เอ็มเปย์ครบรอบ 1 ปี หลังสร้างฐานลูกค้าได้กว่า 1 ล้านราย พบปัญหาลูกค้าใช้งานจริงแค่ 10% เร่งปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ กระตุ้นให้เกิดการใช้งานจริง เพิ่มช่องทางเข้าถึงบริการมากขึ้น พร้อมจัดโปรโมชันฉลองครบขวบปี ตั้งเป้าสิ้นปี 49 ฐานลูกค้าถึง 1.7 ล้านราย ในจำนวนนี้ขอยอดลูกค้างานจริง 8 แสนรายต่อเดือน
นายคมสัน บุพนิมิตร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด กล่าวถึงการทำดำเนินธุรกิจให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้ชื่อบริการ เอ็มเปย์ว่า ในครึ่งปีหลังเอ็มเปย์จะมีการปรับแนวทางการทำธุรกิจใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและตอบรับเข้าใช้บริการเอ็มเปย์อย่างแท้จริง
เอ็มเปย์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ปัจจุบันมีอายุ 1 ปีจากจุดเริ่มต้นของการเปิดให้บริการในปีแรก เอ็มเปย์เริ่มจากการสร้างรับรู้ให้เกิดขึ้นกับลูกค้าว่ามีบริการเอ็มเปย์เกิดขึ้นแล้ว และเป็นบริการที่จะเข้ามาอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปทำธุรกิจด้านการเงินภายนอกแต่สามารถทำผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้เลย และจากสื่อโฆษณาในรูปแบบหนังโฆษณา3เรื่องรับรู้เรื่องบริการโดยการ *555 ถึง 1 ล้านครั้งต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้จะมีลูกค้าสนใจติดต่อเข้ามาประมาณ 10,000 ครั้งต่อเดือน รวมยอด 3 เดือน 3 ล้านคอลล์ที่โทร.เข้า ในจำนวนนี้ 5 แสนรายสนใจสมัครเข้าใช้บริการด้วยตนเอง และอีก 5 แสนรายตอบรับเป็นลูกค้าจากการจัดกิจกรรมของทางบริษัทในรูปชอตแมสเซจหรือเอสเอ็มเอสจากรายชื่อฐานลูกค้ากว่า 17 ล้ายรายที่เอไอเอสมีอยู่ทั้งหมด รวมยอดลูกค้านับถึงครึ่งปี 2549 ประมาณ 1 ล้านราย
ผู้บริหารเอ็มเปย์กล่าวว่า ความสำเร็จของการมีฐานลูกค้าถึง 1 ล้านรายยังไม่ได้เป็นตัวบอกความสำเร็จของธุรกิจได้ หากลูกค้ายังไม่ได้ใช้บริการเอ็มเปย์จริงๆ คือ ยังไม่มีการเติมเปย์ผ่าน เอ็มแคส ยังไม่ได้ผูกบัญชีกับธนาคารเพื่อเติมเงินเข้าในระบบ ทั้งนี้พบว่าจากจำนวนฐานลูกค้า 1 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้งานจริงประมาณ 10% ภารกิจหลักในครึ่งปีหลังของเอ็มเปย์จึงอยู่ที่การกระตุ้นให้ฐานลูกค้าที่มีอยู่เกิดการใช้งานจริงพร้อมสร้างฐานลูกค้าใหม่ในคราวเดียวกัน
สิ่งแรกที่เอ็มเปย์ทำคือขยายช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการเอ็มเปย์ได้มากยิ่งขึ้นจากเดิมลูกค้าจะเติมเงินได้ผ่านทางตู้เอทีเอ็ม เอ็มเปย์ขยายให้ลูกค้าเติมเงินได้ร้านเทเลวิซ และสำนักงานสาขาเอไอเอสทุกแห่ง ในส่วนช่องทางการผูกบัญชีกับธนาคารจากเดิมต้องจัดการงานเอกสารกับทางธนาคารทั้งต้องมีระยะเวลาในการรอธนาคารติดต่อกับหลายสิบวัน ปัจจุบันเปิดให้ทำสมัครได้เทเลโฟนแบงก์กิ้งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีธนาคารที่ร่วมรายการกับเอ็มเปย์ 5 แห่งคือ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ยูโอบี กรุงศรีอยุธยา ล่าสุดคือธนาคารกรุงไทยกำลังเซ็นสัญญาเข้าร่วม และทหารไทยอยู่ในระหว่างการเจรจา
“สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้คือให้ลูกค้าเกิดการใช้งานจริง เข้าถึงช่องทางการเติมงานได้ง่าย และสะดวก หลังจากนั้นก็ต้องสร้างบริการที่หลากหลายเข้ามาใจเอ็มเปย์ โดยจะมีการเพิ่มบริการชำระบัญชีผ่านบัตรเครดิตในเร็ววันนี้”
เพื่อกระต้นให้เกิดการใช้งานและในโอกาสครบ1ปี เอ็มเปย์จัดแคมเปญ mPAY 1 Anniversary ให้ลูกค้าจีเอสเอ็มและวัน-ทู-คอล! ที่ทำการผูกบัญชีกับธนาคารหรือบัตรเดรดิตตั้งแต่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน รับค่าโทร.ฟรี 100 นาที แบ่งเป็น 20 นาทีต่อเดือนต่อรอบบิล และหากชำระค่าบริการจีเอสเอ็มรับค่าโทร.ฟรีเพิ่มอีก 50 บาท หรือเติมเงินวัน-ทู-คอล!รับค่าโทร.เพิ่มอีก10%
นายนคมสัน กล่าวว่า ในจำนวนลูกค้าที่ใช้งานจริงซึ่งมีอยู่ประมาณ 10% ของฐานลูกค้าทั้งหมด ในจำนวนนี้ 60% ใช้เพื่อการเติมงานวัน-ทู-คอล!, 15% ใช้จ่ายค่าบริการจีเอสเอ็ม และอีก 20-25 % เป็นผู้ใช้บริการที่ตู้เวนดิ้งแมสชีน มูลค่าทรานเซ็กชั่นประมาณ 260-270 บาท ต่อเดือน ยอดรวมทรานเซ็กชั่นต่อเดือนประมาณ 2.6-2.7 ล้านบาท ( คิดจากลูกค้าใช้งานจริงประมาณ 1 แสนราย)
เป้าหมายของเอ็มเปย์สิ้นปี 2549 คือสร้างฐานลูกค้าให้ได้ประมาณ 1.6-1.7 ล้านราย และให้เกิดการใช้งานจริงมากกว่า ครึ่งหนึ่งหรือ 8 แสนคน โดยมองว่าหากเอ็มเปย์จะคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีลูกค้าประมาณ 3 ล้าน 5 แสนราย ปัจจุบันเตรียมขยายการลงทุนเพิ่มอีก 50-60 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาระบบจากที่ผ่านมาลงทุนด้านซอฟต์แวร์ไปแล้วประมาณ 150 ล้านบาท
“ทุกวันนี้ปริมาณการใช้งานในรูปแบบบิลตกเดือนละ 40-50 ล้านบิลต่อเดือนเอ็มเปย์ของเข้ามาแชร์ในธุรกิจ 10%”
นายคมสัน กล่าวว่า ทุกวันนี้เอ็มเปย์ยังเหมาะกับการอำนวยความสะดวกให้กับใช้บริการที่ผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องเจอะหน้ากัน เช่น การโอนเงิน จ่ายเงิน ส่วนการใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการกับร้านค้าเหมาะกับเฟสต่อไปมากกว่า โดยต้องทำให้ตัวเครื่อโทรศัพท์มือถือติดตั้งชิปที่สามารถใช้บริการโดยการนำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือรูดกับเครื่องอ่านบัตรได้เลยจึงจะทำให้เกิดความสะดวกกับผู้บริการ ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 2 ปี คือประมาณปี 2551 และเมื่อความพร้อมมาถึงเอ็มเปย์ก็จะขยายการให้บริการกับจำนวนร้านค้ามากยิ่งขึ้นจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 2,000 แห่ง โดยในปีนี้จะไม่มีการขยายร้านค้าที่ร่วมรายการเข้ามาอีก แต่จะมุ่งให้บริการด้านการจ่ายเงิน โอนเงิน ทำธุรกรรมกับธนาคารเป็นหลัก
