ประมูลสมาร์การ์ทส่งกลิ่นตุอีกรอบ เลื่อน อี-อ๊อกชั่น เป็นรอบ2 ออกไปอีกสัปดาห์ หลังผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ราย ยื่นร้องขอความเป็นธรรม เหตุหลักเกณฑ์คุณสมบัติเทคนิคเหมือนล็อคสเป็คเข้ารอบ กลุ่มวีสมาร์ท ชี้ตกเกณท์รับได้ แต่ทำไมคณะทำงานชี้แจงไม่โปร่งใส รายละเอียดไม่ชัดเจน ขนาดเจ้าของเทคโนโลยีได้ชื่อว่ามีความปลอดภัยดีสุด อย่างไอบีเอ็ม และ ฟิลิปส์ ยังกอดคอตกไปด้วย
นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า การประกวดราคาจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี – อ็อคชั่น จำนวน 13 ล้านใบ มูลค่า 962 ล้านบาทในล็อตแรกจากจำนวน 26 ล้านใบ จากกำหนดเดิมที่จะต้องดำเนินการในวันที่ 19 ก.ค. กระทรวงไอซีที มีความจำเป็นต้องเลื่อนการอี อ็อคชั่น ออกไปอีกหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากมีปัญหาในด้านข้อร้องเรียนของผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติทางเทคนิค จากการทดสอบประสิทธิภาพบัตร จำนวน4 ราย ขอคำชี้แจงถึงสาเหตุกรณีไม่ผ่านเกณฑ์ หรือผิดไปจากหลักของ ทีโออาร์
“การทดสอบจากทั้ง 6 ราย ที่เข้ายื่นซอง และเข้าทดสอบทางเทคนิค ผ่านไปได้ แค่ 2ราย ไม่ผ่าน 4ราย ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะกรรมการจะต้องทำการชี้แจงต่อผู้ไม่ผ่านถึงสาเหตุ และให้เกิดความชัดเจน จึงทำให้ต้องเลื่อน อีอ๊อคชั่น ออกไปอีก”
สำหรับผู้ยื่นประมูล ทั้ง 6 ราย ประกอบด้วย 1.กลุ่มกิจการร่วมค้า IRC-HST โดยมีบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น เสนอชิปของซัมซุง และระบบปฏิบัติการของเอชเอสที กลุ่มที่ 2 คือ กิจการร่วมค้าเอฟไอเอ็มเอ โดยมีชื่อของบริษัท เดอะ โฟธ เวฟ โซลูชั่นส์ เสนอใช้ชิปฟิลิปส์ และระบบปฏิบัติการของ JCOP กลุ่มที่ 3 คือกิจการร่วมค้าวีสมาร์ท (V-Smart) เสนอใช้ชิปซัมซุงและซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการของ KEB Technology จากประเทศเกาหลี
กลุ่มที่ 4 คือกลุ่มมารูเบนี่ และ โอเบอทัวร์ เสนอชิปของฟิลิปส์ และซอฟต์แวร์ของ โอเบอทัวร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยเข้าร่วมประกวดราคา สมาร์ท การ์ดในครั้งแรก แต่ครั้งนั้นได้มีการยกเลิกการประมูล สำหรับกลุ่มที่ 5 คือ S-Infinity เสนอชิปของอินฟินิออน และระบบซอฟต์แวร์ของ ว๊อทดาต้า จากประเทศจีน และ กลุ่มที่ 6 กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท อินคอร์ป จำกัด และ เจมพลัส
แหล่งข่าวจากคณะทำงานทดสอบทางเทคนิค กล่าวว่า บัตรที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่ถือว่าใช้งานได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก โดยเฉพาะเรื่องของระบบปฏิบัติการจาวา หากเทียบกับบัตรในล็อตแรก 12 ล้านใบ ที่บัตรนั้นมีปัญหาในแง่การใช้งาน และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ต่ำ ส่วนการประมูลรอบนี้ ทุกรายที่นำบัตรมาให้ทดสอบจะนำไปใช้งานร่วมกับระบบของทางมหาดไทยได้ รวมถึงการบรรจุข้อมูล แต่สาเหตุการตกนั้นคณะทำงานไม่ทราบได้
