรี่มือถือมีอัตราเติบโตคงที่ ต่างกับตลาดแบตเตอรี่กล้องดิจิตอล มีอัตราเติบโตต่อเนื่องกว่า30%
สำหรับ คอมมี่ มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 13% ส่วนตลาดกลุ่มแบตเตอรี่ของผู้ผลิตรายอื่นที่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง หรือ ของผลิตภัณฑ์ อยู่ประมาณ 5-6% ส่วนที่เหลือจะเป็นแบตฯที่นำเข้ามาจากจีน หรือ แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐาน เกือบ 90%โดยรายได้ของ บริษัทฯ ในปีที่ผ่านมา มีรายได้ 237 ล้านบาท โดยเติบโตจากปี 2548 อยู่ประมาณ 14% จากที่ตั้งเป้าไว้ 15% โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีกำลังการผลิตสินค้าแบตเตอรี่อยู่ที่ 1.5-2 แสนก้อนต่อเดือน แต่ใช้อยู่ที่ 6 หมื่นก้อนต่อเดือน แบ่งสัดส่วนเป็นแบตเตอรี่มือถือ 80% ที่เหลือ20%เป็นแบตเตอรี่อื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทได้ดำเนินการผลิตออกสู่ตลาด ภายใต้เครื่องหมายการค้า “คอมมี่” อาทิ แบตเตอรี่มือถือ, แบตเตอรี่กล้องดิจิตอล, ถ่านชาร์จ AA, AAA รวมถึงอุปกรณ์เสริมด้านมือถือ อาทิ เช่น แท่นชาร์จ, สายชาร์จ, หูฟัง ฯลฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการบริการรับเปลี่ยนไส้แบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค และบริษัทยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้เป็นตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง
การออกสินค้าใหม่ในปีนี้ บริษัทฯ มุ่งเน้นไปที่แบตเตอรี่กล้องดิจิตอล และถ่านชาร์ท AA, AAA เพราะสินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้น จึงคาดว่าอุปกรณ์เสริมน่าจะเติบโตตามไปด้วย ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คอมมี่ เซฟตี้ วาล์ว โดยผ่านช่องทางตัวแทนจำหน่าย COMMY ทั่วประเทศ กว่า 300 ราย เพราะตัวแทนจำหน่ายต่างตอบรับในคุณภาพสินค้าของคอมมี่นั่นเองพร้อมทั้งช่องทางห้างสรรพสินค้า ได้แก่ Power Buy และ IT CITY
“ปีนี้ถือเป็นปีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เพราะสินค้าจากจีนเข้ามาทำตลาดในราคาต่ำ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพทำให้คอมมี่ต้องรุกตลาดและตอกย้ำแบรนด์เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับผู้บริโภค จึงเน้นการทำตลาด Below The Line มากยิ่งขึ้น โดยเราได้เตรียมงบโฆษณาและประชาสัมพันธ์ไว้กว่า 10 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ผู้บริโภคได้เกิดการทดลองใช้และเพื่อสร้างความเข้าใจด้านมาตรฐานความปลอดภัย ควบคู่ไปกับการจัดรายการส่งเสริมการขายทั้งปี”
นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า สมอ.ได้เชิญผู้ประกอบการและตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติในการยื่นขอรับการรับรองแล้ว จึงขอเชิญผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ติดต่อยื่นขอการรับรอง ให้รีบดำเนินการยื่นขอการรับรองโดยเร็ว เพราะตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการที่ทำ หรือนำเข้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม มอก.2217-2548 นอกจากจะมีโทษตามกฎหมายแล้วจะไม่สามารถทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายภายในประเทศได้
Company Related Links :
Commy
