ศาลอาญาอนุญาตให้ฝากขังครั้งที่สี่ "บอสดิไอคอน" 18 คน โดนเเจ้งข้อหาใหม่ ขยายระยะเวลาฝากขังเป็น 84 วัน ระบุพฤติการณ์ความผิดข้อหาเเชร์ลูกโซ่ หลอกผู้เสียหายกว่า 9,000 คน
วันนี้ ( 22 พ.ย.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ยื่นคำร้องขอฝากขัง ครั้งที่ 4 นายวรัตน์พล หรือบอสพอล วรัทย์วรกุล อายุ 41 ปี กับพวกผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงประชาชนดิไอคอน รวม 18 คน โดยคำร้องฝากขังครั้งนี้ได้แนบคำร้องเเจ้งข้อกล่าวหาผู้ต้องหาเพิ่มเติมด้วย
โดยระบุพฤติการณ์ว่า 1. ตามคำร้องฝากขังครั้งที่3 ลงวันที่ 8 พ.ย.2567 ของพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งศาลอาญาได้อนุญาตให้ฝากขัง ผู้ต้องหานี้ไว้ในระหว่างการสอบสวนมีกำหนด 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.-22 พ.ย.2567
ข้อ 2. คดีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับหนังสือเรื่อง "ส่งสำนวนการสอบสวนกรณีมีการร้องทุกข์กล่าวโทษในการกระทำความผิดอาญาอันเป็นคดีพิเศษ" มาพร้อมสำนวนการสอบสวนคดีอาญาจำนวน 92,289 แผ่น กรณีดำเนินคดี กับบริษัท ดีไอคอน กรุ๊ป จำกัด กับพวก มาให้พิจารณาว่าเข้าเข้าเงื่อนไขการรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงได้เสนอเรื่องเข้าการประชุมคณะกรรมการกลั่นกลองการรับคดีพิเศษ มาตรา 21 วรรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษฯ และได้มีมติในที่ประชุม ลงวันที่ 29 ต.ค.2567 โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่ากรณีดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน เป็นการร่วมกันกระทำผิดที่มีลักษณะเป็นกลุ่มขบขบวนการมีการแบ่งหน้าที่กันทำอย่างเป็นระบบ คดีมีความยุ่งยากสลับซับช้อน ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างทั่วราชอาณาจักร โดยมีประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายทางเชิงเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างอันมีลักษณะเป็นความผิดตาม พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษฯ ประกอบกับความผิดดังกล่าวเป็นความผิดตามประกาศบัญชีท้ายประกาศ กคพ.(ฉบับที่ 8)เรื่อง กำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดที่เป็นคดีดิพิเศษมาตรา 21วรรคหนึ่ง (1) พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษฯข้อ 1,15 จึงเห็นควรเสนออธิบดีกรมสอบคดีพิเศษ มีคำสั่งให้กรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษและมอบกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
ต่อมาวันที่ 30 ต.ค.2567 อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้อนุมัติให้เป็นคดีพิเศษ จึงได้รับไว้เป็นคดีพิเศษที่ 119/2567 และได้มีคำสั่งแต่งตั้งตั้งคณะพนักงานสอบสวนที่ ลงวันที่ 30 ต.ค.2567 เพื่อดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้สอบสวนปากคำผู้กล่าวหา ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.ขายตรงและตลาดแบบตรงฯและพยานเจ้าหน้าที่ จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
(1) คำให้การของ นายณัชภัทร ขาวแก้ว ตำแหน่งนักสืบสวนสอบสวนชำนาญการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ในความผิดฐานร่วมกัมกันประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงโดยดำเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจขายตรงหรือในการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง โดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น ตามมาตรา 19รวมถึงความผิดฐานอื่นและบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ตามมาตรา 54แห่ง พรบ.ขายตรงฯ
ซึ่งกรณีดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เชิญผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำในเรื่องดังกล่าวจนทราบรายละเอียด รูปแบบ การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดย ตรวจสอบและพิจารณาแล้วพบว่า บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ได้มีการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กเพื่อชักชวนให้ประชาชน รวมทั้งผู้เสียหายเข้าร่วมธุรกิจกับบริษัทเพื่อสร้างรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์เมื่อผู้เสียหายสนใจและสมัครคอร์สออนไลน์ ในราคา 98บาท จะมีการชักชวนให้เป็นตัวแทนจำหน่ายซึ่งมีลักษณะเครือข่ายเป็นแม่ทีมลูกทีม โดยเมื่อสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายแล้วจะมีการชักจูงให้มีการเปิดบิดบิลในตำแหน่ง ตัวแทนรายย่อย distributor