เคเอสซีเพิ่มช่องทางขยายฐานลูกค้า ด้วยการเปิดบริการขายอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ จ่ายค่าบริการรายเดือนผ่านโทรศัพท์ ปิดข้ออ้างลูกค้าทุกทางที่จะปฏิเสธการการจ่ายเงินให้กับเคเอสซี หวังกระตุ้นรายได้เพิ่มอีก 5% เชื่อแนร์โรวแบนด์ไม่ตายแต่จะโตคู่บรอดแบนด์
นายประพนธ์ พงษ์ประพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย Consumer Dial-up Development บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด กล่าวถึงการขยายการบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็ว 56 K หรือเค เอส ซี แนร์โรว์แบนด์ โดยการ เร่งขยายฐานลูกค้า ด้วยการจับมือ กับพันธมิตร คือบริษัท เพย์ซี่ (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ Mobile Payment Club (MPC) ซึ่งเป็นบริการซื้อชั่วโมง อินเทอร์เน็ต KSC One Card ผ่าน SMS ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส และดีแทค มีให้เลือกสองแพกเกจ ราคา 59 บาท และ 209 บาท เอไอเอส ให้บริการ mPAY โดยลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือในเครือข่ายเอไอเอสสามารถซื้ออินเทอร์เน็ตแพกเกจ Sanook! Card, Sanook! 1222, Web Surfer V.3, Web Surfer V.3 Plus, KSC One Card และ KSC Hotspot และชำระค่าสินค้าผ่านบริการ mPAY ได้ โดยจะเสียค่าบริการข้อความละ 3 บาท ส่วนวิธีใช้ลูกค้าจะต้องเข้าเมนู “Write Mwssage” แล้วพิมพ์แพกเกจที่ต้องการซื้อ
พร้อมกันนี้ ยังได้ร่วมกับบริษัท อาร์.เอ็น.ที.กรุ๊ป (RNT) ให้บริการ Phone Payment 1900 444 222 สำหรับลูกค้าสมาชิกอินเทอร์เน็ตรายเดือนให้ชำระค่าบริการผ่านระบบโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเสียค่าบริการนาทีละ 6 บาท ซึ่งบริการตรงนี้ลูกค้าต้องลงทะเบียนกับธนาคารก่อน และดำเนินการตามขึ้นตอนที่แนะนำ
การเปิดให้บริการดังกล่าว เคเอสซีเชื่อว่าจะสามารถสร้างความหลากหลายในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่าย
สำหรับบริการซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ อย่าง mPAY จะช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแพกเกจของเค เอส ซี โดยการขยายไปยังกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 25 ล้านเลขหมาย ส่วนบริการ MPC เปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ต KSC One Card ผ่าน SMS เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจาก KSC One Card เป็นอินเทอร์เน็ตแพกเกจอเนกประสงค์ที่สามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกบริการของเค เอส ซี ไม่ว่าจะเป็น Dial-up 56K., ISDN, Broadband ADSL และ KSC Hotspot
ปัจจุบัน เค เอส ซี มีช่องทางการชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่หลากหลาย เช่น ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร, เคาน์เตอร์ เซอร์วิส, เพย์พ้อยท์, เจย์มาร์ท เพย์พ้อยท์, ชำระทางไปรษณีย์, เอทีเอ็ม และ ชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ส่วนการเพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการทางโทรศัพท์ จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเพิ่มความสะดวกในการชำระค่าบริการสำหรับสมาชิกของเค เอส ซี มากขึ้น
“ทิศทางใหม่ของเราคือการพัฒนาสินค้า สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคีย์ ซักเซสของความสำเร็จของบริการแนร์โรวแบนด์”
การเปิดบริการใหม่ของเคเอสซีครั้งนี้ เป็นการพัฒนาจากจุดที่ผู้บริการมีความต้องการความสะดวก และง่ายขึ้น ซึ่งเป็นการส่งบริการถึงบ้าน ถึงมือผู้บริโภค จากเดิมที่ต้องเดินไปซื้อแพกเกจอินเทอร์เน็ตตามเซเว่น-อีเลฟเว่น ไอทีมอลล์ หรือต้องไปจ่ายค่าบริการตามธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
“เราพยายามปิดข้ออ้างทุกอย่างที่ลูกค้าจะไม่จ่ายเงินเรา อย่างบริการใหม่นี้ เป็นการทำให้เห็นความง่าย สะดวกในการใช้เน็ต และเป็นการดึงดูดลูกค้าให้ซื้อง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อเหมือนที่ผ่านมา ที่เราทำให้ 500 เมตร ถึงหนึ่งกิโลเมตรต้องมีร้านขายผลิตภัณฑ์ของเคเอสซี ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้ว”
จากการเปิดบริการใหม่นี้ เคเอสซีตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถกระตุ้นรายได้รวมเพิ่มขึ้นอีก 5% หรือเพิ่ม 1% ผู้บริการเคเอสซียืนยันว่ามีกำไรแล้ว เนื่องจากไม่มีการลงทุกอะไรเพิ่ม แต่เป็นการต่อยอดจากของเดิมที่มีอยู่
แนร์โรวแบนด์ไม่ตาย
นายประพนธ์กล่าวถึงแนวโน้มของบริการอินเทอร์เน็ตแบบแนร์โรวแบนด์ว่า บริการประเทศนี้ยังมีความต้องการของตลาดอยู่ และเป็นบริการที่ไม่ตาย แต่จะโตควบคู่ไปกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์
เขายกตัวอย่างให้เห็นว่า ผู้บริโภคอายุระหว่าง 20-30 ปี จะมีการใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 30 ชม.ต่อเดือน ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปใช้บรอดแบนด์ที่ต้องจ่ายค่าบริการ 500 บาทต่อเดือนแบบไม่จำกัดชม. เพราะถ้าใช้แนร์โรวแบนด์จะเสียค่าบริการประมาณ 200 กว่าบาทต่อเดือนเท่านั้น