นายชวลิต มโนวิลาส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บราโว อีเลคทรอนิคส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ “คอมมี่” กลุ่มแบตเตอรี่มือถือและอุปกรณ์เสริมด้าน IT Accessories กล่าวว่า บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในกลุ่มแบตฯ มือถือ แบตฯกล้องดิจิตอล และถ่านชาร์จ AA,AAA ที่กระทรวงอุตสาหรรม ได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาให้ผู้ผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าวต้องได้รับมาตรฐาน มอก. ก่อนจัดจำหน่ายสินค้า
ทั้งนี้การได้รับมาตรฐานดังกล่าว เป็นผลมาจาก กรณีเหตุการณ์แบตเตอรี่มือถือระเบิด เมื่อ 2ปีก่อนทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ในสมัยน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลีหามาตรการป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้ประสานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการจัดมาตรฐานและการรับรองเพื่อไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก ประกอบกับได้มีกลุ่มผู้ค้านำแบตเตอรี่จากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านลักลอบหนีภาษีและเป็นของปลอมนำเข้ามาจำหน่าย
“หลังจากนี้สินค้าที่เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้การรับรอง ซึ่งเป็นพวกกลุ่มแบตฯลักลอบนำข้า ของปลอม ก็จะหายไปจากตลาดแต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะดำเนินการอย่างจริงจัง หรือ ผู้บริโภคจะตระหนักแค่ไหน เพราะเรื่องปัจจัยราคาเป็นตัวสำคัญในการเลือกซื้อมากกว่าคำนึงถึงความปลอดภัยและคุณภาพ”
ส่วนแบตเตอรี่ของรายอื่นที่อยู่ในตลาดตอนนี้ที่เป็นของผู้ผลิตรายอื่นหรือแบรนด์อื่น ยังเป็นแบตเตอรี่ที่ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐาน มอก.โดยเป็นสินค้าที่คงคลัง แต่เชี่อว่าในเร็วๆนี้ก็จะได้รับรอง เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาต ดังนั้นสินค้าในตลาดช่วงนี้ผู้บริโภค ก่อนซื้อต้องทำการตรวจสอบและถามผู้ขาย ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
อย่างไรก็ตามการมี มาตรฐาน มอก.เกิดขึ้น ไม่ได้ทำสินค้าของปลอม หรือ ไม่มีคุณภาพหมดไปจากตลาดเพราะที่ผ่านมาสินค้า เหล่านี้มีกลุ่มผู้ค้าบางรายยังดำเนินการลักลอบเลียบแบบได้โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่มาจากประเทศจีนและผู้บริโภคให้ความสนใจ เนื่องจากทำราคาขายที่ต่ำกว่าราคาจริงเกินกว่า 50%
เขากล่าวอีกว่า แบตเตอรี่ยี่ห้อคอมมี่ถือเป็นแบตเตอรี่ยี่ห้อท้องถิ่นแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน มอก.จากกระทรวงอุตสาหกรรมจากก่อนหน้าบริษัทฯได้รับ 2 มาตรฐานการผลิตคือ ISO และ NAC ซึ่งการได้รับครั้งนี้จะเข้ามาช่วยเสริมเป็นจุดแข็งให้สินค้าแบตเตอรี่ยี่ห้อคอมมี่แตกต่างไปจากสินค้าทั่วไป
หลังจากเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คอมมี่ ได้ออกแบตเตอรี่รุ่นใหม่ “คอมมี่ เซฟตี้ วาล์ว” เทคโนโลยีชั้นสูงลิขสิทธิ์แท้จากประเทศญี่ปุ่น วาล์วอัจฉริยะ 2 ชั้น ป้องกันการระเบิด ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคและร้านค้าตัวแทนจำหน่าย
นายชัชวาลย์ วิภูเสถียร กรรมการผู้อำนวยการ บราโว อีเลคทรอนิคส์ กล่าวถึงภาพรวมของตลาดจำหน่ายแบตเตอรี่ของไทยว่า ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของการจำหน่ายอยู่ในระดับคงที่ โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2 พันล้านบาท โดยตลาดใหญ่จะเป็นกลุ่มแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ส่วนกลุ่มกล้องดิจิตอลมีอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนกลุ่มอื่นอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก โดยเหตุที่มือถือมีสัดส่วนมากเนื่องจาก ตัวเครื่องมีจำนวนการใช้งานเกินกว่า 40 ล้านเครื่อง จึงทำให้มีการซื้อแบตเตอรี่ทดแทนและสำรอง แต่ในช่วงที่ผ่านมาตลาดแบตเตอรี่มือถือมีอัตราเติบโตคงที่ ต่างกับตลาดแบตเตอรี่กล้องดิจิตอล มีอัตราเติบโตต่อเนื่องกว่า30%