เป็นจำนวนเงิน 2,500บาท จะได้รับสินค้าและคะแนน จำนวน 10 tp หลังจากนั้น ผู้ลงทุนจะชักชวนให้เพิ่มการลงทุนเป็นตำแหน่ง Supervisor โดยการลงเงิน จำนวน 25,000 บาท และตำแหน่ง dealer โดยการลงเงิน จำนวน 250,000 บาท ซึ่งจะได้สินค้าจำนวนหนึ่งและได้คะแนนเพิ่มเป็น 1,050 tp(tp หมายถึง คะแนนของสินค้าแต่ละรายการที่บริษัทฯ เป็นผู้กำหนด โดยใน 1สินค้า อาจมีคะแนน tp ที่ต่างกัน) อีกทั้งสามารถสร้างเครือข่ายโดยชักชวนให้บุคคลอื่นมาสมัครสมาชิกและจะได้ผลตอบแทนตามจำนวนสมาชิกที่แนะนำมาสมัคร ในส่วนของสินค้านั้นบริษัทฯ แจ้งว่าจะมีการจัดส่งสินค้าให้สมาชิก แต่ส่วนใหญ่สมาชิกจะฝากสินค้าไว้ในคลังของทางบริษัทฯ โดยไม่ได้นำสินค้าไปใช้เองหรือนำไปขายต่อแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทฯอ้างว่ามีระบบในการรับฝากสินค้าในคลัง เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้ารายใหม่เมื่อมีคำสั่งซื้อ อีกทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าตัวแทนจำหน่ายที่รับสินค้าไป ไม่ได้นำสินค้าไปขายให้กับผู้บริโภคทั่วไปมีเพียงการขายกันระหว่างตัวแทนใต้สายงานของตนเอง ซึ่งตามข้อเท็จจริง ในการประกอบธุรกิจบริษัท ดีไอคอน กรุ๊ป จำกัด มีลักษณะเป็นการชักชวนและมุ่งเน้นให้หาสมาชิกรายใหม่สมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า โดยมีการกำหนดเป็นตำแหน่งต่างๆดังนี้
1.distributor คือ ผู้จัดจำหน่ายรายย่อย ต้องเปิดบิลกับบริษัทฯ จำนวน 2,500 บาท
2.supervisor คือ ผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ขึ้นกว่า Distributor ต้องเปิดบิลกับบริษัทฯจำนวน 25,000บาท
3.dealer คือ ผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ต้องเปิดบิลกับบริษัทฯ จำนวน 250,000บาท
4.ตำแหน่ง gold dealer เงื่อนไขการขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่ซ้ำสาย 2dealor
5.ตำแหน่ง grand dealer เงื่อนไขการขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่ซ้ำสาสาย3dealer
6.ตำแหน่ง platinum dealerเงื่อนไขการขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่น้ำสาย4 dealor
7.ตำแหน่ง presidential dealer เงื่อนไข การขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่ซ้ำสาย6 dealer
8.ตำแหน่ง wisdom dealer เงื่อนไขการขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่ซ้ำสาย8 dealer
9.ตำแหน่ง crown dealer เงื่อนไขการขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่ซ้ำสาย9dealer
10.ตำแหน่ง royal crown dealer เงื่อนไขการขึ้นตำแหน่ง สะสมไม่ซ้ำสาย 20 dealer
ซึ่งหากมีการแนะนำตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ให้ลงทุนในตำแหน่ง dealer จะได้รับผลตอบแทนประมาณ10,000-15,000 ต่อ1 dealer อีกทั้งหากภายใน 1เดือน สามารถแนะนำได้5 dealer ผู้แนะนำจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มจากอัตราส่วนต่างของสินค้าอีก ประมาณ 50,000บาท และยังได้ขึ้นเป็นตำแหน่ง gold dealer และจากการตรวจสอบพบว่า "แม่ทีม" หรือ "บอส" มีพฤติการณ์ชักชวนให้ผู้เสียหายมาลงทุนเปิดบิล ในราคา 250,000บาท ซึ่งเห็นได้ว่าวิธีการในการดำเนินธุรกิจ นั้น เป็นลักษณะที่ไม่ได้มุ่งเน้นขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยทั่วไปแต่กลับเน้นให้สมาชิกเก่าหาสมาชิกรายใหม่ เพื่อเปิดบิลโดยนำผลตอบแทนจากสมัครมาโน้มน้าว จูงใจ รวมทั้งหากชักชวนบุคคอื่นมาสมัครสมาชิกในจำนวนที่มากขึ้นก็จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้นด้วย จึงเห็นได้ว่ารายได้ของบริษัทฯ จึงเกิดจากการที่มีผู้มาสมัครสมาชิกโดยเฉพาะสมาชิก dealer ต่อๆ กันไป โดยรายได้ของบริษัทฯ มิได้เกิดจากการขายสินค้าที่แท้จริง ตัวแทนส่วนใหญ่ไม่เคยนำสินค้าไปขายต่อให้กับผู้บริโภคโดยตรง อีกทั้งผู้บริโภคก็ไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ของดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ได้ โดยทุกคนจะต้องสมัครเป็นตัวแทนถึงจะสามารถซื้อสินค้าได้ จะเห็นได้ว่าการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามที่นายทะเบียนได้อนุญาตให้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงแต่อย่างใด
จากข้อเท็จจริง พฤติการณ์และการกระทำของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งได้รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง แต่ประกอบธุรกิจมีลักษณะเป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็น เครือข่ายในการประกอบธุรกิจโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น และมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจในลักษณะมีตัวแทนหลายชั้นผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระ เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 19,20 ต้องระวางโทษตามมาตรา 46,48 แห่ง พรบ.ขายตรงฯ