Company Related Link:
mPay
นายคมสัน บุพนิมิตร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด กล่าวถึงการทำดำเนินธุรกิจให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้ชื่อบริการ เอ็มเปย์ว่า ในครึ่งปีหลังเอ็มเปย์จะมีการปรับแนวทางการทำธุรกิจใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและตอบรับเข้าใช้บริการเอ็มเปย์อย่างแท้จริง
เอ็มเปย์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ปัจจุบันมีอายุ 1 ปีจากจุดเริ่มต้นของการเปิดให้บริการในปีแรก เอ็มเปย์เริ่มจากการสร้างรับรู้ให้เกิดขึ้นกับลูกค้าว่ามีบริการเอ็มเปย์เกิดขึ้นแล้ว และเป็นบริการที่จะเข้ามาอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปทำธุรกิจด้านการเงินภายนอกแต่สามารถทำผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้เลย และจากสื่อโฆษณาในรูปแบบหนังโฆษณา3เรื่องรับรู้เรื่องบริการโดยการ *555 ถึง 1 ล้านครั้งต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้จะมีลูกค้าสนใจติดต่อเข้ามาประมาณ 10,000 ครั้งต่อเดือน รวมยอด 3 เดือน 3 ล้านคอลล์ที่โทร.เข้า ในจำนวนนี้ 5 แสนรายสนใจสมัครเข้าใช้บริการด้วยตนเอง และอีก 5 แสนรายตอบรับเป็นลูกค้าจากการจัดกิจกรรมของทางบริษัทในรูปชอตแมสเซจหรือเอสเอ็มเอสจากรายชื่อฐานลูกค้ากว่า 17 ล้ายรายที่เอไอเอสมีอยู่ทั้งหมด รวมยอดลูกค้านับถึงครึ่งปี 2549 ประมาณ 1 ล้านราย
ผู้บริหารเอ็มเปย์กล่าวว่า ความสำเร็จของการมีฐานลูกค้าถึง 1 ล้านรายยังไม่ได้เป็นตัวบอกความสำเร็จของธุรกิจได้ หากลูกค้ายังไม่ได้ใช้บริการเอ็มเปย์จริงๆ คือ ยังไม่มีการเติมเปย์ผ่าน เอ็มแคส ยังไม่ได้ผูกบัญชีกับธนาคารเพื่อเติมเงินเข้าในระบบ ทั้งนี้พบว่าจากจำนวนฐานลูกค้า 1 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้งานจริงประมาณ 10% ภารกิจหลักในครึ่งปีหลังของเอ็มเปย์จึงอยู่ที่การกระตุ้นให้ฐานลูกค้าที่มีอยู่เกิดการใช้งานจริงพร้อมสร้างฐานลูกค้าใหม่ในคราวเดียวกัน
สิ่งแรกที่เอ็มเปย์ทำคือขยายช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงบริการเอ็มเปย์ได้มากยิ่งขึ้นจากเดิมลูกค้าจะเติมเงินได้ผ่านทางตู้เอทีเอ็ม เอ็มเปย์ขยายให้ลูกค้าเติมเงินได้ร้านเทเลวิซ และสำนักงานสาขาเอไอเอสทุกแห่ง ในส่วนช่องทางการผูกบัญชีกับธนาคารจากเดิมต้องจัดการงานเอกสารกับทางธนาคารทั้งต้องมีระยะเวลาในการรอธนาคารติดต่อกับหลายสิบวัน ปัจจุบันเปิดให้ทำสมัครได้เทเลโฟนแบงก์กิ้งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีธนาคารที่ร่วมรายการกับเอ็มเปย์ 5 แห่งคือ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ยูโอบี กรุงศรีอยุธยา ล่าสุดคือธนาคารกรุงไทยกำลังเซ็นสัญญาเข้าร่วม และทหารไทยอยู่ในระหว่างการเจรจา
“สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้คือให้ลูกค้าเกิดการใช้งานจริง เข้าถึงช่องทางการเติมงานได้ง่าย และสะดวก หลังจากนั้นก็ต้องสร้างบริการที่หลากหลายเข้ามาใจเอ็มเปย์ โดยจะมีการเพิ่มบริการชำระบัญชีผ่านบัตรเครดิตในเร็ววันนี้”
เพื่อกระต้นให้เกิดการใช้งานและในโอกาสครบ1ปี เอ็มเปย์จัดแคมเปญ mPAY 1 Anniversary ให้ลูกค้าจีเอสเอ็มและวัน-ทู-คอล! ที่ทำการผูกบัญชีกับธนาคารหรือบัตรเดรดิตตั้งแต่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน รับค่าโทร.ฟรี 100 นาที แบ่งเป็น 20 นาทีต่อเดือนต่อรอบบิล และหากชำระค่าบริการจีเอสเอ็มรับค่าโทร.ฟรีเพิ่มอีก 50 บาท หรือเติมเงินวัน-ทู-คอล!รับค่าโทร.เพิ่มอีก10%
นายนคมสัน กล่าวว่า ในจำนวนลูกค้าที่ใช้งานจริงซึ่งมีอยู่ประมาณ 10% ของฐานลูกค้าทั้งหมด ในจำนวนนี้ 60% ใช้เพื่อการเติมงานวัน-ทู-คอล!, 15% ใช้จ่ายค่าบริการจีเอสเอ็ม และอีก 20-25 % เป็นผู้ใช้บริการที่ตู้เวนดิ้งแมสชีน มูลค่าทรานเซ็กชั่นประมาณ 260-270 บาท ต่อเดือน ยอดรวมทรานเซ็กชั่นต่อเดือนประมาณ 2.6-2.7 ล้านบาท ( คิดจากลูกค้าใช้งานจริงประมาณ 1 แสนราย)
เป้าหมายของเอ็มเปย์สิ้นปี 2549 คือสร้างฐานลูกค้าให้ได้ประมาณ 1.6-1.7 ล้านราย และให้เกิดการใช้งานจริงมากกว่า ครึ่งหนึ่งหรือ 8 แสนคน โดยมองว่าหากเอ็มเปย์จะคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีลูกค้าประมาณ 3 ล้าน 5 แสนราย ปัจจุบันเตรียมขยายการลงทุนเพิ่มอีก 50-60 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาระบบจากที่ผ่านมาลงทุนด้านซอฟต์แวร์ไปแล้วประมาณ 150 ล้านบาท
“ทุกวันนี้ปริมาณการใช้งานในรูปแบบบิลตกเดือนละ 40-50 ล้านบิลต่อเดือนเอ็มเปย์ของเข้ามาแชร์ในธุรกิจ 10%”
นายคมสัน กล่าวว่า ทุกวันนี้เอ็มเปย์ยังเหมาะกับการอำนวยความสะดวกให้กับใช้บริการที่ผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องเจอะหน้ากัน เช่น การโอนเงิน จ่ายเงิน ส่วนการใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการกับร้านค้าเหมาะกับเฟสต่อไปมากกว่า โดยต้องทำให้ตัวเครื่อโทรศัพท์มือถือติดตั้งชิปที่สามารถใช้บริการโดยการนำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือรูดกับเครื่องอ่านบัตรได้เลยจึงจะทำให้เกิดความสะดวกกับผู้บริการ ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 2 ปี คือประมาณปี 2551 และเมื่อความพร้อมมาถึงเอ็มเปย์ก็จะขยายการให้บริการกับจำนวนร้านค้ามากยิ่งขึ้นจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 2,000 แห่ง โดยในปีนี้จะไม่มีการขยายร้านค้าที่ร่วมรายการเข้ามาอีก แต่จะมุ่งให้บริการด้านการจ่ายเงิน โอนเงิน ทำธุรกรรมกับธนาคารเป็นหลัก
Company Related Link:
mPay