ซันไมโครซิสเต็มส์เตรียมประกาศรายละเอียดแผนการให้บริการในอนาคตแก่ลูกค้าผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของซัน ที่นักวิเคราะห์มองว่าเป็นความตั้งใจของซันที่จะผันตัวเองจากการเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นโพรไวเดอร์อย่างเต็มตัว ในการให้บริการเช่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประสิทธิภาพเยี่ยม ซึ่งเน้นจุดยืนที่การไม่เข้าไปเทคโอเวอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ของบริษัทนั้นๆ ทำให้สามารถคิดค่าให้บริการตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้
โจนาธาน ชวาร์ซ (Jonathan Schwartz) ประธานฝ่ายปฏิบัติงานของซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystem) สาขาสำนักงานใหญ่ เมืองซานตา คลารา สหรัฐอเมริกา เตรียมประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับบริการด้านเครือข่ายของซัน ซึ่งเป็นเนื้อความส่วนหนึ่งในสุนทรพจน์ที่จะกล่าวต่อบริษัทคู่ค้าและลูกค้าของซัน ในงานประชุมที่จะจัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ ประเทศจีน แผนใหม่ของซันในครั้งนี้จะเปิดทางให้ลูกค้าของซัน เลือกเปลี่ยนวิธีการชำระค่าบริการได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการทั้งหลายของซัน
``การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นวิธีการดำเนินธุรกิจ หรือบิสสิเนสโมเดล (business model) แบบใหม่ ที่จะให้ยูสเซอร์สามารถชำระเงินต่อครั้งที่ใช้บริการได้ (pay per use)'' แลร์รี ซิงเกอร์ (Larry Singer) รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การตลาดของซันกล่าว ``ในขณะนี้ recurring revenue (เงินได้สม่ำเสมอ) ของซันอยู่ที่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของรายรับทั้งหมด เป้าหมายในอนาคตของซัน คือจะต้องปรับให้เพิ่มขึ้นเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ให้ได้''
หลายฝ่ายมองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของซัน เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะนำมารับมือในเกมวิ่งไล่จับกับบริการ “on demand” แนวคิดการให้บริการตามความต้องการของผู้บริโภคจากไอบีเอ็ม (IBM) หรือบริการ “adaptive enterprise” ไอเดียการประยุกต์เครื่องมือในองค์กรให้สามารถทำงานได้ตามสถานการณ์จากเอชพี (HP) แต่ซันนั้นกลับจะเน้นไปที่กลุ่มองค์กรที่เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์กับซัน เพื่อประมวลผลข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรนั้นๆ เมื่อดูจากภาพรวมแล้ว ซันไม่ได้มุ่งไปที่การเอาท์ซอร์ส (outsourcing) หรือการเข้าไปเทคโอเวอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรนั้นแล้วบริหารจัดการให้ทั้งหมด
``เราจะรู้ว่ากลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จหรือไม่จากการจับตาดูการเติบโตของยอดขายของซัน'' จอห์น ไรเมอร์ (John Rymer)นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำของโลก Forrester Research กล่าวว่า ``ซันกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะความสัมพันธ์กับลูกค้า จากการเป็นเพียงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ให้กลายเป็นผู้ให้บริการต่อเนื่องต่อไปเรื่อยๆ''
บิสสิเนสโมเดลใหม่นี้ ลูกค้าจะเลือกระดับบริการที่ต้องการนำไปใช้กับแอปพลิเคชันของตน ทันทีที่มีการแสดงความจำนงค์จะใช้โปรแกรมที่ว่านี้ ซันจะแสดงรายการค่าใช้บริการ ซึ่งจะรวมถึงซอฟต์แวร์และเครื่องมือทั้งหมดที่จำเป็นต่อการทำงานของบริการระดับนั้นๆ Affiliated Computer Services กลุ่มบริษัทในเมืองดาลลัส สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในหลายๆบริษัทที่ตกลงใจใช้บริการด้านเครือข่ายและเครื่องมือต่างๆของซันไปเรียบร้อยแล้ว
ส่วนการประกาศเรื่องอื่นๆในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนี้ เป็นเรื่องของการออกซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เวอร์ที่สองของซัน จาวาเดสก์ทอปซิสเต็มส์ (Java Desktop System) ที่จะมีฟีเจอร์พิเศษมากมายซึ่งจะเอื้อให้เกิดการรวมประสิทธิภาพของเดสก์ทอปที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกส์หลายๆเครื่องมาสู่ศูนย์กลางได้