โดยการพิจารณาทั้งหมดจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการทางด้านเทคนิค ที่จะเป็นผู้ให้คะแนนมากกว่า อีกทั้งการทดสอบครั้งนี้ได้มีหลายหน่วยงานได้นำมาตรฐานและแอพลิเคชั่นที่หลากหลายมาให้ทดสอบ จึงทำให้เกณฑ์พิจารณานั้นกว้างมาก และทำให้คะแนนการทดสอบจึงออกมาไม่ชัดเจนและมีผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพียงแค่ 2ราย
ขณะที่แหล่งข่าวจากกลุ่มกิจการร่วมค้าวีสมาร์ท กล่าวว่า ขณะนี้ตัวแทนของกลุ่ม ได้เข้ายื่นข้อร้องเรียนและอุทธรณ์ เพื่อถามถึงสาเหตุกรณีไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบ ซึ่งในบางเรื่องที่ทางคณะกรรมการประกวดราคา ได้ชี้แจงผ่านทางโทรศัพท์ ทางกลุ่มนั้นยอมรับได้เรื่องการไม่ผ่าน แต่ในเรื่องของเทคนิค ยังมีหลายจุดที่ทางกลุ่มเกิดข้อสงสัย ในคุณสมบัติของตัวชิพและแอพลิเคชั่น ของทางกรรมการปกครองที่มาบรรจุ จนทำให้การบรรจุข้อมูลนั้นมีข้อผิดพลาด และทางคณะกรรมการอ้างถึงการไม่ผ่าน อีกทั้ง การตกคุณสมบัติครั้งนี้ มีประเด็นที่น่าสงสัยในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างมากที่ 2 รายอย่าง ไอบีเอ็ม และ ฟิลิปส์ ที่รู้จักอยู่ว่าเป็นสเป็คดีที่สุดกว่าทุกรายนั้นก็สอบตกเช่นกัน ซึ่งทางกลุ่มสอบถามไป ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถชี้แจงได้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึง เกณฑ์การทดสอบครั้งนี้มีความไม่โปร่งใสและยังอ่อนทางด้านเทคนิค ถึงแม้กลุ่ม จะเป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบทางเทคนิค
Company Related Links:
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)
IBM
Philips
นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า การประกวดราคาจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์แบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี – อ็อคชั่น จำนวน 13 ล้านใบ มูลค่า 962 ล้านบาทในล็อตแรกจากจำนวน 26 ล้านใบ จากกำหนดเดิมที่จะต้องดำเนินการในวันที่ 19 ก.ค. กระทรวงไอซีที มีความจำเป็นต้องเลื่อนการอี อ็อคชั่น ออกไปอีกหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากมีปัญหาในด้านข้อร้องเรียนของผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติทางเทคนิค จากการทดสอบประสิทธิภาพบัตร จำนวน4 ราย ขอคำชี้แจงถึงสาเหตุกรณีไม่ผ่านเกณฑ์ หรือผิดไปจากหลักของ ทีโออาร์
“การทดสอบจากทั้ง 6 ราย ที่เข้ายื่นซอง และเข้าทดสอบทางเทคนิค ผ่านไปได้ แค่ 2ราย ไม่ผ่าน 4ราย ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะกรรมการจะต้องทำการชี้แจงต่อผู้ไม่ผ่านถึงสาเหตุ และให้เกิดความชัดเจน จึงทำให้ต้องเลื่อน อีอ๊อคชั่น ออกไปอีก”
