เปิดเหตุผล ก.ต.มติเข้มไล่ออกผู้พิพากษา 1 ราย ให้ออกจากราชการอีก 2 ราย ปมเพิกถอนหมายจับสว.คนดัง-พิพากษาเกินเลย-ให้ประกันไม่ชอบ พบเงินเข้าบัญชีเเจงไม่ได้ ส่ง ป.ป.ช.ดำเนินคดี
กรณีเมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกาเป็นประธานประชุมคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต
) ครั้งที่13/2568 มีวาระที่น่าสนใจคือการพิจารณาผลการสอบสวนวินัยลงโทษผู้พิพากษาจำนวน 3 ราย
โดยรายเเรก ก.ต.ได้พิจารณารายงานผลการสอบสวนข้าราชการตุลาการ 1 ราย กรณีมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมไม่สุภาพ ไม่สำรวมกิริยามารยาท และเข้าไปก้าวก่ายแทรกแชงการพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่น อันเป็นการไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและประเพณีปฏิบัติของราชการ และจริยธธรรมของข้าราชการตลาการกรณีเป็นความผิดวินัยร้ายแรง เห็นควรให้ออกจากราชการ
รายที่สอง พิจารณารายงานผลการสอบสวนข้าราชการตุลาการ 1 ราย กรณีเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน
ทำคำพิพากษาโดยกล่าวถึงบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความและไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยว่ามิได้กระทำความผิดโดยไม่ปรึกษาและแจ้งให้องค์คณะและผู้บริหารทราบ เป็นเหตุให้มีการนำคำพิพากษาส่วนดังกล่าวไปไช้ประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นความผิดวินัยร้ายแรง เห็นควรให้ออกจากราชการ
รายที่สาม พิจารณารายงานผลการสอบสวนข้าราชการตุลาการ 1 ราย กรณีมีพฤติการณ์เป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ร่วมรู้เห็นเรื่องการขอแลกเปลี่ยนเวร และร่วมขบวนการเกี่ยวกับการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวขัดต่อกฎหมายอันเป็นดุลพินิจที่ไม่ชอบ และไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ และจริยธรรรมของข้าราชการตุลาการ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เห็นควรไล่ออกจากราชการ และมีมติเอกฉันท์ให้ส่งเรื่องแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับรายเเรกนั้น เป็นเหตุการณ์สมัยที่ผู้พิพากษาที่โดนลงโทษเป็นอดีตรองอธิบดีในศาลขนาดใหญ่ในกรุงเทพ ที่เคยถูกร้องให้สอบสวนทางวินัย กรณีเเทรกเเซงเพิกถอนหมายจับ สว.คนดัง
เดิมคดีนี้เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565 พ.ต.ท.มานะพงษ์ วงศ์พิวัฒน์ อดีตสารวัตรสืบสวน สน.พญาไท ได้เดินทางไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อขอออกหมายจับ อดีต สว.ในข้อหาสมคบคิดกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและฟอกเงิน โดยมีพยานหลักฐานจากสืบสวนเเละการสอบปากคำผู้ต้องหาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงว่ามีการทำธุรกรรมผ่านบริษัทที่ สว.เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดและฟอกเงินของนาย นักธุรกิจชาวเมียนมา
เเต่ในวันเดียวกันกับที่ศาลอนุมัติหมายจับ สารวัตรสืบสวนคนดังกล่าวได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ศาลให้นำหมายจับและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพบ รองอธิบดีผู้พิพากษาคนดังกล่าวซึ่งภายหลังมีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับโดยอ้างว่า สว.คนดัง เป็น “บุคคลสำคัญ” และไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
ต่อมาสารวัตรสืบสวนคนดังกล่าวจึงได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) รวมถึง ยังมีสส. ยังได้ยื่นหนังสือถึง ก.ต. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 เพื่อขอให้ตรวจสอบการเพิกถอนหมายจับดังกล่าว จน ก.ต.มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เสนอมายัง อนุกรรมการตุลาการ (อ.ก.ต.) กลั่นกรองทำความเห็นเสนอ ก.ต.
