กลุ่มกิจการร่วมค้าเอชเอสทีจวกทีโออาร์สมาร์ทขาดความชัดเจน ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน แจงยิบกรณีที่มีการร้องเรียนดีเอสไอให้ตรวจสอบความโปร่งใส มั่นใจเดินตามขั้นตอนถูกต้อง จนเป็นผู้ชนะการประมูลแบบอี-ออกชัน ในจำนวน 13 ล้านใบ
นายจำรัส สว่างสมุทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไออาร์ซีพี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจการร่วมค้าเอชเอสที ที่เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ (สมาร์ทการ์ด) จำนวน 13 ล้านใบกล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ติดต่อมาที่กลุ่มกิจการร่วมค้าเอชเอสทีเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ก.ย.ว่า มีผู้ร้องเรียนเรื่องสมาร์ทการ์ด โดยเฉพาะประเด็นทดสอบคุณสมบัติของวัสดุตามมาตรฐาน UL-94 Conditions เกี่ยวกับการเผาไหม้พลาสติก
เรื่องดังกล่าวผู้บริหารไออาร์ซีพียืนยันว่าเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะความไม่จัดเจนของเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์ แม้แต่คณะกรรมการโครงการนี้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านสมาร์ทการ์ดยังเข้าใจผิด
"จุดอ่อนของโครงการสมาร์ทการ์ดอยู่ที่ทีโออาร์ อ่านแล้วไม่เคลียร์ ตีความได้หลายแบบ"
อย่างการเผ่าบัตรพลาสติกตามมาตรฐาน UL-94 ที่ถูกต้องคือใช้แท่งพลาสติกทอดสอบ อย่างกรณีของเอชเอสทีที่ใช้ PVC&PETG Combination ก็ต้องใช้ทีละสารในการเผาว่าจะผ่านมาตรฐานหรือไม่ โดยมีเกณฑ์อยู่ว่า V0 ดีที่สุด V1 ดี V2 พอใช้ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเอชเอสทีผ่าน
"กรณีที่เผาแล้วบอกไม่ผ่านคือการเผาที่ผิดวิธี โดยการใช้บัตรขนาด 0.8 มม.เผา ซึ่งตรงกลางมีกาวติดยังไงก็ต้องไหม้ ซึ่งตรงนี้ต้องเป็นมาตรฐาน ISO IEC"
ทั้งนี้ กรณีที่กล่าวหาว่าเอชเอสทีไม่ผ่านตรงนี้ ก็มีการอุทรแล้ว ซึ่งหัวหน้าหน่วยคือปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ไอซีที) ก็เห็นด้วย จนถึงขั้นตอนการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชัน จนเอชเอสทีเป็นผู้ชนะด้วยราคาใบละ 37.45 บาท ทำให้ประหยัดงบประมาณได้ถึง 480 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 980 ล้านบาท
"ขั้นตอนดำเนินการจนถึงขั้นประกาศผู้ชนะแล้ว พอมาวันนี้ดีเอสไอมาหาเราบอกว่ามีผู้ร้องเรียนว่าเอกสารไม่ครบ เหมือนเล่นฟุตบอลครบ 90 นาทีแล้ว แต่บอกว่าเห็นเราแฮนด์บอล"
ผู้บริหารไออาร์ซีพีย้ำว่า ถ้าเห็นว่าผิดทำไม่มีการร้องศาลปกครองให้ระงับอี-ออกชัน คุ้มครองฉุกเฉิน 90 วัน เหมือนโครงการซีดีเอ็มเอที่กลุ่มสามารถร้องให้คุ้มครอง แต่เมื่อผู้เข้าประมูล 4 ราย เคาะราคาแข่งกันก็ถือว่ามีสิทธิเท่ากัน