ซันยังมองการณ์ไกลไปถึงการให้บริการหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยที่ซันอาจจะเก็บค่าบริการจาวาแอปพลิเคชันที่ใช้ในหน่วยงานตามจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ ซึ่งยังไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมตามการรายงานของเมอร์คิวรีนิวส์
Company Related Links :
Sun Microsystem
HP
IBM
โจนาธาน ชวาร์ซ (Jonathan Schwartz) ประธานฝ่ายปฏิบัติงานของซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystem) สาขาสำนักงานใหญ่ เมืองซานตา คลารา สหรัฐอเมริกา เตรียมประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับบริการด้านเครือข่ายของซัน ซึ่งเป็นเนื้อความส่วนหนึ่งในสุนทรพจน์ที่จะกล่าวต่อบริษัทคู่ค้าและลูกค้าของซัน ในงานประชุมที่จะจัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ ประเทศจีน แผนใหม่ของซันในครั้งนี้จะเปิดทางให้ลูกค้าของซัน เลือกเปลี่ยนวิธีการชำระค่าบริการได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการทั้งหลายของซัน
``การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นวิธีการดำเนินธุรกิจ หรือบิสสิเนสโมเดล (business model) แบบใหม่ ที่จะให้ยูสเซอร์สามารถชำระเงินต่อครั้งที่ใช้บริการได้ (pay per use)'' แลร์รี ซิงเกอร์ (Larry Singer) รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การตลาดของซันกล่าว ``ในขณะนี้ recurring revenue (เงินได้สม่ำเสมอ) ของซันอยู่ที่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของรายรับทั้งหมด เป้าหมายในอนาคตของซัน คือจะต้องปรับให้เพิ่มขึ้นเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ให้ได้''
หลายฝ่ายมองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของซัน เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะนำมารับมือในเกมวิ่งไล่จับกับบริการ “on demand” แนวคิดการให้บริการตามความต้องการของผู้บริโภคจากไอบีเอ็ม (IBM) หรือบริการ “adaptive enterprise” ไอเดียการประยุกต์เครื่องมือในองค์กรให้สามารถทำงานได้ตามสถานการณ์จากเอชพี (HP) แต่ซันนั้นกลับจะเน้นไปที่กลุ่มองค์กรที่เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์กับซัน เพื่อประมวลผลข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรนั้นๆ เมื่อดูจากภาพรวมแล้ว ซันไม่ได้มุ่งไปที่การเอาท์ซอร์ส (outsourcing) หรือการเข้าไปเทคโอเวอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรนั้นแล้วบริหารจัดการให้ทั้งหมด
``เราจะรู้ว่ากลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จหรือไม่จากการจับตาดูการเติบโตของยอดขายของซัน'' จอห์น ไรเมอร์ (John Rymer)นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำของโลก Forrester Research กล่าวว่า ``ซันกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะความสัมพันธ์กับลูกค้า จากการเป็นเพียงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ให้กลายเป็นผู้ให้บริการต่อเนื่องต่อไปเรื่อยๆ''
บิสสิเนสโมเดลใหม่นี้ ลูกค้าจะเลือกระดับบริการที่ต้องการนำไปใช้กับแอปพลิเคชันของตน ทันทีที่มีการแสดงความจำนงค์จะใช้โปรแกรมที่ว่านี้ ซันจะแสดงรายการค่าใช้บริการ ซึ่งจะรวมถึงซอฟต์แวร์และเครื่องมือทั้งหมดที่จำเป็นต่อการทำงานของบริการระดับนั้นๆ Affiliated Computer Services กลุ่มบริษัทในเมืองดาลลัส สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในหลายๆบริษัทที่ตกลงใจใช้บริการด้านเครือข่ายและเครื่องมือต่างๆของซันไปเรียบร้อยแล้ว
ส่วนการประกาศเรื่องอื่นๆในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนี้ เป็นเรื่องของการออกซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เวอร์ที่สองของซัน จาวาเดสก์ทอปซิสเต็มส์ (Java Desktop System) ที่จะมีฟีเจอร์พิเศษมากมายซึ่งจะเอื้อให้เกิดการรวมประสิทธิภาพของเดสก์ทอปที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกส์หลายๆเครื่องมาสู่ศูนย์กลางได้
ซันยังมองการณ์ไกลไปถึงการให้บริการหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยที่ซันอาจจะเก็บค่าบริการจาวาแอปพลิเคชันที่ใช้ในหน่วยงานตามจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ ซึ่งยังไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมตามการรายงานของเมอร์คิวรีนิวส์
Company Related Links :
Sun Microsystem
HP
IBM