กรมสรรพากรยกเครื่องเรื่องไอที ด้วยการเปิดบริการ 8 ประเภทผ่านเว็บเซอร์วิสฟรี เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลทางธุรกิจและวิเคราะห์ตลาด
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้เปิดให้บริการเว็บเซอร์วิสบนอินเทอร์เน็ต 8 รายการ คือ 1.การตรวจสอบเลขประจำตัวประชาชน และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 2.ข้อมูลผลการเก็บภาษีอากร 3.ข้อมูลกิจการร่วมค้า และบริษัทต่างชาติ 4.ข้อมูลร้านค้าคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนักท่องเที่ยว 5.ข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.ข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 7.ข้อมูลผู้ประกอบการอัญมณีที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 8.การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อสร้างความสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ
“ข้อมูลพวกนี้เราสามารถขายได้ แต่เราให้บริการฟรีกับประชาชนทั่วไป และจะเป็นประโยชน์มากกับผู้ประกอบกิจการที่ทำในเชิงธุรกิจ ที่สามารถนำไปเป็นข้อมูลวิเคราะห์ตลาดได้”
ข้อมูลที่กรมสรรพากรให้บริการครั้งนี้ อธิบดียืนยันว่าไม่ผิดกฎหมายตามมาตรา 10 เนื่องจากได้มีการศึกษาอย่างดีจากฝ่ายกฎหมายแล้ว ส่วนผู้ที่สนใจสามารถขอไอดี พาสเวิร์ดได้ที่กรมสรรพากร สำหรับองค์กรธุรกิจสามารถเขียนโปรแกรมที่จะมาดึงข้อมูลจากตรงนี้ได้ เนื่องจากกรมสรรพากรจัดแยกออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลกลางไว้เรียบร้อยแล้ว
การให้บริการเว็บเซอร์วิสดังกล่าว กรมสรรพากรมั่นใจว่าเป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ และเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นองค์กรอื่นๆ ให้มีการนำไอทีไปใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายได้
ส่วนงบประมาณในการพัฒนาเว็บเซอร์วิสครั้งนี้ อธิบดีกรมสรรพากรยืนยันว่าไม่มี เป็นการใช้ศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ช่วยกันพัฒนา โดยใช้เวลาประมาณ 1 ปี
สำหรับเว็บเซอร์วิสเป็นแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะให้บริการที่เรียกใช้งานจากแอปพลิเคชันอื่นๆ ในรูปของระบบสั่งงานระยะไกล หรืออาร์พีซี โดยการให้บริการจะมีเอกสารที่อธิบายคุณสมบัติของบริการกำกับไว้มีภาษาที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนคือ XML โดยมี Sample Object Access Protocol (SOAP) เป็นตัวที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนแอปพลิเคชันในรูปแบบ XML ได้
Company Related Links:
กรมสรรพากร
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้เปิดให้บริการเว็บเซอร์วิสบนอินเทอร์เน็ต 8 รายการ คือ 1.การตรวจสอบเลขประจำตัวประชาชน และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 2.ข้อมูลผลการเก็บภาษีอากร 3.ข้อมูลกิจการร่วมค้า และบริษัทต่างชาติ 4.ข้อมูลร้านค้าคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนักท่องเที่ยว 5.ข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.ข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 7.ข้อมูลผู้ประกอบการอัญมณีที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 8.การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อสร้างความสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ
“ข้อมูลพวกนี้เราสามารถขายได้ แต่เราให้บริการฟรีกับประชาชนทั่วไป และจะเป็นประโยชน์มากกับผู้ประกอบกิจการที่ทำในเชิงธุรกิจ ที่สามารถนำไปเป็นข้อมูลวิเคราะห์ตลาดได้”
ข้อมูลที่กรมสรรพากรให้บริการครั้งนี้ อธิบดียืนยันว่าไม่ผิดกฎหมายตามมาตรา 10 เนื่องจากได้มีการศึกษาอย่างดีจากฝ่ายกฎหมายแล้ว ส่วนผู้ที่สนใจสามารถขอไอดี พาสเวิร์ดได้ที่กรมสรรพากร สำหรับองค์กรธุรกิจสามารถเขียนโปรแกรมที่จะมาดึงข้อมูลจากตรงนี้ได้ เนื่องจากกรมสรรพากรจัดแยกออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลกลางไว้เรียบร้อยแล้ว
การให้บริการเว็บเซอร์วิสดังกล่าว กรมสรรพากรมั่นใจว่าเป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ และเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นองค์กรอื่นๆ ให้มีการนำไอทีไปใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายได้
ส่วนงบประมาณในการพัฒนาเว็บเซอร์วิสครั้งนี้ อธิบดีกรมสรรพากรยืนยันว่าไม่มี เป็นการใช้ศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ช่วยกันพัฒนา โดยใช้เวลาประมาณ 1 ปี
สำหรับเว็บเซอร์วิสเป็นแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะให้บริการที่เรียกใช้งานจากแอปพลิเคชันอื่นๆ ในรูปของระบบสั่งงานระยะไกล หรืออาร์พีซี โดยการให้บริการจะมีเอกสารที่อธิบายคุณสมบัติของบริการกำกับไว้มีภาษาที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนคือ XML โดยมี Sample Object Access Protocol (SOAP) เป็นตัวที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนแอปพลิเคชันในรูปแบบ XML ได้
Company Related Links:
กรมสรรพากร