ส่วนเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวชิปที่เป็นของซัมซุง ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินเทล และผลิตชิปสมาร์ทการ์ดเป็นอันดับ 3 รองจากอินฟินิออน และแอทเมล ส่วนระบบปฏิบัติการในส่วนตัวใช้ชิป (ซีโอเอส) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการควบคุมชิป ก็ใช้ของบริษัท HISMARTECH (HST) ผู้ให้บริการด้านสมาร์ท โซลูชัน ครบวงจรและมีผลงานมากมายในประเทศเกาหลี ขณะที่บัตรพลาสติกก็ใช้ของ EASTCOMPEACE จากจีน ซึ่งเป็นผู้นำตลาดในการผลิตบัตรพลาสติก
"สมาร์ทการ์ดจะดีไม่ดีจะดูจาก 3 ส่วนคือชิป บัตรพลาสติก ซอฟต์แวร์ควบคุมชิป ซึ่งพาร์ตเนอร์เราต่างก็อยู่ในอันดับทอปของโลก"
ทั้งนี้ การที่กลุ่มเอชเอสทีทำราคาได้ต่ำเพราะ 1.เทคโนโลยีที่กระทรวงไอซีทีเคยซื้อที่มีหน่วยความจำ 32K เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ราคาลดลงกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นปกติเหมือนกับราคาคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลของไทยหน่วยความจำขนาดนี้สามารถรับได้ และล็อตที่ส่งมอบไปแล้วก็ใช้ขนาดนี้ ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ 2.ด้วยกำลังการผลิตของ EASTCOMPEACE ที่ 1 ปีผลิตบัตรสมาร์ทการ์ดได้ 150 ล้านใบ ทำให้มีวอลุ่มในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนได้ 3.การซื้อของรัฐบาลครั้งนี้มีจำนวนถึง 13 ล้านใบ ผู้ผลิตไม่ว่าจะเป็นซัมซุง EASTCOMPEACE หรือเอชเอสที จึงให้ความสำคัญ ยอมลดราคาเพื่อจะได้เป็นสิ่งอ้างอิงหรือ Reference ของแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มกิจการร่วมค้าเอชเอสทีจะเข้าพบดีเอสไอในวันที่ 11 ก.ย.นี้ เพื่อชี้แจ้งข้อเท็จจริง
นายจำรัส สว่างสมุทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไออาร์ซีพี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจการร่วมค้าเอชเอสที ที่เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ (สมาร์ทการ์ด) จำนวน 13 ล้านใบกล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ติดต่อมาที่กลุ่มกิจการร่วมค้าเอชเอสทีเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ก.ย.ว่า มีผู้ร้องเรียนเรื่องสมาร์ทการ์ด โดยเฉพาะประเด็นทดสอบคุณสมบัติของวัสดุตามมาตรฐาน UL-94 Conditions เกี่ยวกับการเผาไหม้พลาสติก
เรื่องดังกล่าวผู้บริหารไออาร์ซีพียืนยันว่าเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะความไม่จัดเจนของเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์ แม้แต่คณะกรรมการโครงการนี้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านสมาร์ทการ์ดยังเข้าใจผิด
"จุดอ่อนของโครงการสมาร์ทการ์ดอยู่ที่ทีโออาร์ อ่านแล้วไม่เคลียร์ ตีความได้หลายแบบ"
อย่างการเผ่าบัตรพลาสติกตามมาตรฐาน UL-94 ที่ถูกต้องคือใช้แท่งพลาสติกทอดสอบ อย่างกรณีของเอชเอสทีที่ใช้ PVC&PETG Combination ก็ต้องใช้ทีละสารในการเผาว่าจะผ่านมาตรฐานหรือไม่ โดยมีเกณฑ์อยู่ว่า V0 ดีที่สุด V1 ดี V2 พอใช้ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเอชเอสทีผ่าน
