xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก "สิทธิชัย โภไคยอุดม" รมต.ไอซีทีคนใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม
ทำความรู้จักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคนใหม่ นายสิทธิชัย โภไคยอุดม ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหานคร

นายสิทธิชัยเป็นชาวอ.เมือง จ.นครราชสีมา จบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศิริวิทยากร และจบมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเซนต์จอห์น โดยได้รับทุน อเมริกัน ฟีลด์ เซอร์วิส เป็นเวลา 1 ปี และเริ่มต้นในรั้วมหาวิทยาลัยที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ แต่ได้รับทุนโคลัมโบ แพลน ของรัฐบาล ออสเตรเลียได้ลำดับที่ 1 ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลล์ จนได้รับปริญญาดอกเตอร์ ออฟ ฟิโลโซฟี ทางด้านโซลิด สเตท อีเลคทรอนิคส์ เข้ารับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังนาน 14 ปี ก่อนจะลาออกมาก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครมาตั้งแต่ปี 2545 จนปัจจุบัน

ต่อไปนี้คือประวัติโดยละเอียดที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหานคร

1. เกิดวันที่ 10 พฤศจิกายน 2491

2. การศึกษา

- ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนศิริวิทยากร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

- มัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนเซ็นต์จอห์น ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ในระหว่างที่ศึกษาชั้น ม.ศ.5 ได้รับทุน American Field Service ไปศึกษาเกรด 12 ณ Bel Air Senior High School, มลรัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 1 ปี ได้รับ Diploma ของโรงเรียนและได้เป็นสมาชิกของ National Honor Society

- อุดมศึกษา

พ.ศ. 2510

- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เรียนเพียง 1 เดือน)
- ได้รับทุน Colombo Plan ของรัฐบาล ออสเตรเลีย (สอบคัดเลือกได้ลำดับที่ 1)

พ.ศ. 2511

- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย NewSouth Wales เมือง ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ. 2515

- ได้รับปริญญา Bachelor of Engineering (First Class Honours) และ ได้ที่1ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

- ได้รับการเสนอให้รับทุนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ ออสเตรเลีย กว่า 10 แห่ง แต่เลือกรับทุนพิเศษของมหาวิทยาลัยเดิม เพื่อศึกษาระดับปริญญาเอกเรียกว่า Dean's Scholarship ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ได้ยากที่สุดของมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2519

- ได้รับปริญญา Doctor of Philosophy ทางด้าน Solid State Electronics จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน

3. ผลงานทางวิชาการ

1. IEEE Fellow ในสาขา Circuits and Systems and Engineering Education.

- สถาบัน IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers,USA) ซึ่งเป็นสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ได้ประกาศให้ รศ. ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็น IEEE Fellow ในสาขา Circuits and Systems and Engineering Education ในฐานะผู้มีผลงานวิจัย และวิชาการดีเด่นระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากมาย แก่วงการวิศวกรไฟฟ้าของโลก โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 นี้ ซึ่งนับแต่มีการมอบรางวัลนี้ ท่านอธิการบดีเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รางวัลดังกล่าว

2. ตำรา : แต่งตำราภาษาไทยทางวิศวกรรมศาสตร์ 5 เล่ม

3. บทความทางวิชาการ:

(1) บทความวิจัยแบบ Original ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มาตราฐานสากล ประมาณ 60 บทความ
(2) บทความตีพิมพ์ในประเทศไทย ประมาณ 50 บทความ

4. สิ่งประดิษฐ์ มีผลงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก

5. งานวิจัย มีผลงานทางด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ คอมพิวเตอร์จำนวนมาก

6. รางวัล

- นักประดิษฐ์ดีเด่นประจำปี 2524 ของสถาบันวิจัยแห่งชาติร่วมกับบริษัท IBM (ประเทศไทย) จากผลงานการประดิษฐ์ เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก

- รางวัลที่ 1 จากสภาวิจัยแห่งชาติ สำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม คือ เครื่องตรวจวัดความชื้นข้าวเปลือก

- บุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี 2530 ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

