หลังการจดทะเบียนเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เมื่อ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) นับเป็นครั้งแรกที่ทีโอทีจัดงาน “TOT เปิดโสตสัมผัส สู่โลกแห่งการเรียนรู้” เพื่อสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก โดยมีนายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที และพนักงานระดับบริหารทั่วประเทศกว่า 500 คน พร้อมใจประกาศพันธะสัญญาเพื่อร่วมนำทีโอทีสู่วิสัยทัศน์ในการเป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมการส่งมอบความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า ซึ่งงานนี้มีนางทิพวรรณ์ วุฑฒิสาร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านทรัพยากรบุคคล รับนโยบายผลักดันเต็มที่
ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการปรับเปลี่ยนองค์กร ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการ Re-Branding ทีโอที
ทำไมต้องปรับองค์กรสู่การเรียนรู้
วันนี้หลายองค์กรจำเป็นต้องปรับตัว เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นไปในลักษณะโลกาภิวัตน์ การแข่งขันมีความรุนแรงสูงขึ้น ทีโอทีก็ต้องปรับเพื่อให้ยังคงความเป็นหนึ่ง ปัจจุบันการบริหารจัดการที่ดี กลยุทธ์หรือเทคโนโลยีไม่เพียงพอแล้ว วันนี้ทีโอทีจะต้องพัฒนาตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งก็คือองค์กรที่มุ่งเน้นให้บุคลากรมีความสนใจใฝ่รู้ กระตือรือร้น และพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายของการนำองค์กรสู่การเรียนรู้
ขณะนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก การที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในอดีตไม่จำเป็นว่าจะต้องเก่งในปัจจุบัน สิ่งสำคัญบุคลากรจะต้องมีความตั้งใจที่จะพัฒนาโดยพร้อมที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย มุ่งการทำงานเป็นทีม รู้จักวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทดลองและค้นหาแนวทางใหม่ๆ และมีการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่จะให้พนักงานเริ่มที่ใจ คือมีอัตตา (ตัว) ยอมรับวิธีคิดของผู้อื่น และมีมุมมองที่กว้างไกล ใฝ่พัฒนาตน คือรู้จักตนเอง สมรรถนะของตน และพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ร่วมสานวิสัยทัศน์ คือสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน สร้างสรรค์เป็นทีม คือเรียนรู้และการทำงานร่วมกันเป็นทีม คิดเป็นระบบ คือคิดเป็นระบบครบวงจร เชื่อมโยงสัมพันธ์และคำนึงถึงภาพรวม
ปัจจัยอะไรบ้างที่จะนำทีโอทีไปสู่การเรียนรู้
การก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์หลักของทีโอที ซึ่งผมมีนโยบายสนับสนุนให้นำแนวทางการจัดการการคุณภาพทั้งองค์กร หรือ Total Quality Management ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ขององค์กรให้พนักงานที่จะร่วมกันพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริการ รวมถึงการจัดโครงสร้างที่กระจายอำนาจเพื่อให้พนักงานทุกระดับได้บริหารตนเอง การสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ ในการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งปันและการถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ผ่านทาง e- Learning ด้วยการเปิดให้บริการหลักสูตรกลยุทธ์การบริหารองค์กรไปสู่เป้าหมาย (Balanced Score Card) การเปิดบริการเว็บไซต์ http://kbs.intra.tot.co.th TOT KBS (TOT Knowledge–Base Society) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางองค์กรความรู้ ข่าวสาร บทความ ผลงานวิจัยต่างๆ พร้อมจัดทำกระดานบอร์ด ห้องสนทนา
การปรับสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้จะส่งผลในด้านใดบ้าง
การมองธุรกิจมองในระดับสากลภายใต้ Globalization คำว่าประเทศในทางธุรกิจมีความหมายน้อยลง โดยเฉพาะธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจข้ามแดน ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน การก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้จะทำให้ทีโอทีสามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และบริการที่เป็นเลิศ เพิ่มผลผลิตและประสิทธิผลให้องค์กรสูงขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรอย่างยั่งยืนนั่นหมายถึงโอกาสที่ทีโอทีจะสามารถก้าวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศได้เร็วขึ้นด้วย
