บอร์ด ทีโอที ทำจริง ล้มวัฒนธรรมวิธีจัดซื้อพิเศษ ช่องทางรายได้เสริมผู้บริหาร ทีโอที หลังจากนี้ทุกโครงการเปิดประมูลอย่างเดียว หากจะขอพิเศษ ต้องยื่นเอกสารพร้อมลงนามคนรับผิดชอบ เข้าเสนอชี้แจงบอร์ดโดยตรง พล.ร.ท.ถมรัตน์ เผยเริ่มเห็นตอสีเทาแล้ว รอข้อมูลให้ชัดเจนส่ง คมช. สอบต่อทันที ส่วนเรื่องแก้สัญญาเอไอเอส พร้อมรับนโยบาย ขอเพียงไฟเขียวจากผู้ใหญ่
พลเรือโทถมรัตน์ หทโยดม คณะกรรมการ(บอร์ด)และโฆษก บริษัท ทีโอที เปิดเผยหลังการประชุม บอร์ดฯว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ยกเลิกโครงการจัดซื้อรูปแบบวิธีพิเศษของ ทีโอที ทั้งหมด ที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่บอร์ดได้พิจารณาแล้วเห็นถึงความไม่เหมาะสมในการจัดซื้อ โดยหลังจากนี้ไปหาก ทีโอที จะดำเนินการในการจัดซื้อแบบเร่งด่วน จะต้องนำเสนอผ่านบอร์ดทุกครั้ง พร้อมกับให้ ผู้รับผิดชอบหรือผู้เกี่ยวข้องลงนามรับรองชี้แจงถึงรายละเอียดของการจัดซื้อ ผลตอบแทนหรือ สิ่งที่ได้รับจากการลงทุน โดยบอร์ดจะนำมาประกอบพิจารณา หากไม่เหมาะสมก็จะไม่ดำเนินการ และถ้าไม่เร่งด่วน ทางฝ่ายบริหารจะต้องทำในรูปแบบการจัดซื้อตามขั้นตอนปกติ คือ การประมูลให้ทุกรายเข้ามาเสนอราคา แข่งขัน
“จากนี้ไป ทีโอที จะไม่มีการจัดซื้อวิธีพิเศษอีกแล้ว โดยจะดำเนินการตามขั้นตอนปกติ ส่วนเรื่องการเอาผิดบุคคลที่มีการหาผลประโยชน์นั้น ระหว่างนี้ทางบอร์ด ก็กำลังดูรายละเอียดและหาข้อมูลในเชิงลึกอยู่ ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นบางโครงการแล้ว ที่เป็นสีเทาๆ หากพบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีมูลจริง ก็จะส่งเรื่องให้ คมช. ดำเนินการต่อไป”
สำหรับโครงการที่ บอร์ด ทีโอที พิจารณาให้ยกเลิกนั้นมีจำนวนกว่า 10 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของจัดหาอุปกรณ์ใหม่ทดแทนของเดิม การขยายระบบโครงข่าย โดยรูปแบบการจัดซื้อส่วนใหญ่ของฝ่ายบริหาร ทีโอที ได้ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจการพิจารณาในส่วนฝ่ายบริหารเอง การออกข้อกำหนด หรือ เลือก เสปกอุปกรณ์ โดยไม่ได้มีการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ของรายอื่น หรือ เทียบราคา
อีกทั้งบอร์ดยังได้พิจารณาให้มีฝ่ายบริหาร ทบทวนการดำเนินการใหม่ โครงการจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการบนโครงข่าย ที่บริษัท ฟาติมา อาร์บีเอส ได้รับการพิจารณาในมูลค่า 185 ล้านบาท และ โครงการพัฒนาโครงข่ายวงจรสื่อสารเร็วสูงในเมือง(เมโทรแลน) ของ บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ได้รับพิจารณา จากการคัดเลือก ในมูลค่า 94 ล้านบาท
“ทั้งสองโครงการนี้ บอร์ด ต้องการให้ไปทบทวนใหม่ โดยควรจะเปิดประมูลมากกว่า ไม่ใช่ดูรายละเอียดหรือความเหมาะสมจากข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน และใช้วิธีการจัดซื้อพิเศษ ควรจะดำเนินการเปิดกว้างให้มีรายอื่นเข้ามา มีการทดสอบอุปกรณ์ ซึ่งที่นี่ก็มีแผนกวิจัยและพัฒนา ควรนำมาใช้ประโยชน์ในการทดสอบให้เกิดความคุ้มค่า”
นอกจากนี้บอร์ด ทีโอที ยังได้ มีมติยกเลิกโครงการพัฒนาคอนเทนต์ให้บริการบนอินเทอร์เนตร่วมกับยาฮู (Yahoo) มูลค่าโครงการ 400 ล้านบาท ในการให้บริการแก่ประชาชน โดยบอร์ดพิจารณาเห็นว่า การลงทุนเป็นพันธมิตรครั้งนี้ไม่ได้สร้างผลตอบแทนหรือสิ่งที่ได้รับอย่างเหมาะสมให้กับ ทีโอที มากนัก ถึงแม้ชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจยาฮูจะเป็นที่ยอมรับ หากฝ่ายบริหารยังให้ความสนใจต่อการสร้างบริการคอนเทนต์ในธุรกิจบรอดแบนด์ ควรจะหาพันธมิตรที่อยู่ในประเทศ หรือ มีการสร้างพัฒนาบริการด้วยตนเอง