- ผลงานวิจัยดีเด่นด้านยุทโธปกรณ์ จากการคิดค้นเครื่องตรวจทุ่นระเบิด จากกองทัพบก ปี 2536

- รางวัลชมเชยประเภทผลงานคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2537 จากผลงานคิดค้นเครื่อง ตรวจค้นทุ่นระเบิด จากสภาวิจัยแห่งชาติ

- นักวิจัยดีเด่น จากผลการตัดสินรางวัลคิดค้น หรือ สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2537จากผลงานคิดค้นเครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิดจากกระทรวงกลาโหม

- ศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ปี 2541 (คนไทยคนแรก)

- ได้รับรางวัล "เพรชกรุงเทพ" ด้านการศึกษา ประจำปี 2542

4. ตำแหน่งบริหารและวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา

พ.ศ. 2519-2522

- อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์นนทบุรี-ลาดกระบัง พ.ศ. 2522-2524
- หัวหน้าภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

พ.ศ. 2522

- ได้รับแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ

พ.ศ. 2524-2525

- รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

พ.ศ. 2525-2529

- คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

พ.ศ. 2529-2532

- คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

พ.ศ.2533-ปัจจุบัน

- อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (กพ. 45 - มค. 47 อธิการบดี กิตติคุณ)

พ.ศ. 2536-2537

- Honorary Research Fellow, Imperial College of Science,Technology and Medicine.

พ.ศ.2537 - ปัจจุบัน

- Visiting Professor , Imperial College of Science, Technology and Medicine. (คนไทยคนแรก)

พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน

- เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการบรรยายให้แก่นักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.)

5. ตำแหน่งอื่น ๆ

- กรรมการการสื่อสารแห่งประทศไทย
- กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- กรรมการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
- กรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
- ที่ปรึกษาบริษัท Bendix Field Engineeringเมือง Baltimore มลรัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2515-2518)
- เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาปริญญาตรี ด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ณ School of Electrical Engineering มหาวิทยาลัย New South Wales (พ.ศ.2523-ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษาของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก
- ประธานฝ่ายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
- อนุกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งออกของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- กรรมการมาตราฐานการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ของทบวงมหาวิทยาลัย
- อนุกรรมการกำกับการศึกษาเพื่อวางแผน ด้านโทรคมนาคม,สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
- อนุกรรมการพัฒนาจรวดแห่งชาติ, สภาวิจัยแห่งชาติ
- กรรมการส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาการ ของทบวง
มหาวิทยาลัย (เป็นผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน)
- อนุกรรมการการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ คณิตศาสตร์ ของทบวงมหาวิทยาลัย
- ได้รับยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากคณะกรรมการ เอก
ลักษณ์แห่งชาติ
- ได้รับเป็นกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
- ได้รับแต่งตั้งจาก Imperial College of Science, Technology and Medicine,University of London ให้ดำรงตำแหน่งนักวิจัยกิตติมศักดิ์ (Honorary Research Fellow) และศาสตราจารย์อาคันตุกะ(Visiting
Professor) ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นคนที่ 4 ของภาควิชาและเป็นคนแรกของประเทศไทย
- ได้รับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะอาจารย์ดีเด่น ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ได้รับคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่น
- ได้รับรางวัลที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม จากสภาวิจัยแห่งชาติ จากผลงานเรื่อง "เครื่องวัดคุณภาพของข้าวเปลือก"
- ได้รับทุนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยม จากบริษัทIBM (ประเทศไทย) จำกัด จากผลงานการประดิษฐ์ "เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก"
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นด้านยุทโธปกรณ์จากกองทักบก ในโครงการร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนากาทหารระหว่างฝ่ายทหารและพลเรือน จากผลงาน"เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด"
- ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น จากกระทรวงกลาโหม จากผลงาน "เครื่องตรวจค้นทุ่นระเบิด"

Company Related Links :
รัฐบาลไทย
มหาวิทยาลัยมหานคร
กำลังโหลดความคิดเห็น