"กรณีที่เผาแล้วบอกไม่ผ่านคือการเผาที่ผิดวิธี โดยการใช้บัตรขนาด 0.8 มม.เผา ซึ่งตรงกลางมีกาวติดยังไงก็ต้องไหม้ ซึ่งตรงนี้ต้องเป็นมาตรฐาน ISO IEC"
ทั้งนี้ กรณีที่กล่าวหาว่าเอชเอสทีไม่ผ่านตรงนี้ ก็มีการอุทรแล้ว ซึ่งหัวหน้าหน่วยคือปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ไอซีที) ก็เห็นด้วย จนถึงขั้นตอนการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชัน จนเอชเอสทีเป็นผู้ชนะด้วยราคาใบละ 37.45 บาท ทำให้ประหยัดงบประมาณได้ถึง 480 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 980 ล้านบาท
"ขั้นตอนดำเนินการจนถึงขั้นประกาศผู้ชนะแล้ว พอมาวันนี้ดีเอสไอมาหาเราบอกว่ามีผู้ร้องเรียนว่าเอกสารไม่ครบ เหมือนเล่นฟุตบอลครบ 90 นาทีแล้ว แต่บอกว่าเห็นเราแฮนด์บอล"
ผู้บริหารไออาร์ซีพีย้ำว่า ถ้าเห็นว่าผิดทำไม่มีการร้องศาลปกครองให้ระงับอี-ออกชัน คุ้มครองฉุกเฉิน 90 วัน เหมือนโครงการซีดีเอ็มเอที่กลุ่มสามารถร้องให้คุ้มครอง แต่เมื่อผู้เข้าประมูล 4 ราย เคาะราคาแข่งกันก็ถือว่ามีสิทธิเท่ากัน
ส่วนเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวชิปที่เป็นของซัมซุง ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินเทล และผลิตชิปสมาร์ทการ์ดเป็นอันดับ 3 รองจากอินฟินิออน และแอทเมล ส่วนระบบปฏิบัติการในส่วนตัวใช้ชิป (ซีโอเอส) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการควบคุมชิป ก็ใช้ของบริษัท HISMARTECH (HST) ผู้ให้บริการด้านสมาร์ท โซลูชัน ครบวงจรและมีผลงานมากมายในประเทศเกาหลี ขณะที่บัตรพลาสติกก็ใช้ของ EASTCOMPEACE จากจีน ซึ่งเป็นผู้นำตลาดในการผลิตบัตรพลาสติก
"สมาร์ทการ์ดจะดีไม่ดีจะดูจาก 3 ส่วนคือชิป บัตรพลาสติก ซอฟต์แวร์ควบคุมชิป ซึ่งพาร์ตเนอร์เราต่างก็อยู่ในอันดับทอปของโลก"
ทั้งนี้ การที่กลุ่มเอชเอสทีทำราคาได้ต่ำเพราะ 1.เทคโนโลยีที่กระทรวงไอซีทีเคยซื้อที่มีหน่วยความจำ 32K เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ราคาลดลงกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นปกติเหมือนกับราคาคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลของไทยหน่วยความจำขนาดนี้สามารถรับได้ และล็อตที่ส่งมอบไปแล้วก็ใช้ขนาดนี้ ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ 2.ด้วยกำลังการผลิตของ EASTCOMPEACE ที่ 1 ปีผลิตบัตรสมาร์ทการ์ดได้ 150 ล้านใบ ทำให้มีวอลุ่มในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนได้ 3.การซื้อของรัฐบาลครั้งนี้มีจำนวนถึง 13 ล้านใบ ผู้ผลิตไม่ว่าจะเป็นซัมซุง EASTCOMPEACE หรือเอชเอสที จึงให้ความสำคัญ ยอมลดราคาเพื่อจะได้เป็นสิ่งอ้างอิงหรือ Reference ของแต่ละราย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มกิจการร่วมค้าเอชเอสทีจะเข้าพบดีเอสไอในวันที่ 11 ก.ย.นี้ เพื่อชี้แจ้งข้อเท็จจริง