Company Related Links:
KSC
RNT
นายประพนธ์ พงษ์ประพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย Consumer Dial-up Development บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด กล่าวถึงการขยายการบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็ว 56 K หรือเค เอส ซี แนร์โรว์แบนด์ โดยการ เร่งขยายฐานลูกค้า ด้วยการจับมือ กับพันธมิตร คือบริษัท เพย์ซี่ (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ Mobile Payment Club (MPC) ซึ่งเป็นบริการซื้อชั่วโมง อินเทอร์เน็ต KSC One Card ผ่าน SMS ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส และดีแทค มีให้เลือกสองแพกเกจ ราคา 59 บาท และ 209 บาท เอไอเอส ให้บริการ mPAY โดยลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือในเครือข่ายเอไอเอสสามารถซื้ออินเทอร์เน็ตแพกเกจ Sanook! Card, Sanook! 1222, Web Surfer V.3, Web Surfer V.3 Plus, KSC One Card และ KSC Hotspot และชำระค่าสินค้าผ่านบริการ mPAY ได้ โดยจะเสียค่าบริการข้อความละ 3 บาท ส่วนวิธีใช้ลูกค้าจะต้องเข้าเมนู “Write Mwssage” แล้วพิมพ์แพกเกจที่ต้องการซื้อ
พร้อมกันนี้ ยังได้ร่วมกับบริษัท อาร์.เอ็น.ที.กรุ๊ป (RNT) ให้บริการ Phone Payment 1900 444 222 สำหรับลูกค้าสมาชิกอินเทอร์เน็ตรายเดือนให้ชำระค่าบริการผ่านระบบโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเสียค่าบริการนาทีละ 6 บาท ซึ่งบริการตรงนี้ลูกค้าต้องลงทะเบียนกับธนาคารก่อน และดำเนินการตามขึ้นตอนที่แนะนำ
การเปิดให้บริการดังกล่าว เคเอสซีเชื่อว่าจะสามารถสร้างความหลากหลายในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่าย
สำหรับบริการซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ อย่าง mPAY จะช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแพกเกจของเค เอส ซี โดยการขยายไปยังกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 25 ล้านเลขหมาย ส่วนบริการ MPC เปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ต KSC One Card ผ่าน SMS เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจาก KSC One Card เป็นอินเทอร์เน็ตแพกเกจอเนกประสงค์ที่สามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกบริการของเค เอส ซี ไม่ว่าจะเป็น Dial-up 56K., ISDN, Broadband ADSL และ KSC Hotspot
ปัจจุบัน เค เอส ซี มีช่องทางการชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่หลากหลาย เช่น ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร, เคาน์เตอร์ เซอร์วิส, เพย์พ้อยท์, เจย์มาร์ท เพย์พ้อยท์, ชำระทางไปรษณีย์, เอทีเอ็ม และ ชำระเงินทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ส่วนการเพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการทางโทรศัพท์ จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเพิ่มความสะดวกในการชำระค่าบริการสำหรับสมาชิกของเค เอส ซี มากขึ้น
“ทิศทางใหม่ของเราคือการพัฒนาสินค้า สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคีย์ ซักเซสของความสำเร็จของบริการแนร์โรวแบนด์”
การเปิดบริการใหม่ของเคเอสซีครั้งนี้ เป็นการพัฒนาจากจุดที่ผู้บริการมีความต้องการความสะดวก และง่ายขึ้น ซึ่งเป็นการส่งบริการถึงบ้าน ถึงมือผู้บริโภค จากเดิมที่ต้องเดินไปซื้อแพกเกจอินเทอร์เน็ตตามเซเว่น-อีเลฟเว่น ไอทีมอลล์ หรือต้องไปจ่ายค่าบริการตามธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
“เราพยายามปิดข้ออ้างทุกอย่างที่ลูกค้าจะไม่จ่ายเงินเรา อย่างบริการใหม่นี้ เป็นการทำให้เห็นความง่าย สะดวกในการใช้เน็ต และเป็นการดึงดูดลูกค้าให้ซื้อง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อเหมือนที่ผ่านมา ที่เราทำให้ 500 เมตร ถึงหนึ่งกิโลเมตรต้องมีร้านขายผลิตภัณฑ์ของเคเอสซี ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้ว”
จากการเปิดบริการใหม่นี้ เคเอสซีตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถกระตุ้นรายได้รวมเพิ่มขึ้นอีก 5% หรือเพิ่ม 1% ผู้บริการเคเอสซียืนยันว่ามีกำไรแล้ว เนื่องจากไม่มีการลงทุกอะไรเพิ่ม แต่เป็นการต่อยอดจากของเดิมที่มีอยู่
แนร์โรวแบนด์ไม่ตาย
นายประพนธ์กล่าวถึงแนวโน้มของบริการอินเทอร์เน็ตแบบแนร์โรวแบนด์ว่า บริการประเทศนี้ยังมีความต้องการของตลาดอยู่ และเป็นบริการที่ไม่ตาย แต่จะโตควบคู่ไปกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์
เขายกตัวอย่างให้เห็นว่า ผู้บริโภคอายุระหว่าง 20-30 ปี จะมีการใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 30 ชม.ต่อเดือน ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปใช้บรอดแบนด์ที่ต้องจ่ายค่าบริการ 500 บาทต่อเดือนแบบไม่จำกัดชม. เพราะถ้าใช้แนร์โรวแบนด์จะเสียค่าบริการประมาณ 200 กว่าบาทต่อเดือนเท่านั้น
Company Related Links:
KSC
RNT