ความพร้อมขององค์กร
ถ้าถามว่าทีโอทีพร้อมมั้ย จากระบบงานต่างๆ ที่เป็นแบบราชการถึง 90% ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมองเห็นว่าต้องใช้เวลา แต่วันนี้เวลารอช้าไม่ได้ ผมบอกได้เลยว่าปีนี้ทีโอทีทำงานหนักและหนักมากด้วย ซึ่งจะหนักขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจัยหลายๆ อย่างจะผลักดันให้ทีโอทีหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องก้าวไปข้างหน้า ทั้งการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหนือความคาดหมายและคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย แรงกดดันจากคู่แข่งขันที่สร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ทั้งการควบรวมกิจการ การร่วมเป็นพันธมิตรต่างๆ เหล่านี้ทำให้การแข่งขันรุนแรง รวมถึงการที่ประเทศไทยจะเปิดเสรีโทรคมนาคมในปี 2549 และการนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ เป็นภาระที่หนักมาก ซึ่งการที่ทีโอทีก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะทำให้มุมมองของทั้งผู้บริหารและพนักงานไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมกัน คือเป็นภาพในอนาคตขององค์กรที่ทุกคนต้องการไปให้ถึงร่วมกัน ไม่ใช่ภาพที่เกิดจากวิสัยทัศน์ของผู้นำ ทุกคนจะเกิดการเรียนรู้เป็นขบวนการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นหนึ่งเดี่ยว
ก้าวต่อไปของทีโอที
นอกจากการผลักดันทีโอทีสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว การปรับเปลี่ยนแบรนด์ของบริษัท (Re-brand) นับเป็นอาวุธที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ การวางตำแหน่งของทีโอทีจึงต้องพิถีพิถันเพื่อให้ภาพของทีโอที หลุดจากภาพที่เป็นราชการ เป็นความรู้สึกใหม่ ทันสมัย ไม่หยุดนิ่ง เป็นองค์กรรุ่นใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนชื่อและสัญลักษณ์บริษัท เป็นเพียงจุดเริ่มต้นภายนอกเท่านั้น การ Re-brand ที่แท้จริงคือการทำให้ทุกคนเห็นว่าทีโอทีเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศ จากเดิมที่ทีโอทีทำธุรกิจโครงข่ายและโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งเมื่อมองไปทั่วโลกธุรกิจที่ไม่มีธุรกิจเสริมจะมีอัตราการเติบโตที่ถดถอย วันนี้ทีโอทีไม่เพียงรักษาธุรกิจเดิมไม่ให้ถอถอย แต่มีการทำธุรกิจใหม่เพื่อเสริมธุรกิจเดิม ทั้งธุรกิจโทรคมนาคมไร้สาย และธุรกิจด้านมัลติมีเดียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาพทั้งหมดจะต่อเป็นจิกซอว์ที่ชัดเจนในงาน TOT Re-branding Day ในวันที่ 31 กรกฎาคม นี้
Company Related Links :
TOT
ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของการปรับเปลี่ยนองค์กร ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการ Re-Branding ทีโอที
ทำไมต้องปรับองค์กรสู่การเรียนรู้
วันนี้หลายองค์กรจำเป็นต้องปรับตัว เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นไปในลักษณะโลกาภิวัตน์ การแข่งขันมีความรุนแรงสูงขึ้น ทีโอทีก็ต้องปรับเพื่อให้ยังคงความเป็นหนึ่ง ปัจจุบันการบริหารจัดการที่ดี กลยุทธ์หรือเทคโนโลยีไม่เพียงพอแล้ว วันนี้ทีโอทีจะต้องพัฒนาตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งก็คือองค์กรที่มุ่งเน้นให้บุคลากรมีความสนใจใฝ่รู้ กระตือรือร้น และพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายของการนำองค์กรสู่การเรียนรู้
ขณะนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก การที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในอดีตไม่จำเป็นว่าจะต้องเก่งในปัจจุบัน สิ่งสำคัญบุคลากรจะต้องมีความตั้งใจที่จะพัฒนาโดยพร้อมที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย มุ่งการทำงานเป็นทีม รู้จักวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทดลองและค้นหาแนวทางใหม่ๆ และมีการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่จะให้พนักงานเริ่มที่ใจ คือมีอัตตา (ตัว) ยอมรับวิธีคิดของผู้อื่น และมีมุมมองที่กว้างไกล ใฝ่พัฒนาตน คือรู้จักตนเอง สมรรถนะของตน และพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ร่วมสานวิสัยทัศน์ คือสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน สร้างสรรค์เป็นทีม คือเรียนรู้และการทำงานร่วมกันเป็นทีม คิดเป็นระบบ คือคิดเป็นระบบครบวงจร เชื่อมโยงสัมพันธ์และคำนึงถึงภาพรวม
ปัจจัยอะไรบ้างที่จะนำทีโอทีไปสู่การเรียนรู้