โดยเดิม อ.ก.ต.มีมติเห็นควรว่า ผิดวินัยไม่ร้ายเเรงเสนอไปยัง ก.ต.ให้พิจารณาลดขั้นเงินเดือน 2 ปี เเต่ก.ต.พิจารณาเเล้วเห็นว่าเป็นเรื่องการเเทรกเเซงเเละเป็นวินัยร้ายเเรง จนสุดท้ายมีมติตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายเเรง
เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567 ภายหลังก.ต. ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายเเรง ก็ได้ประชุมพิจารณาว่าจะสั่งพักราชการผู้พิพากษารายดังกล่าวหรือไม่ และก.ต.มีมติ 8 ต่อ 7 เสียง ไม่สั่งพักราชการรองอธิบดีผู้พิพากษา
ล่าสุด ก.ต.ได้มีมติให้ลงโทษผู้พิพากษาระดับรองอธิบดีศาล โดยให้ออกจากราชการเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการแทรกแซงการถอนหมายจับ สว.คนดังในคดีฟอกเงินและยาเสพติด
เเต่อย่างไรก็ตามในคดีอาญา เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 ศาลอาญาได้พิพากษายกฟ้อง นักธุรกิจชาวเมียนมา และพวก รวม 5 คน รวมถึงลูกเขยของ สว.ในคดีสมคบค้ายาเสพติดและฟอกเงิน โดยศาลชี้ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทุกข้อหา และพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยสามารถหักล้างได้ทั้งหมด แต่ในส่วนคดีของ สว.ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โดยอัยการได้ยื่นฟ้องใน 6 ข้อหา ได้แก่ฟอกเงินและสมคบค้ายาเสพติด ซึ่ง สว.คนดังให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
สำหรับรายที่สอง ผู้พิพากษาที่โดนลงโทษเป็นผู้พิพากษารุ่นเดียวกับคนเเรก ซึ่งเป็นคดีที่มีการทำคำพิพากษาเกี่ยวพันกับคดีค้ามนุษย์ฝนสถานอาบอบนวด วิคตอเรียซีเครท ย่านพระราม 9 เอื้อประโยชน์ให้เสี่ยกำพลเเละครอบครัวนำไปร้องขอความเป็นธรรมจนอัยการสั่งไม่ฟ้องลูกเมีย
ซึ่งในช่วงปี 2566 นายชูวิทย์ กมลวิษฎ์ อดีตส.ส.และเจ้าของ อาบอบนวดชื่อดัง เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนขอให้ตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้อง นายธนพลและนางนิภา วิระเทพสุภรณ์ ลูกและภรรยาของนายกำพล ทำให้ความปรากฎ เเละจนมีการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของ ก.ต.