สำหรับ คอมมี่ มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 13% ส่วนตลาดกลุ่มแบตเตอรี่ของผู้ผลิตรายอื่นที่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง หรือ ของผลิตภัณฑ์ อยู่ประมาณ 5-6% ส่วนที่เหลือจะเป็นแบตฯที่นำเข้ามาจากจีน หรือ แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตรฐาน เกือบ 90%โดยรายได้ของ บริษัทฯ ในปีที่ผ่านมา มีรายได้ 237 ล้านบาท โดยเติบโตจากปี 2548 อยู่ประมาณ 14% จากที่ตั้งเป้าไว้ 15% โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีกำลังการผลิตสินค้าแบตเตอรี่อยู่ที่ 1.5-2 แสนก้อนต่อเดือน แต่ใช้อยู่ที่ 6 หมื่นก้อนต่อเดือน แบ่งสัดส่วนเป็นแบตเตอรี่มือถือ 80% ที่เหลือ20%เป็นแบตเตอรี่อื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทได้ดำเนินการผลิตออกสู่ตลาด ภายใต้เครื่องหมายการค้า “คอมมี่” อาทิ แบตเตอรี่มือถือ, แบตเตอรี่กล้องดิจิตอล, ถ่านชาร์จ AA, AAA รวมถึงอุปกรณ์เสริมด้านมือถือ อาทิ เช่น แท่นชาร์จ, สายชาร์จ, หูฟัง ฯลฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการบริการรับเปลี่ยนไส้แบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค และบริษัทยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้เป็นตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง
การออกสินค้าใหม่ในปีนี้ บริษัทฯ มุ่งเน้นไปที่แบตเตอรี่กล้องดิจิตอล และถ่านชาร์ท AA, AAA เพราะสินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้น จึงคาดว่าอุปกรณ์เสริมน่าจะเติบโตตามไปด้วย ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คอมมี่ เซฟตี้ วาล์ว โดยผ่านช่องทางตัวแทนจำหน่าย COMMY ทั่วประเทศ กว่า 300 ราย เพราะตัวแทนจำหน่ายต่างตอบรับในคุณภาพสินค้าของคอมมี่นั่นเองพร้อมทั้งช่องทางห้างสรรพสินค้า ได้แก่ Power Buy และ IT CITY
“ปีนี้ถือเป็นปีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เพราะสินค้าจากจีนเข้ามาทำตลาดในราคาต่ำ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพทำให้คอมมี่ต้องรุกตลาดและตอกย้ำแบรนด์เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับผู้บริโภค จึงเน้นการทำตลาด Below The Line มากยิ่งขึ้น โดยเราได้เตรียมงบโฆษณาและประชาสัมพันธ์ไว้กว่า 10 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ผู้บริโภคได้เกิดการทดลองใช้และเพื่อสร้างความเข้าใจด้านมาตรฐานความปลอดภัย ควบคู่ไปกับการจัดรายการส่งเสริมการขายทั้งปี”
นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า สมอ.ได้เชิญผู้ประกอบการและตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติในการยื่นขอรับการรับรองแล้ว จึงขอเชิญผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ติดต่อยื่นขอการรับรอง ให้รีบดำเนินการยื่นขอการรับรองโดยเร็ว เพราะตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการที่ทำ หรือนำเข้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม มอก.2217-2548 นอกจากจะมีโทษตามกฎหมายแล้วจะไม่สามารถทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายภายในประเทศได้
Company Related Links :
Commy