(2) คำให้การของ นายทิวนาถ ดำรงยุทธ นิติกรประจำส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบบกองนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการดำเนินกิจของ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด อธิบายลักษณะที่เป็นการ "กู้ยืมเงิน" ตามมาตรา 3แห่ง พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯเนื่องจากเป็นการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจำหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทน หรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงิน หรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สินผลประโยชน์อื่นใด หรือผลตอบแทนนั้น จะกระทำด้วยวิธีใด และข้อเท็จจริงที่ได้รับจากพนักงานสอบสวนเห็นว่าแผนธุรกิจ โดยเฉพาะในระดับผู้ร่วมธุรกิจ dealer ที่มีการลงทุนซื้อสินค้า ราคา 250,000 บาท หากบุคคลดังกล่าวมีการชักชวนบุคคลอื่นมาเป็น dealer ในเครือข่ายของตนตามแผนธุรกิจ(dealer pet dealer) ตั้งแต่ 2-5 คน จะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สามารถคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยได้ ร้อยละ 48-480 ต่อปี
ซึ่งจากหลักฐานพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2561- 10 ต.ค.2567 อันเป็นช่วงเวลาเกิดเหตุในคดีนี้ ได้มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มีเพียงร้อยละ 4ต่อปี จึงเป็นการให้ผลตอบแทนที่สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ซึ่งถ้าผลตอบแทนนั้นเกิดจากการประกอบกิจการที่มิชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอนแทนเพียงพอที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ หรือรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าเป็นการนำเงินของผู้ให้กู้ยืมรายนั้นหรือรายอื่น มาหมุนเวียนจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืม ทั้งนี้ หากมีการชักชวนร่วมธุรกิจและมีการโฆษณา ฯ ย่อมเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตราเดียวกัน คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีการประชุม 4 พ.ย.2567 โดยนำข้อเท็จจจริงที่พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ทำการสอบสวนและ
แจ้งข้อกล่าวหาแล้ว มาพิจารณาประกอบกับคำให้การของนายณัชภัทร ขาวแก้ว ผู้กล่าวหา และพยานเจ้าหน้าที่ เห็นว่าบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด เป็นบริษัท ที่จดทะเบียนตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์หลักคือ การหากำไรจากการประกอบธุรกิจ "ตลาดแบบตรง" ที่ต้องจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ๆ จำนวน 15 รายการ จากบริษัทฯ ตรงไปยังผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการสืบสวนสอบสวน ในชั้นนี้รับฟังได้ความว่า บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด กับพวก ใช้มีการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏกับบุคคลตั้งแต่ 10คน ขึ้นไป ด้วยการโฆษณาบน facebookของบริษัทหรือของสมาชิก เพื่อชักชวนประชาชนทั่วไปเข้าเรียนหลักสูตรอบรมออนไลน์ที่บริษัทจัดขึ้น รวมถึงการสัมมนา หรือการบอกกล่าวปากต่อปากนำไปสู่การเชิญชวนบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมธุรกิจเป็นตัวแทนขายสินค้าให้กับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ด้วยการเปิดรับเข้าเป็นสมาชิกเพื่อซื้อสินค้าของบริษัทไปจำหน่ายต่อ โดยมีการให้สัญญาว่าจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลตอบแทนตามแผนธุรกิจที่กำหนดจึงเป็นการ "กู้ยืมเงิน" โดยมี บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด เป็น "ผู้กู้ยืมเงิน" และมีผู้สมัครเป็นสมาชิกในการร่วมธุรกิจเป็นตัวแทนขายสินค้า เป็น "ผู้ให้กู้ยืมเงิน" ตามนิยามในมาตรา 3 ของ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ และในการดำเนินธุรกิจเน้นการระดมสมาชิกเข้ามาเป็นเครือข่ายในระดับต่างๆ โดยเฉพาะระดับ dealer โดยจูงใจด้วยผลตอบแทนที่สูงประกอบกับผลตอบแทนในการประกอบธุรกิจในระดับ dealer get dealer ขั้นต่าง ๆ มีผลตอบแทนคำนวณเมื่อคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยแล้วพบว่ามีอัตราสูงมาก ตั้งแต่ร้อยละ 48-480 ต่อปี