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเป็นผลมาจากการประชุมบอร์ดเมื่อ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่มอบให้ นายสมควร บรูมินเหนทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ไปดูรายละเอียด ในโครงการต่างๆ บอร์ดตีกลับ ซึ่งบางโครงการด้านการลงทุน หรือ ผลที่จะได้รับจากการลงทุนที่เกิดขึ้นในระยะยาว ยังขาดความชัดเจน บอร์ดจึงให้ฝ่ายบริหารไปทำข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า สมควรที่จะดำเนินใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ ทีโอที มีความโปร่งใส เปิดกว้าง และเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการในการเข้าเสนอราคา อีกทั้งส่งผลเสียต่อ ทีโอที ในด้านการลงทุน ไม่สอดรับต่อนโยบาย ของรัฐ ในการเปิดกว้างในการแข่งขัน การจัดหาอุปกรณ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการ การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และประชาชน
พล.ร.ท.ถมรัตน์ ยังได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาสัมปทาน ของ ทีโอที กับ บริษัท แอ็ดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิสต์ หรือ เอไอเอส จากนโยบายของ นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ด้วยว่า บอร์ด ได้รับทราบแล้ว แต่ยังจะต้องรอความเห็นหรือ คำสั่งออกมาอย่างชัดเจน จากทางกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น รวมถึงการเจรจา ร่วมกับ ทางเอไอเอส อีกครั้ง หากเรื่องนี้ได้ดำเนินการหารือ หรือเห็นไปในทางเดียวกันทุกฝ่าย บอร์ดจะดำเนินการโดยทันที ซึ่งข้อมูลและความพร้อมที่จะดำเนินการ คณะทำงานของบอร์ด ได้เตรียมพร้อมปฏิบัติแล้ว
“บอร์ดเตรียมพร้อมในทุกๆส่วนแล้ว เหลือเพียงความชัดเจนจากผู้ใหญ่ หากไฟเขียวมาบอร์ดพร้อมที่จะดำเนินการ”
Company Related Links:
TOT
พลเรือโทถมรัตน์ หทโยดม คณะกรรมการ(บอร์ด)และโฆษก บริษัท ทีโอที เปิดเผยหลังการประชุม บอร์ดฯว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ยกเลิกโครงการจัดซื้อรูปแบบวิธีพิเศษของ ทีโอที ทั้งหมด ที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่บอร์ดได้พิจารณาแล้วเห็นถึงความไม่เหมาะสมในการจัดซื้อ โดยหลังจากนี้ไปหาก ทีโอที จะดำเนินการในการจัดซื้อแบบเร่งด่วน จะต้องนำเสนอผ่านบอร์ดทุกครั้ง พร้อมกับให้ ผู้รับผิดชอบหรือผู้เกี่ยวข้องลงนามรับรองชี้แจงถึงรายละเอียดของการจัดซื้อ ผลตอบแทนหรือ สิ่งที่ได้รับจากการลงทุน โดยบอร์ดจะนำมาประกอบพิจารณา หากไม่เหมาะสมก็จะไม่ดำเนินการ และถ้าไม่เร่งด่วน ทางฝ่ายบริหารจะต้องทำในรูปแบบการจัดซื้อตามขั้นตอนปกติ คือ การประมูลให้ทุกรายเข้ามาเสนอราคา แข่งขัน
“จากนี้ไป ทีโอที จะไม่มีการจัดซื้อวิธีพิเศษอีกแล้ว โดยจะดำเนินการตามขั้นตอนปกติ ส่วนเรื่องการเอาผิดบุคคลที่มีการหาผลประโยชน์นั้น ระหว่างนี้ทางบอร์ด ก็กำลังดูรายละเอียดและหาข้อมูลในเชิงลึกอยู่ ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นบางโครงการแล้ว ที่เป็นสีเทาๆ หากพบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีมูลจริง ก็จะส่งเรื่องให้ คมช. ดำเนินการต่อไป”
สำหรับโครงการที่ บอร์ด ทีโอที พิจารณาให้ยกเลิกนั้นมีจำนวนกว่า 10 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของจัดหาอุปกรณ์ใหม่ทดแทนของเดิม การขยายระบบโครงข่าย โดยรูปแบบการจัดซื้อส่วนใหญ่ของฝ่ายบริหาร ทีโอที ได้ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจการพิจารณาในส่วนฝ่ายบริหารเอง การออกข้อกำหนด หรือ เลือก เสปกอุปกรณ์ โดยไม่ได้มีการเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ของรายอื่น หรือ เทียบราคา