เรื่องเดิมมีอยู่ว่า รองอัยการสูงสุดในสมัย นายเข็มชัย ชุติวงศ์ เป็นอัยการสูงสุด มีการสั่งตามร้องขอความเป็นธรรมของกลุ่มผู้ต้องหานายกำพลเเละลูกเมีย
ซึ่งรอง อสส.คนนั้นพิจารณาเเล้วเห็นด้วยกับคำร้องขอความเป็นธรรมว่า เดิมก่อนหน้านี้ทางพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง นายกำพลภรรยาลูก เเละลูกน้องของนายกำพล เเต่ในส่วนนายกำพล ภรรยาเเละลูกหลบหนีออกนอกประเทศ
ทางอัยการจึงได้ตัวฟ้องเเค่เฉพาะลูกน้อง ซึ่งในการทำคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ในคดีที่ลูกน้องนายกำพลถูกอัยการฟ้อง ผู้พิพากษาท่านนี้มีการทำคำพิพากษาไปในส่วนพฤติการณ์ของนายกำพลเเละนางนิภาภรรยาว่าไม่มีความผิดโดยระบุว่านางนิภา เป็นเเค่คนคุมบัญชีไม่ได้เป็นคนคัดเลือกเด็กเข้าไปในตู้จึงไม่ทราบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในส่วนนายกำพลเป็นเจ้าของไม่ได้เป็นคนคัดเด็กเอง นานๆจะเข้ามาสถานที่
ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาที่พาดพิงเลยไปถึงจำเลยที่อัยการสั่งฟ้องไว้เเล้วเเต่ยังไม่ได้เอาตัวมาฟ้อง
ด้านนายกำพลเเละภรรยาจึงใช้โอกาสนี้ร้องขอความเป็นธรรมว่ามีพยานเบิกความจนศาลพิพากษาเเล้วว่าไม่ได้กระทำผิดจนเป็นเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนเเปลงคำสั่งฟ้องโดย รอง อสส.คนดังกล่าว เป็นมีคำสั่งไม่ฟ้องนายธนพลและนางนิภา ซึ่งเป็นภรรยาเเละลูกของนายกำพล เเต่ในส่วนของนายกำพลยังยืนคำสั่งฟ้องเดิมของอัยการสูงสุด
จนต่อมานายชูวิทย์เอามาเปิดโปงร้องต่ออัยการสูงสุดจนความปรากฎต่อสาธารณชน เเละเมื่อ ก.ต.มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เเละตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายเเรงตามลำดับเสนอ อ.ก.ต.กลั่นกรองไปยัง ก.ต.พิจารณาเเล้วเห็นตรงกันว่าพฤติการณ์ผิดวินัยร้ายเเรง จึงลงโทษให้ออกจากราชการ
สำหรับรายที่สาม เป็นผู้พิพากษาระดับสูงในศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีคำสั่งประกันขัดต่อกฎหมายโดยใช้ดุลพินิจไม่ชอบใน 3 คดี โดยคดีเเรกเป็นเรื่องประกันตัวเกี่ยวกับคดีกลุ่มของ นายชัยณัฐร์ กรณ์ชายานันท์ หรือ “ตู้ห่าว”กับพวกที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด และฟอกเงิน ส่วนคดีที่ 2-3 เป็นเรื่องการให้ประกันตัวคดีเว็บพนันออนไลน์ โดยพฤติการณ์มีการนัดเเนะกับผู้จ่ายสำนวนเเละเเลกเปลี่ยนเวรเพื่อสั่งประกัน
จากการสอบสวนพบว่ามีเส้นทางการเงินเข้าบัญชี 5 บัญชีของผู้พิากษาศาลอุทธรณ์รายนี้ 4 ล้านกว่าบาท โดยเป็นการทยอยโอนเข้าบัญชีหลักเเสนบาทในช่วง 2 ปี ซึ่งเจ้าตัวชี้เเจงได้ไม่สมเหตุสมผล โดยคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายเเรง อ.ก.ต.เเละ ก.ต.พิจารณาเเล้วเห็นว่าผิดวินัยร้ายเเรง จึงลงโทษไล่ออกจากราชการ เเละส่ง ป.ป.ช.พิจารณาสอบสวนดำเนินคดีอาญา เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการประกันตัวเเละอาจจะมีเรื่องผลประโยชน์
ส่วนการตั้งข้อสังเกตุว่าวันเดียวกัน พิจารณาเกี่ยวกับการลงโทษวินัยผู้พิพากษาถึง 3 ราย นั้นก็เป็นเรื่องปกติ ในการบริหารงาน ก.ต.ที่มีปริมาณงานมาก เมื่อที่ประชุม ก.ต.มีการพิจารณาวาระอื่นเสร็จสิ้น ประธานก.ต.จึงได้บรรจุวาระทั้ง 3 เรื่อง พิจารณาต่อทันที