สำหรับผู้ยื่นประมูล ทั้ง 6 ราย ประกอบด้วย 1.กลุ่มกิจการร่วมค้า IRC-HST โดยมีบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น เสนอชิปของซัมซุง และระบบปฏิบัติการของเอชเอสที กลุ่มที่ 2 คือ กิจการร่วมค้าเอฟไอเอ็มเอ โดยมีชื่อของบริษัท เดอะ โฟธ เวฟ โซลูชั่นส์ เสนอใช้ชิปฟิลิปส์ และระบบปฏิบัติการของ JCOP กลุ่มที่ 3 คือกิจการร่วมค้าวีสมาร์ท (V-Smart) เสนอใช้ชิปซัมซุงและซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการของ KEB Technology จากประเทศเกาหลี
กลุ่มที่ 4 คือกลุ่มมารูเบนี่ และ โอเบอทัวร์ เสนอชิปของฟิลิปส์ และซอฟต์แวร์ของ โอเบอทัวร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยเข้าร่วมประกวดราคา สมาร์ท การ์ดในครั้งแรก แต่ครั้งนั้นได้มีการยกเลิกการประมูล สำหรับกลุ่มที่ 5 คือ S-Infinity เสนอชิปของอินฟินิออน และระบบซอฟต์แวร์ของ ว๊อทดาต้า จากประเทศจีน และ กลุ่มที่ 6 กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท อินคอร์ป จำกัด และ เจมพลัส
แหล่งข่าวจากคณะทำงานทดสอบทางเทคนิค กล่าวว่า บัตรที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่ถือว่าใช้งานได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก โดยเฉพาะเรื่องของระบบปฏิบัติการจาวา หากเทียบกับบัตรในล็อตแรก 12 ล้านใบ ที่บัตรนั้นมีปัญหาในแง่การใช้งาน และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ต่ำ ส่วนการประมูลรอบนี้ ทุกรายที่นำบัตรมาให้ทดสอบจะนำไปใช้งานร่วมกับระบบของทางมหาดไทยได้ รวมถึงการบรรจุข้อมูล แต่สาเหตุการตกนั้นคณะทำงานไม่ทราบได้
โดยการพิจารณาทั้งหมดจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการทางด้านเทคนิค ที่จะเป็นผู้ให้คะแนนมากกว่า อีกทั้งการทดสอบครั้งนี้ได้มีหลายหน่วยงานได้นำมาตรฐานและแอพลิเคชั่นที่หลากหลายมาให้ทดสอบ จึงทำให้เกณฑ์พิจารณานั้นกว้างมาก และทำให้คะแนนการทดสอบจึงออกมาไม่ชัดเจนและมีผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพียงแค่ 2ราย
ขณะที่แหล่งข่าวจากกลุ่มกิจการร่วมค้าวีสมาร์ท กล่าวว่า ขณะนี้ตัวแทนของกลุ่ม ได้เข้ายื่นข้อร้องเรียนและอุทธรณ์ เพื่อถามถึงสาเหตุกรณีไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบ ซึ่งในบางเรื่องที่ทางคณะกรรมการประกวดราคา ได้ชี้แจงผ่านทางโทรศัพท์ ทางกลุ่มนั้นยอมรับได้เรื่องการไม่ผ่าน แต่ในเรื่องของเทคนิค ยังมีหลายจุดที่ทางกลุ่มเกิดข้อสงสัย ในคุณสมบัติของตัวชิพและแอพลิเคชั่น ของทางกรรมการปกครองที่มาบรรจุ จนทำให้การบรรจุข้อมูลนั้นมีข้อผิดพลาด และทางคณะกรรมการอ้างถึงการไม่ผ่าน อีกทั้ง การตกคุณสมบัติครั้งนี้ มีประเด็นที่น่าสงสัยในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างมากที่ 2 รายอย่าง ไอบีเอ็ม และ ฟิลิปส์ ที่รู้จักอยู่ว่าเป็นสเป็คดีที่สุดกว่าทุกรายนั้นก็สอบตกเช่นกัน ซึ่งทางกลุ่มสอบถามไป ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถชี้แจงได้ ซึ่งชี้ให้เห็นถึง เกณฑ์การทดสอบครั้งนี้มีความไม่โปร่งใสและยังอ่อนทางด้านเทคนิค ถึงแม้กลุ่ม จะเป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบทางเทคนิค
Company Related Links:
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)
IBM
Philips