xs
xsm
sm
md
lg

โฆษกอัยการสูงสุด แถลงสั่งฟ้อง ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก 17 ราย แต่สั่งไม่ฟ้อง แซม ยุรนันท์ - มิน พีชญา ดาราสาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



โฆษกอัยการสูงสุด แถลงสั่งฟ้อง ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก 17 ราย แต่สั่งไม่ฟ้อง แซม ยุรนันท์ - มิน พีชญา ดาราสาว เหตุพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอ ส่งอธ.ดีเอสไอเห็นแย้งหรือไม่

วันนี้ (8 ม.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค ผู้ตรวจการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด , นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ อัยการอาวุโวสำนักงานคดีอาญา และที่ปรึกษาโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้แถลงข่าวว่า ตามที่สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 คดีระหว่าง นายณัฏฐ์ ธนาพิพัฒน์ดลภัค กับพวก ผู้กล่าวหาบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด โดยนายวรัตน์พล วรัทย์รกุล ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวกรวม 19 คน ข้อหา "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการใน ลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต" เหตุเกิดระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ใน ท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และหลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อเนื่องกัน คิดเป็นค่าเสียหายรวมประมาณ 649,912,290 บาท นั้น

เนื่องจากคดีนี้มีผู้เสียหายจำนวนมากและเป็นคดีที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจ ถือเป็นคดีสำคัญตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด จึงได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานร่วมกันพิจารณา บัดนี้สำนักงานคดีพิเศษได้พิจารณาสำนวนดังกล่าวแล้วมีความเห็นและคำสั่ง ดังนี้

1. สั่งฟ้อง บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด โดยนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล กรรมการผู้มีอำนาจ ผู้ต้องหาที่ 1,นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือบอสพอล ผู้ต้องหาที่ 2, นายจิระวัฒน์ แสงภักดี หรือบอสแล็ป ผู้ต้องหาที่ 3,นายกลด เศรษฐนันท์ หรือบอสปีเตอร์ ผู้ต้องหาที่ 4, น.ส.ปัญจรัศม์ กนกรักษ์ธนพร หรือบอสปัน ผู้ต้องหาที่ 5,นายฐานานนท์ หิรัญไชยวรรณ หรือบอสหมอเอก ผูตองหาที่ 6, น.สนัฐปสรณ์ ฉัตรธนสรณ์ หรือบอสสวย ผู้ต้องหาที่ 7,น.ส.ญาสิกัญจณ์ เอกชิสนุพงศ์ หรือบอสโซดา ผู้ตองหาที่ 8, นายนันทธรัฐ เชาวนปรีชา หรือบอสโอม ผู้ต้องหาที่ 9,นายธวิณทรภัส ภูพัฒนรินทร์ หรือบอสวิน ผูตองหาที่ 10, น.ส.กนกธร ปูรณะสุคนธ์ หรือบอสแม่หญิง ผู้ต้องหาที่ 11,น.ส.เสาวภา วงษ์สาขา หรือบอสอูมมี ผู้ต้องหาที่ 12, นายเชษฐ์ณภัฏ อภิพัฒนกานต์ หรือบอสทอมมี่ ผู้ต้องหาที่ 13,นายหัสยานนท์ เอกชิสนุพงศ์ หรือบอสป๊อบ ผู้ต้องหาที่ 14, นางวิไลลักษณ์ ยาวิชัย หรือบอสจอย ผู้ต้องหาที่ 15,นายธนะโรจน์ ธิติจริยาวัชร์ หรือบอสออฟ ผู้ต้องหาที่ 16 และนายกันต์ กันตถาวร หรือบอสกันต์ ผู้ต้องหาที่ 19ตามข้อกล่าวหา

ฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็ง โดยประการ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบ ธุรกิจโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต" ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 19, 20, 38, 46, 47, 54, พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 6, 18, 23 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 341, 343 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพามเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1, 12, 15 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2534 มาตรา 3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 4, 5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของ ผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 8 ตามความเห็นพนักงานสอบสวน

2. สั่งไม่ฟ้อง นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือบอสแชม ผู้ต้องหาที่ 17 และ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือบอสมีน ผู้ต้องหาที่ 18 ตามข้อกล่าวหา ฐาน "ร่วมกันน้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้า สู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรง ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นโดยผ่าฝืนต่อกฎหมาย, ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต" ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 19, 20, 38, 46, 47, 54,พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 6, 18, 23 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 341, 343 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2526 มาตรา 4พระราชบัญญัติแก่ไขเพามเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 พระราชกำหนดการกูยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3, 4, 5, 9, 11/1, 12, 15 พระราชบัญญัติแก่ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2534 มาตรา 3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการ กูยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 3, 4, 5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติวาด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 8 แย้งความเห็นพนักงานสอบสวนผู้ต้องหาที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ มีคำสั่งฟ้องตามความเห็นของพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้น พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ จะได้ดำเนินการยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 17 ต่อศาลอาญาใน วันนี้