การก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์หลักของทีโอที ซึ่งผมมีนโยบายสนับสนุนให้นำแนวทางการจัดการการคุณภาพทั้งองค์กร หรือ Total Quality Management ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ขององค์กรให้พนักงานที่จะร่วมกันพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริการ รวมถึงการจัดโครงสร้างที่กระจายอำนาจเพื่อให้พนักงานทุกระดับได้บริหารตนเอง การสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ ในการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งปันและการถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ผ่านทาง e- Learning ด้วยการเปิดให้บริการหลักสูตรกลยุทธ์การบริหารองค์กรไปสู่เป้าหมาย (Balanced Score Card) การเปิดบริการเว็บไซต์ http://kbs.intra.tot.co.th TOT KBS (TOT Knowledge–Base Society) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางองค์กรความรู้ ข่าวสาร บทความ ผลงานวิจัยต่างๆ พร้อมจัดทำกระดานบอร์ด ห้องสนทนา
การปรับสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้จะส่งผลในด้านใดบ้าง
การมองธุรกิจมองในระดับสากลภายใต้ Globalization คำว่าประเทศในทางธุรกิจมีความหมายน้อยลง โดยเฉพาะธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจข้ามแดน ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน การก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้จะทำให้ทีโอทีสามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และบริการที่เป็นเลิศ เพิ่มผลผลิตและประสิทธิผลให้องค์กรสูงขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรอย่างยั่งยืนนั่นหมายถึงโอกาสที่ทีโอทีจะสามารถก้าวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศได้เร็วขึ้นด้วย
ความพร้อมขององค์กร
ถ้าถามว่าทีโอทีพร้อมมั้ย จากระบบงานต่างๆ ที่เป็นแบบราชการถึง 90% ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมองเห็นว่าต้องใช้เวลา แต่วันนี้เวลารอช้าไม่ได้ ผมบอกได้เลยว่าปีนี้ทีโอทีทำงานหนักและหนักมากด้วย ซึ่งจะหนักขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจัยหลายๆ อย่างจะผลักดันให้ทีโอทีหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องก้าวไปข้างหน้า ทั้งการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหนือความคาดหมายและคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย แรงกดดันจากคู่แข่งขันที่สร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ทั้งการควบรวมกิจการ การร่วมเป็นพันธมิตรต่างๆ เหล่านี้ทำให้การแข่งขันรุนแรง รวมถึงการที่ประเทศไทยจะเปิดเสรีโทรคมนาคมในปี 2549 และการนำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ เป็นภาระที่หนักมาก ซึ่งการที่ทีโอทีก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะทำให้มุมมองของทั้งผู้บริหารและพนักงานไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมกัน คือเป็นภาพในอนาคตขององค์กรที่ทุกคนต้องการไปให้ถึงร่วมกัน ไม่ใช่ภาพที่เกิดจากวิสัยทัศน์ของผู้นำ ทุกคนจะเกิดการเรียนรู้เป็นขบวนการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นหนึ่งเดี่ยว
ก้าวต่อไปของทีโอที
นอกจากการผลักดันทีโอทีสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว การปรับเปลี่ยนแบรนด์ของบริษัท (Re-brand) นับเป็นอาวุธที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ การวางตำแหน่งของทีโอทีจึงต้องพิถีพิถันเพื่อให้ภาพของทีโอที หลุดจากภาพที่เป็นราชการ เป็นความรู้สึกใหม่ ทันสมัย ไม่หยุดนิ่ง เป็นองค์กรรุ่นใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนชื่อและสัญลักษณ์บริษัท เป็นเพียงจุดเริ่มต้นภายนอกเท่านั้น การ Re-brand ที่แท้จริงคือการทำให้ทุกคนเห็นว่าทีโอทีเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศ จากเดิมที่ทีโอทีทำธุรกิจโครงข่ายและโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งเมื่อมองไปทั่วโลกธุรกิจที่ไม่มีธุรกิจเสริมจะมีอัตราการเติบโตที่ถดถอย วันนี้ทีโอทีไม่เพียงรักษาธุรกิจเดิมไม่ให้ถอถอย แต่มีการทำธุรกิจใหม่เพื่อเสริมธุรกิจเดิม ทั้งธุรกิจโทรคมนาคมไร้สาย และธุรกิจด้านมัลติมีเดียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาพทั้งหมดจะต่อเป็นจิกซอว์ที่ชัดเจนในงาน TOT Re-branding Day ในวันที่ 31 กรกฎาคม นี้
Company Related Links :
TOT