ทั้งที่ช่วงเกิดเหตุในคดีนี้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินสูงเพียงร้อยละ 4 ต่อปี จึงเป็นผลตอบแทนที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงว่าที่ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้
นอกจากนั้น ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ต้องมีรายได้จากการขายสินค้าสู่ผู้บริโภคโดยตรงตามรูปแบบธุรกิจที่จดทะเบียนไว้ แต่ในข้อเท็จจริงการดำเนินธุรกิจกลับไม่เน้นให้สมาชิกจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค โดยในการชักชวนสัมมนา จะเน้นให้สมาชิกหาเครือข่ายสมาชิกของตน(Downline) เพื่อขายสินค้าจากตนลงไปภายในเครือข่ายจนถึงระดับล่างสุดเป็นหลัก ที่อาจมีบางรายที่นำสินค้าไปขายจริงบางส่วนเท่านั้น โดยรายได้ของบริษัทที่นำไปจ่ายเป็นค่าตอบแทนสมาชิกในระดับต่างๆโดยเฉพาะ dealer ค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นมาจากเงินส่วนแบ่งที่ได้จากสมาชิกระดับล่างในสายงานของตนลงไปทั้งในรูปแบบค่าชักชวน และหรือค่า tp เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นระบบของบริษัทก็ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อสินค้าจากบริษัทไปบริโภคได้โดยตรง โดยต้องดำเนินการผ่านเครือข่ายสมาชิก และยังได้ปรากฎข้อเท็จจริงอีกว่าเป็นการดำเนินธุรกิจที่ฝ่าฝืนกฎหมายขายตรงและตลาดแบบตรง ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ไม่ได้มี รายได้หลักจากการประกอบธุรกิจด้วยการขายสินค้าสู่ผู้บริโภคทีเพียงพอและเป็นธุรกิจที่มิชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นกรณีที่บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ในฐานะผู้กู้ยืมเงิน รู้หรือควรรู้ว่าในการประกอบธุรกิจ ตนจะนำเงิน จากผู้ลงทุนรายหนึ่งมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ลงทุนอีกรายหนึ่ง และรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนเพียงพอที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ ประกอบกับตามข้อเท็จจริงที่พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง แจ้งข้อหามาแล้วนั้นแม้ผู้ต้องหาทั้งหมดจะไม่ได้ทำความผิดครบตามองค์ประกอบทุกคน แต่มีข้อเท็จจริงสนับสนุนว่ามีการร่วมกันกระทำการในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ
เหตุเกิดที่ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันหลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
จึงมีมติเอกฉันให้แจ้งข้อกล่าวหาเเก่ผู้ต้องหานี้ ในความผิดฐานดังกล่าว และเปลี่ยนลำดับผู้ต้องหาตามลำดับความสำคัญของพฤติการณ์ในคดี ดังนี้
1.บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด โดยนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคล (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 18) เป็นผู้ต้องหาที่ 1
2.นายวรัตน์พล หรือบอสพอล วรัทย์วรกุล (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 19) เปลี่ยนเป็น ผู้ต้องหาที่ 2
3.นายจิระวัฒน์ หรือบอสแล็ป แสงภักดี (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 1) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 3
4.นายกลด หรือบอสปีเตอร์ เศรษฐนันท์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 2) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 4
5.น.ส.ปัญจรัศม์ หรือบอสปัน กนกรักษ์ธนพร (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 3) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 5
6.นายฐานานนท์ หรือบอสหมอเอก หิรัญไชยวรรณ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 4) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 6
7.น.ส.นัฐปสรณ์ หรือบอสสวย ฉัตรธนสรณ์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 5) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 7
8.น.ส.ญาสิกัญจณ์ หรือบอสโซดา เอกชิสนุพงศ์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 6) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 8
9.นายนันท์ธรัฐ หรือบอสโอม เชาวนปรีชา (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 7) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 9
10.นายธวิณทร์ภัส หรือบอสวิน ภูพัฒนรินทร์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 8) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 10
11.น.ส.กนกธร หรือบอสแม่หญิง ปูรณะสุคนธ์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 9) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 11