ส่วนผู้ต้องหาที่ 17 และ 18 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักคดีพิเศษ มีคำสั่งไม่ฟ้องนั้น พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ จะได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาต่อศาลอาญาและจะดำเนินการส่งสำนวนพร้อมความเห็นและคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาว่าจะมีความเห็นแย้งในคำสั่งไม่ฟ้องหรือไม่ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ต่อไป


ผู้สื่อข่าวถามว่าสาเหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง นายยุรนันท์และน.ส.พีชญาให้เหตุผลอะไร 

นายศักดิ์เกษม โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดกล่าวว่า เหตุผลที่อัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสองนั้น ในขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะยังมีส่วนของผู้ต้องหาที่ถูกสั่งฟ้องและคำสั่งไม่ฟ้องยังไม่เด็ดขาด จะต้องเสนอต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือเห็นแย้ง จึงไม่สามารถกล่าวถึงรายละเอียดทั้งหมดได้ กล่าวได้เพียงว่าผู้ต้องหาทั้งสอง มีพยานหลักฐานไม่พอรับฟังได้ว่าทั้งคู่ร่วมกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกับผู้ต้องหาอื่น

เมื่อถามว่าช่วงเวลาที่พิจารณาคดีทั้งหมดสามารถพิจารณาสำนวนคดีที่ดีเอสไอส่งมาทั้งหมดได้หรือไม่ เนื่องจากจำนวนของสำนวนคดีค่อนข้างมาก

นายศักดิ์เกษม กล่าวว่า คณะทำงานทุกคนในช่วงปีใหม่ไม่มีใครได้หยุดเลย สำนวนคดีนี้มีเอกสารมากกว่า 3 แสนหน้า มีการสอบพยานหลักฐานหลายพันคน ทำให้คณะทำงานต้องทำงานอย่างละเอียด และยังมีผู้ร้องขอความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายที่คณะทำงานจะต้องพิจารณาในส่วนนี้อีก และผู้ต้องหาทุกคนจะครบฝากขังในวันนี้ทำให้คณะทำงานต้องเร่งทำให้เสร็จ ก่อนครบกำหนดฝากขัง

เมื่อถามว่าในทางปฏิบัติเมื่อมีคำสั่งไม่ฟ้องนายยุรนันท์และนางสาวพีชญา ในวันนี้จะต้องมีการปล่อยตัวหรือไม่ เพราะครบกำหนดฝากขังครั้งสุดท้ายในวันนี้

นายศักดิ์เกษม กล่าวอีกว่า ในทางปฏิบัติเมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยผู้ต้องหาที่สั่งไม่ฟ้อง หลังจากนั้นจะต้องมีการปล่อยตัวไม่ว่าจะครบกำหนดฝากขังหรือไม่ ส่วนประเด็นการสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดหรือไม่ต้องรอเสนออธิบดีดีเอสไออีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่ออัยการคดีพิเศษสั่งไม่ฟ้องจะต้องให้อธิบดีดีเอสไอทำความเห็นแย้งใช่หรือไม่

นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ อัยการอาวุโวสำนักงานคดีอาญา และที่ปรึกษาโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า คดีนี้อัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 2 ราย ซึ่งทันทีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง จะต้องส่งสำนวนคดีไปให้อธิบดีดีเอสไอพิจารณาว่ามีความเห็นแย้งคำสั่งของอัยการหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาไม่นาน ส่วนเหตุผลที่อัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 2 รายดังกล่าวนั้น เรายังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะยังอยู่ในอำนาจการพิจารณาของอธิบดีดีเอสไอ


นายชาญชัยกล่าวต่อว่า ถ้าหากอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นพ้องกับความเห็นของอัยการคดีพิเศษที่สั่งไม่ฟ้อง กระบวนการสั่งไม่ฟ้องก็จะสิ้นสุด อย่างไรก็ตามการสั่งไม่ฟ้องนั้น ความหมายก็คือ ในชั้นนี้ทั้งดีเอสไอและอัยการยังไม่มีพยานหลักฐานรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนั้น มีพยานหลักฐานที่จะสามารถพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาได้ แต่ถ้าในอนาคตมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็สามารถเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่จะนำมาพิจารณาต่อไปได้

"ในชั้นนี้ พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ต่อศาลว่า ผู้ต้องหาทั้ง 2 รายกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาเท่านั้น"


แต่ถ้าอธิบดีดีเอสไอโต้แย้งมาให้สั่งฟ้อง ก็เป็นดุลยพินิจของท่าน และขั้นตอนหลังจากนั้นก็จะต้องให้อัยการสูงสุดพิจารณาชี้ขาดความเห็น


ทั้งนี้ช่วงเวลาเดียวกัน ที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงข่าวสั่งฟ้อง พนักงานอัยการคดีพิเศษ ก็ได้เดินทางไปยื่นฟ้อง บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ปกับพวก 17 ราย ซึ่งศาลอาญาได้ประทับรับฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขดำ อทย 14/2568 และให้เบิกตัวจำเลย มาสอบคำให้การวันที่  9 ม.ค.นี้ เวลา 09.00 น.
กำลังโหลดความคิดเห็น