อีกทั้งบอร์ดยังได้พิจารณาให้มีฝ่ายบริหาร ทบทวนการดำเนินการใหม่ โครงการจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการบนโครงข่าย ที่บริษัท ฟาติมา อาร์บีเอส ได้รับการพิจารณาในมูลค่า 185 ล้านบาท และ โครงการพัฒนาโครงข่ายวงจรสื่อสารเร็วสูงในเมือง(เมโทรแลน) ของ บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ได้รับพิจารณา จากการคัดเลือก ในมูลค่า 94 ล้านบาท
“ทั้งสองโครงการนี้ บอร์ด ต้องการให้ไปทบทวนใหม่ โดยควรจะเปิดประมูลมากกว่า ไม่ใช่ดูรายละเอียดหรือความเหมาะสมจากข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน และใช้วิธีการจัดซื้อพิเศษ ควรจะดำเนินการเปิดกว้างให้มีรายอื่นเข้ามา มีการทดสอบอุปกรณ์ ซึ่งที่นี่ก็มีแผนกวิจัยและพัฒนา ควรนำมาใช้ประโยชน์ในการทดสอบให้เกิดความคุ้มค่า”
นอกจากนี้บอร์ด ทีโอที ยังได้ มีมติยกเลิกโครงการพัฒนาคอนเทนต์ให้บริการบนอินเทอร์เนตร่วมกับยาฮู (Yahoo) มูลค่าโครงการ 400 ล้านบาท ในการให้บริการแก่ประชาชน โดยบอร์ดพิจารณาเห็นว่า การลงทุนเป็นพันธมิตรครั้งนี้ไม่ได้สร้างผลตอบแทนหรือสิ่งที่ได้รับอย่างเหมาะสมให้กับ ทีโอที มากนัก ถึงแม้ชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจยาฮูจะเป็นที่ยอมรับ หากฝ่ายบริหารยังให้ความสนใจต่อการสร้างบริการคอนเทนต์ในธุรกิจบรอดแบนด์ ควรจะหาพันธมิตรที่อยู่ในประเทศ หรือ มีการสร้างพัฒนาบริการด้วยตนเอง
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเป็นผลมาจากการประชุมบอร์ดเมื่อ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่มอบให้ นายสมควร บรูมินเหนทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ไปดูรายละเอียด ในโครงการต่างๆ บอร์ดตีกลับ ซึ่งบางโครงการด้านการลงทุน หรือ ผลที่จะได้รับจากการลงทุนที่เกิดขึ้นในระยะยาว ยังขาดความชัดเจน บอร์ดจึงให้ฝ่ายบริหารไปทำข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า สมควรที่จะดำเนินใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ ทีโอที มีความโปร่งใส เปิดกว้าง และเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการในการเข้าเสนอราคา อีกทั้งส่งผลเสียต่อ ทีโอที ในด้านการลงทุน ไม่สอดรับต่อนโยบาย ของรัฐ ในการเปิดกว้างในการแข่งขัน การจัดหาอุปกรณ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการ การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และประชาชน
พล.ร.ท.ถมรัตน์ ยังได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาสัมปทาน ของ ทีโอที กับ บริษัท แอ็ดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิสต์ หรือ เอไอเอส จากนโยบายของ นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ด้วยว่า บอร์ด ได้รับทราบแล้ว แต่ยังจะต้องรอความเห็นหรือ คำสั่งออกมาอย่างชัดเจน จากทางกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น รวมถึงการเจรจา ร่วมกับ ทางเอไอเอส อีกครั้ง หากเรื่องนี้ได้ดำเนินการหารือ หรือเห็นไปในทางเดียวกันทุกฝ่าย บอร์ดจะดำเนินการโดยทันที ซึ่งข้อมูลและความพร้อมที่จะดำเนินการ คณะทำงานของบอร์ด ได้เตรียมพร้อมปฏิบัติแล้ว
“บอร์ดเตรียมพร้อมในทุกๆส่วนแล้ว เหลือเพียงความชัดเจนจากผู้ใหญ่ หากไฟเขียวมาบอร์ดพร้อมที่จะดำเนินการ”
Company Related Links:
TOT