12.น.ส.เสาวภา หรือบอสมี่ วงษ์สาชา (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 10) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 12
13.นายเชษฐ์ณภัฏ หรือบอสทอมมี่ อภิพัฒนกานต์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 11) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 13
14.นายหัสยานนท์ หรือบอสป๊อป เอกชิสนุพงศ์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 12) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 14
15.น.ส.วิไลลักษณ์ หรือบอสจอย ยาวิชัย หรือเจ็งสุวรรณ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 13) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 15
16.นายธนะโรจน์ หรือบอสอ็อฟ ธิติจริยาวัชร์ (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 14) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 16
17.นายยุรนันท์ หรือบอสแซม ภมรมนตรี (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 15) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 17
18.ส.พีชญา หรือบอสมีน วัฒนามนตรี (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 16) เปลี่ยนเป็นผู้ต้องหาที่ 18
19.นายกันต์ หรือบอสกันต์ กันตถาวร (เดิมคือผู้ต้องหาที่ 17) เปลี่ยนเป็น ผู้ต้องหาที่ 19
เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาและฐานความผิดเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาทุกรายให้ทราบว่า "ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน,ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงในลักษณะที่เป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการประกอบธุรกิจโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น,ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต" ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
โดยผู้ต้องหาที่ 2 ขอให้การเป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบข้อกล่าวหาการกระทำของผู้ต้องหา เป็นความผิดตามความผิดตาม พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯซึ่งมีอัตราโทษ ตามมาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 5-10 ปีและปรับตั้งแต่ 5 เเสน-1 ล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ , พ.ร.บ.ขายตรงฯและที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 19,20 ซึ่งมีโทษอัตราโทษตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน5ปีและปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และมาตรา 47 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1ปีหรือ ปรับไม่เกิน1แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ประกอบประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 83,91
ซึ่งจะครบกำหนดเวลาฝากขังครั้งที่ 3ในวันที่ 22 พ.ย.2567 สำหรับผู้ต้องหาที่ 19(เดิม) ซึ่งเรียงลำดับใหม่เป็นผู้ต้องหาที่ 2 หากแต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น จะต้องทำการสอบปากคำพยาน จำนวน 4,500 ปาก, พยานฝ่ายผู้ต้องหา จำนวน 400 ปาก ต้องรอผลการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารต่าง ๆ , รอผลการตรวจสอบจากศูนย์ชื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและการวิเคราะห์ , รอการตรวจสอบเอกสารที่ได้ทำการยึดไว้,ตรวจสอบเอกสารและวัตถุของกลางของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการสอบสวนกลาง และรอผลการตรวจวัตถุพยานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกลาง ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวจึงขออนุญาตศาลให้ฝากขังผู้ต้องหานี้ไว้ระหว่างการสอบสวนต่ออีก 12 วัน
ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ย.-4 ธ.ค.2567
ท้ายคำร้องระบุว่าหากผู้ต้องหาขอปล่อยตัวชั่วคราว พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง ประกอบกับมีผู้เสียหายจำนวนเบื้องต้นประมาณ 9,000 ราย มีมูลค่าความเสียหายถึงจำนวน 2,956,274,931 บาาท ซึ่งผู้ต้องหาอาจหลบหนีได้หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
ศาลอาญาพิจารณาเเล้วอนุญาตฝากขัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีที่พนักงานสอบสวนเเจ้งข้อหาเพิ่มเติมซึ่งเป็นข้อหาที่มีอัตราโทษถึง 10 ปีเเละศาลอนุญาตฝากขังในข้อหาดังกล่าวเเล้วจะทำให้ สามารถยื่นฝากขังผู้ต้องหาได้ 7 ครั้ง 84 วัน จากเดิมที่สามารถยื่นฝากขังได้ 4 ครั้ง 48 วัน